เรื่องเด่น ม้างกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 12 กันยายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    อานุภาพวิชาม้างกาย


    หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นพระนักปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านชำนาญมากในการรู้วารจิตคนอื่น เคยแอบดูวารจิตหลวงปู่มั่นจนถูกท่านดุ ก่อนที่หลวงปู่หลุยจะได้รู้ว่าวารจิตคนอื่น ท่านฝึกสมาธิตามคำแนะนำของชีผู้ทรงอภิญญา

    ท่านเล่าว่า ตอนที่เป็นพระหนุ่ม ไปปฏิบัติสมาธิกับครูบาอาจารย์ ได้ทราบข่าวว่ามีแม่ชีได้อภิญญาสูง หูทิพย์ ตาทิพย์ รู้วารจิตของคนอื่น แม่ชีท่านหนึ่งชื่อ “ชีจันทร์” ส่วนอีกท่านหนึ่งชื่อ “ชียอ” ล้วนได้อภิญญาทั้งคู่ โดยเฉพาะชียอตาบอดมองไม่เห็น แต่สมาธิสูงมาก รู้ไปหมดว่าพระองค์ไหนสำเร็จชั้นไหนและติดขัดอยู่ในธรรมขั้นใด





    หลวงปู่หลุย จันทสาโรองค์ท่านเล่าว่า วันหนึ่งท่านไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้ยินข่าวว่า มีแม่ชีอภิญญาณสูงอยู่ที่วัดป่าบ้านสองคร ภาวนาเก่งมาก รู้วาระจิตคนอื่น มีหูทิพย์ ตาทิพย์

    อย่างเช่นไปฟังพระเทศน์...องค์ไหนไปติดที่ธรรมขั้นไหน ๆ แม่ชีจะรู้หมด บอกได้ถูกหมด ได้ยินว่าชื่อ แม่ชีจันทร์ และ แม่ชียอ เฉพาะ แม่ชียอ นั้นตาบอด แต่ทางธรรมะนั้นเลิศมาก และไม่ต้องอาศัยสายตาก็รู้เห็นทุกอย่างหมด ตาเนื้อ เสีย ก็ไม่ต้องใช้ ---ใช้แต่ ตาใน

    แม่ชีทั้งสองเป็นคนบ้านโพนสวาง ใกล้บ้านหนองบัว ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน หลวงปู่ได้ยินเรื่องราวแม่ชีทั้งสองก็สนใจ

    พอดีออกพรรษา มีงานฉลองศพที่วัดนั้น หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปด้วย งานนั้น หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ก็ไปด้วย เมื่อทั้งสององค์ผลัดกันขึ้นเทศน์ แม่ชีไปฟังด้วย หลวงปู่จึงไปลองซักถามดู ถามว่า ท่านที่ขึ้นเทศน์นี้เป็นอย่างไร

    แม่ชีก็บอกให้ฟัง

    ท่านแปลกใจว่า แม่ชีทำอย่างไร รู้ได้อย่างไร

    แม่ชีก็กราบเรียนวิธีการภาวนาของตนให้ท่านทราบโดยละเอียด ทำให้หลวงปู่ได้อุบายวิธีในทางปฏิบัติจากแม่ชีทั้งสองเป็นหนทางดำเนินในการปฏิบัติธรรมของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบที่หลวงปู่เทศนาสอนในภายหลัง เรียกวิธีการ “ม้างกาย” นี่เอง

    “ม้าง” เป็นภาษาอีสาน แปลว่า แยกออกเป็นส่วน ๆ หรือรื้อออก-----แยกออก เช่น ม้างบ้าน ก็คือ รื้อบ้าน แยกบ้าน ม้างกาย ก็คือ รื้อกาย แยกกายออกเป็นส่วน ทำให้มาก...ทำให้ยิ่ง...จนเป็นอุคคหนิมิต เป็นปฏิภาคนิมิต แล้วดำเนินวิปัสสนา ใช้ปัญญาพิจารณากายต่อไป ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา

    หลวงปู่เล่าว่า พอท่านได้ฟังอุบายวิธี ท่านก็แบกกลดกลับขึ้นเขาไปทันที ไม่ได้รอแม้แต่จะอยู่ต่อไปจนกระทั่งให้งานที่เขานิมนต์มานั้นเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน

    ท่านบันทึกเล่าไว้ ขณะเมื่ออยู่จำพรรษาที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า ในปี ๒๕๒๕ เป็นเวลาเกือบ ๕๐ ปีต่อมาในภายหลังเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า

    “เอาเข้าป่า หัดม้างกายอย่างเต็มที่ จนร่างกายเกิดวิบัติ จนกระดูกคล้าย ๆ ออกจากกัน แม้เราเดินเสียงกรอบแกรบ แต่นานไปหาย มีกำลังทางจิต”

    ท่านเล่าว่า การทำความเพียรช่วงนั้น ท่านปฏิบัติไปอย่าง ลืมมืดลืมแจ้ง ลืมวันลืมคืน เลยทีเดียว คิดว่า ผู้หญิงเขาทำได้ ทำไมเราจึงจะทำไม่ได้ จะแพ้ผู้หญิงเขาหรือไร ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิดมุมานะ เจริญอิทธิบาท ๔ หัดม้างกายอย่างเต็มสติปัญญาความสามารถ

    คล้ายกับกระดูกจะแยกออกจากกัน จะหลุดออกจากกันจริง ๆ เวลาเดินได้ยินเสียงกระดูกภายในกายลั่นดังกรอบแกรบตลอดเวลา บางโอกาสก็นึกสนุก ม้างต้นไม้...แยกออกเป็นส่วน ๆ จนต้นไม้แตก ลั่นดังเปรี๊ยะ...เปรี๊ยะทีเดียว ม้างก้อนหิน ภูเขา.....

    ดูจะสนุกที่สุด “ม้าง” สิ่งใด สิ่งนั้นก็แทบจะแตกแยกละเอียดลงเป็นภัสม์ธุลี กำหนดใหม่ ให้กายนั้น สิ่งนั้น กลับรวมรูปขึ้นมาใหม่...กำหนดให้ ทำลายลงเป็นผุยผง รวมพึ่บลง ขยายให้ใหญ่ปานภูเขา ย่อให้เล็กลงเหลือแทบเท่าหัวไม้ขีด

    สิ่งของ..! บุคคล...! ทำได้คล่องแคล่ว ว่องไว

    มันช่างน่าสนุกจริง ๆ ท่านเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดผู้มาฝึกเรียน “ม้างกาย” ว่า เมื่อ “ม้างกาย” ได้ใหม่ ๆ ก็เกิดอาการ “ร้อนวิชา” ลองม้างกายคนที่พบเห็นพบใครก็ลอง “ม้างกาย” ดู...

    ผลพลอยได้ที่ทราบในภายหลังและท่านบันทึกไว้ คือหลังจากม้างกายบุคคลใดแล้ว ท่านจะรู้วาระจิตบุคคลนั้นด้วย....! คิดในใจอย่างไร เคยทำอะไรมา และจะทำอะไรต่อไป.....

    จะมีของแถมเป็น ปรจิตวิชชา...อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ...เหล่านี้ตามมา ด้วย

    หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย

    g34VshOWfv-4_4e9sncK_emS6oWegXf6Pv4oFZjRqtnE&_nc_ohc=bEPsOmpmmLUAX9a0Amg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    Jw4qCfiJYgLOEHjBPB_ZoLPL9Jpkt8YjSVj-sEsF2cjj&_nc_ohc=11gRBdmWrJ4AX9-lW1O&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ศิษย์หลวงพ่อสุจินต์ สุจิณฺโณ

    "วิธีม้างกาย" "ของหลวงปู่หลุย จันทสาโร”
    “นึกเอา เดาเอา คาดคะเนเอา รู้สำคัญกว่าเห็น รู้อยู่ จิตไม่ส่งออกนอก แต่กายและอสุภะนี้เห็นได้ทั้งในทั้งนอก ถ้าทำมากๆ บางครั้งอาจเห็นไปข้างนอก แต่หลวงปู่ไม่ให้ดูข้างนอก ไปเห็นข้างนอกน้อมกลับมาดูตนเอง ไม่ส่งจิตออกนอก หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่หลุย สอนไม่ให้ส่งจิตออกนอก นึกเอา เดาเอา คาดคะเนเอา นึกมือฉีก เท้าถีบ เนื้อหนังออก ควักฉีก ดึงเอาอวัยวะภายในออกมากองรวมกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอสุภะ ของไม่สวยไม่งาม ซากศพ ซากผี เป็นปฏิกูล ของโสโครก เน่าเหม็น เผาสลายไปในที่สุด เหลือแต่โครงร่าง โครงกระดูก ดูโครงกระดูก ตั้งแต่ศีรษะ กระดูกคอ กระดูกแขน กระดูกอก เรื่องไปจนถึงปลายเท้า จากปลายเท้าดูขึ้นไปจนถึงกระโหลกศีรษะ ดูขึ้นดูลงเป็นการทำสติอยู่กับกาย ทำสติอยู่กับโครงกระดูก”
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ธรรมะวาทะ

    จาก : หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    เกี่ยวกับเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา และปัญญา (หรือปฏิบัติบูชา)

    line1.jpg


    หมายเหตุ ภาวนา หมายถึง สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งทำให้เกิดปัญญา และในการปฏิบัติจะต้องปฏิบัติไปด้วยกัน เพราะเป็นธรรมที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน คือ พัก (สมถะ) กับ เพียร (พิจารณาหรือวิปัสสนา)

    ๑. ศีลเป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งปวง ธรรมใดตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่เสื่อม (ศีล คือแม่ของพระธรรม เท่ากับศีลเป็นมารดาของพระพุทธศาสนา)

    ๒. ศีล ระงับความคะนองทาง กาย วาจา สมาธิ ระงับความคะนองทางใจ ปัญญา ทำอาสวะให้สิ้นได้

    ๓. ศีลมีอยู่แล้วในตน ไม่ต้องไปขอ คน ที่ไปขอศีล คือ คนจนเพราะศีลอยู่ที่เจตนางดเว้นจากการทำชั่ว มีศีลตัวเดียว จิตยกเว้นทั้ง ๕-๘-๑๐-๒๒๗

    ๔. อาทิตตปริยายสูตร พระองค์ตรัสไว้ความว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นของร้อน ร้อนเพราะความกำหนัด ความโกรธ ความหลง ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบ ความโศกรำพัน เสียใจ คับแค้นใจ คิดไม่สมหวัง ขอสรุปว่า ร้อนที่ใจคิด (ชั่ว) ร้อนเพราะไฟภายใน ๓ กอง (ราคะ โทสะ โมหะ) หากใช้ธรรมซึ่งเป็นของเย็น ดับไฟภายใน ๓ กองได้ ใจก็พ้นทุกข์

    ๕. อย่าจับปลานอกสุ่ม ข้าพเจ้าให้ข้อคิดว่าหมายถึง

    ก) อย่าหาบุญนอกพุทธศาสนา (ไม่ยึดสิ่งอื่นนอกจากพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง)

    ข) อย่าทำตนเป็นคนที่ถือมงคลตื่นข่าว ใครว่าที่ไหนดีก็เฮไปที่นั่น โดยขาดปัญญา

    ค) อย่าส่งจิตออกนอกกายกับใจตน เพราะพระองค์สอน ๘๔,๐๐๐ อุบาย ก็ใช้แค่กายกับจิต ไม่พ้นไปจากนี้ ทุกคนต่างก็มีกายและจิต จึงมีพระธรรมหรือตู้พระไตรปิฎกอยู่แล้วไม่ต้องไปหาที่ไหนมาเพิ่มอีกอย่าไปยุ่งกับตู้พระธรรมของคนอื่น (อย่ายุ่งเรื่องของชาวบ้านหรือผู้อื่น) ทั้ง ๓ พวกนี้ ต้นเหตุเพราะจิตเป็นมิจฉาทิฎฐิ จึงเหมือนคนที่ไล่ตะครุบเงาตัวเอง

    ๖. การทำสมาธิ คือ การหยุดใจ หรือระงับใจจาก รัก โกรธ หลง เหมือนคนที่กำลังวิ่ง ย่อมเห็นอะไรไม่ถนัด ต้องหยุดวิ่ง และเพ่งสิ่งที่ต้องการจะเห็น จึงจะเห็นถนัดชัดเจน

    ๗. สมถะ รักษาอารมณ์ใจให้หยุดวิ่งและรวมเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นใจอันเดียวแล้ว ใจจะมีกำลังสูงมาก ทำสิ่งใดก็จะสำเร็จ วิปัสสนา คือ ตัวปัญญา ถอนกิเลส ค้นหากิเลสได้ แล้วทำลายด้วยไตรลักษณ์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดถือ

    ๘. ไตรลักษณ์ เป็นตัวกรรมฐานใหญ่ แก้กิเลสได้ทั้งปวง ชนะกิเลสทุกชนิดในสงครามภายในใจ สามารถฟอกจิตใจ, บำรุงสติให้แก่กล้า พระโยคาวจรต้องไม่ทิ้งไตรลักษณ์

    ๙. จิตดื้อ ให้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอเริ่มปฏิบัติก็ให้พิจารณาเลย พวกจิตสะดวก ใช้สมาธิ อบรมปัญญา (จิตดื้อเพราะฟุ้งซ่าน)

    ๑๐. คนที่เป็นบ้านั้น เพราะถือนิมิตเป็นของจริงจัง ไม่เห็นว่านิมิตนั้นเป็นไตรลักษณ์ สมาธิใดที่ไม่มีปัญญากำกับ ทำให้เป็นบ้า และติดสุขในฌาน

    ๑๑. นิรามิสสุข เป็นสุขที่ละเอียดอ่อน เกิดจากความสงัดกาย วาจา และ ใจ โดยปราศจากเครื่องล่อเพื่อให้หลง จึงเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ปุถุชนพบแต่อามิสสุข ซึ่งเป็นสุขในโลก ไม่เที่ยงต้องใช้เครื่องล่อเช่นโลกธรรม ๘, กามสุข (กามฉันทะ) และมีผลเป็นทุกข์ในที่สุด คนธรรมดาไม่มี บางคนอาจพบนิรามิสสุขก็รู้แต่เหตุและผลนั้น คือ รู้แค่สัญญา

    ๑๒. ยังติดนิมิตดี - ชั่วอยู่ เพราะเดินมรรคยังไม่พอ, วิปัสสนาอ่อนกิเลสจึงไม่หมด

    ๑๓. ถ้ายังยินดี ยินร้ายในร่างกายอยู่ เห็นกายยังเป็นกายอยู่ แสดงว่าเดินมรรคผิดทาง ทางที่ถูกต้องเห็นร่างกายเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นสันตติ เป็นไตรลักษณ์ เข้าหาอริยสัจ อันเป็นของจริง (คือ เห็นกายเป็นกองทุกข์)

    ๑๔. ให้พิจารณาในปัจจุบัน ทบต้น ทบปลาย ละอดีต ละอนาคต พิจารณาปัจจุบันธรรมจึงจะแจ่มแจ้ง

    ๑๕. ให้พิจารณากาย อย่าติดหนัง ให้ลงถึงฐาน จึงจะถอนมิจฉาทิฎฐิของจิตได้ ถ้าจิตยังยินดีในรูป หนัง สัณฐานแล้ว ผิดอริยสัจ ๔ ผิดมรรค

    ๑๖. อย่าติดรสอาหาร ให้มักน้อยจริง ๆ ในอาหาร จิตจึงจะเป็นไปได้ดี ถ้ายังยินดีในโลกธรรม ในวาระจิตใด วาระจิตนั้นต้องเสียเพราะติดอามิส

    ๑๗. จิตต้องให้พักในสมาธิ พอออกจากสมาธิ ต้องให้คิดพิจารณาจึงจะรู้ คือ เกิดปัญญา โดยเพ่งอยู่แค่กายกับจิตของตน อย่าส่งออก

    ๑๘.พระอนาคามีถึงพระอรหันต์ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ แต่อนาคามียังมีปัญญาน้อย จึงตัดสังโยชน์เบื้องบนไม่ขาด ต้องไปบำเพ็ญต่อข้างบนชั้นสุทธาวาส

    ๑๙.สัทธรรม ๕ มีมรรคอยู่ในตนแล้วทุกคน เมื่อเรารู้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีอยู่ในตัวของเขาแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมรรค หากเราเดินมรรคจนเกิดผล ก็เป็นนิโรธ เมื่อตัณหาดับจึงเกิดความรู้จริง เป็นปัญญาเรียกไตรลักษณ์ สิ่งนี้ข้อนี้เป็นของลึกลับในคัมภีร์ ต้องพิจารณาให้บ่อย ๆ จะมีผลดี ให้ดูตั้งแต่ในครรภ์จนกระทั่งถึงตาย

    ๒๐.ไตรลักษณ์ห้ามสังขารได้ ทำให้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวงทำให้สิ้นกิเลสได้ จึงต้องภาวนาไตรลักษณ์ให้มาก แก้ได้ทั้งรูปธรรม นามธรรม แต่ให้เข้าหาอัพยากฤตธรรมจึงจะเป็นมรรคที่ถูก

    ๒๑. ภาวนาต้องไม่หนีจากกาย ใช้กายเป็นหลัก เพราะกายคตานุสติ คือ มหาสมุทรแห่งธรรม โดยใช้ไตรลักษณ์ให้จิตบังคับกิเลสถอยจากใจ และทรงอยู่ในไตรลักษณ์จนถึงนิพพาน

    ๒๒. บ้านิมิต พอภาวนาจนถึงอัปนาสมาธิแล้วเกิดนิมิตละเอียดกับญาณทัศนะ ซึ่งเป็นธรรมขั้นละเอียด หากจะให้นิมิตหายไป ก็ทำได้โดย

    ก) ไม่สนใจในนิมิตนั้นเสีย (ไม่ต้อนรับ)

    ข) เพ่งไตรลักษณ์ ล้างนิมิตก็หาย

    ค) วางเจตนาก็หายวิตก วิจาร นิมิตทั้งหลายหายไป เหลือแต่อำนาจของสมาธิอย่างเดียว

    ง) อาจารย์มั่น ใช้วิธีทวนกลับเข้าจิตเดิม (ข้าพเจ้าเข้าใจว่า คือ เลิกสนใจนิมิต ให้กลับมาสนใจผู้รู้อย่างเดียว คือ ผู้ที่ไปรู้ว่าเกิดนิมิต หรือสนใจแต่ใจ อย่าสนใจสิ่งอื่นที่อยู่นอกใจ หรืออารมณ์ต่าง ๆ ที่ออกจากใจ)

    จ) อย่าไปอธิษฐานนิมิตนั้น ๆ ว่าเป็นของดี ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง มันก็หายไปเอง ให้เห็นว่าเป็นธาตุ ๔ มันก็หายไปเอง ไม่เช่นนั้นอาจเป็นบ้าไม่หาย เช่น (พวกบ้าหวยเห็นนิมิตทุกคืน)

    ๒๓. ภาวนาไตรลักษณ์ทุกขณะจิต ทุกอิริยาบถ ด้วยความไม่ประมาท อะไรเกิดขึ้นก็ดับมันเสียตรงนั้น ความไม่เที่ยงจึงเป็นธรรมเทศนาสำคัญมาก เพราะเป็นสัจธรรมที่แสดงอยู่ตลอดเวลาในโลก ในขันธโลก ไม่หยุดยั้ง แสดงธรรมอยู่เช่นนั้น ทุกสิ่งในโลกจึงต้องเอาไตรลักษณ์เข้าไปฟอกให้รู้แจ้งเห็นจริง

    ๒๔. พุทโธอยู่เสมอจนชำนาญ ผล

    ก) ไม่มีนิวรณ์ออกไปจากจิต

    ข) มีรังสีหรือฉัพพรรณรังสีของพระองค์อยู่รอบ ๆ จิต

    ค) ป้องกันความกลัว, ผี, คนร้าย, สัตว์ร้าย, คุณไสยได้ดี

    ง) ช่วยชำระฟอกใจให้สะอาด (จิตผ่องใสอยู่เสมอ จึงไม่ตกนรก)

    จ) ใครควบภาวนาพุทโธ+มรณานุสติ และอุปสมานุสติก็ถึงนิพพาน

    ๒๕.หวงสังขาร (ร่างกาย) เท่ากับหวงทุกข์ เท่ากับหวงขี้ ถ้าปล่อยมันเสียก็เป็นสุข

    ๒๖. ดอกบัวสวยงามย่อมเกิดจากตม ธรรมชาติสวยงามล้วนเกิดจากของไม่ดีไม่สวยก่อนทั้งสิ้น หรือ สุภะ เกิดจากอสุภะ ดังนั้น ธรรมวิเศษทั้งหลาย เราก็ต้องพิจารณาออกจากกายอันสกปรก - เน่าเปื่อยนี้เช่นกัน (หรืออุบายวิปัสสนาทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยกิเลสเป็นครูผู้ทดสอบทั้งสิ้น ไม่มีกิเลสเราก็ไม่มีทางรู้ว่า เราหมดกิเลส เหมือนพระเทวทัตเป็นผู้ทดสอบอารมณ์ให้พระพุทธเจ้าทุก ๆ ชาติ เท่ากับเอาประโยชน์จากสิ่งที่คนอื่นเขาว่าไม่มีประโยชน์ เท่ากับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ในโลกนั้นไม่มี เพราะเรายังหาประโยชน์ของมันไม่พบ เราก็เลยคิดว่ามันไม่มีประโยชน์) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้บันทึกซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น

    ๒๗. ใจไม่ห่วงกาย ทำให้รวมง่าย เบื้องต้นต้องผิดมาก่อนทุกคน แม้พระพุทธเจ้า ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุ จึงต้องเห็นและรู้เหตุก่อน, โลกธรรม ๘ แก้ด้วยมรรค ๘ มรรค ๘ พระองค์จึงสอนให้ทำให้มาก ๆ , เจริญให้มาก ๆ พิจารณาให้มาก ๆ

    ๒๘. คนพาลมีลักษณะดังนี้ ถือตัว, ทะนง (ถือ) ตน, ถือดี, ถือชั่ว, ถือตัณหา, ถือสิ่งไม่จริง, ถือความไม่เที่ยง, เศร้าโศกอยู่เป็นนิจให้ไหม้หัวใจอยู่เป็นนิจ, จุดไฟเผาตัวเองอยู่เป็นนิจ, ร้อนอยู่เป็นนิจ, แบกหามขันธ์ ๕ อยู่เป็นนิจ สรุปสั้น ๆ ว่า คิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว

    ๒๙. จิตรวมใหญ่ การคิดพิจารณากายด้วยไตรลักษณ์ จนชำนาญถึงที่สุด จิตจะทำงานเองและรวมใหญ่ เห็นทุกอย่างในโลกรวมกันเป็นหนึ่ง (แบบจิตมันรวมเป็นหนึ่ง) โลกจึงเป็นแต่ธาตุทั้งสิ้นและเกิดนิมิตว่า โลกมันราบเป็นหน้ากลอง เพราะมันกลายเป็นสภาพอันเดียว

    ๓๐. เจริญกายคตานุสติจนชำนาญ ด้วยไตรลักษณ์ จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อทุก ๆ อวัยวะของกาย จนเกิด วิราโค เท่ากับสำรอกออก ไม่ยินดีในกามและกามสัญญาอีก จิตจึงจะถึงความเกษม

    ๓๑. อรหันต์ แปลว่า ไม่เป็นของลี้ลับ ท่านเป็นผู้เปิดเผยเพราะความลับในโลกไม่มี มนุษย์ไม่เห็น แต่เทวดาเห็น ปิดความชั่วไม่ได้ ธรรมไม่ปิดบังเหมือนกิเลส แสดงธรรม แสดงตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ใครตบแต่งสังขารหรือกาย จึงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง สมหวังก็ทุกข์ ไม่สมหวังก็ทุกข์ เพราะสังขารไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (หากวิจารณ์แบบอสุภะ ก็คือ ผู้ใดแต่งตัวมาก คนนั้นสกปรกมาก จึงพยายามปกปิดความสกปรกของตน เพราะท่านเปรียบกายเหมือนกับส้วมเคลื่อนที่ จะแต่งกันขนาดไหน มันก็ยังเป็นส้วมอยู่ดี)

    ๓๒. สุข - ทุกข์ บุญ - บาปอยู่ที่คิด พระอริยะท่านจึงไม่ยินดีในการอยู่และไม่ยินดีในการตาย ไม่เจ็บท่านก็ว่าดี เจ็บท่านก็ว่าดี ทำให้เห็นทุกข์ จะได้ไม่ประมาทในความตาย เพราะท่านคิดแต่แง่ดี อันเป็นบุญเป็นกุศลฝ่ายเดียว ส่วนพวกปุถุชนมักคิดตรงข้ามกับท่าน จึงวิ่งเข้าหาทุกข์, เข้าหาบาป - อกุศล จิตเศร้าหมอง (เป็นกิเลส) จุดไฟเผาตนเอง ทำร้ายตนเองอยู่เป็นปกติ เพราะความโง่ไม่เห็นอริยสัจตามความเป็นจริง เท่ากับยังเป็นคนพาลตาม ข้อ ๒๘

    ๓๓. ฝ่ายโลกถือสุขกายเป็นใหญ่ ฝ่ายธรรมสุขใจเป็นใหญ่ เพราะรู้อริยสัจตามความจริงว่า ร่างกายนี้มันเป็นเพียงแค่ ธาตุ ๔ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจริง ๆ คือจิต หรือ อทิสมานกายที่อาศัยขันธ์ ๕ อยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ฝ่ายโลกเข้าใจผิดจึงยึดเอาตัวปลอม (เงา) ว่าเป็นตัวจริง บำรุงบำเรอมัน แล้วทรมานตัวจริง(จิต) ขาดเมตตาตัวเอง ทำร้ายตนเอง เผาตนเองตลอด พอกายแตกดับไป ตัวจริงต้องไปรับผลกรรมที่ทำไว้ ตัวปลอมไม่ต้องไปรับ คงเป็นแค่ธาตุ ๔ อยู่กับโลกต่อไป

    ๓๔.จิตวิปัสสนาก็เพื่อให้รู้เท่าทันสังขาร ไม่ติด ไม่หลงในสังขารจนเกิดเบื่อหน่าย ไม่ติดในธาตุ ในขันธ์ทั้งหลาย บริสุทธิ์ด้วยไตรลักษณ์

    ๓๕. จะแก้จิต ฝึกจิต ต้องเห็นจิตก่อน อริยสัจจึงเป็นอาการของจิตที่ไปเห็นอสุภะของตนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง จิตจะไม่หลง ไม่พลิก เพราะเห็นจริงด้วยปัญญาอันยิ่ง (เห็นธรรมเท่ากับเห็นอริยสัจ) ปัญญาของพระองค์จึงมุ่งให้เราเห็นจริงเฉพาะเรื่องของกาย (ขันธ์ ๕) กับจิต ไม่ไปยุ่งเรื่องนอกกาย ให้รู้แค่นี้พอ รู้แค่นี้ก็พ้นทุกข์ได้ (พ้นวัฏฏะ) ให้รู้เรื่องของสมาธิว่า ลักษณะของสมาธิ เป็นที่พักของจิตชั่วคราว พักให้จิตมีกำลัง แล้วออกไปทำปัญญาวิปัสสนา ตัดกิเลสซึ่งสิงอยู่ในใจต่อ จนกว่าจะสิ้นกิเลส ให้รู้ธาตุของเก่า อย่าหลงของเก่า ให้รู้จักสมมุติ รู้จักอาการ ๓๒ ว่าเป็นของเก่า

    ๓๖. เรื่องความเพียร พระองค์ตรัสว่า “ธรรมทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยความเพียร (ถ้าจะเพียรให้ตรง ควรเพียรตามมหาสติปัฎฐาน ๔, อิทธิบาท ๔, สัมมัปปทาน ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรค ๘) เมื่อเพียรตามนี้ จิตจะเปลี่ยนสภาพไปเรื่อย ๆ ด้วยสมถะ และวิปัสสนา จนเกิดผล ผลเกิดเมื่อใดจิตจะรู้เองและรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) แต่จงอย่าลืมไตรลักษณ์ เพียรตามโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดนี้ จัดเป็นสัมมามรรค ถึงแล้วจะรู้เอง

    ๓๗.สัมปยุตด้วยญาณ รู้กลาง ๆ คือ รู้อยู่ระหว่างสมมุติกับวิมุติ สมมุติก็รู้เท่า วิมุติก็รู้ทัน (ไม่หลงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในระหว่างที่ยังทรงขันธ์ ๕ อยู่) สมมุติเป็นฝ่ายโลก วิมุติเป็นฝ่ายธรรม พระองค์ตรัสว่า "เมื่อเรายังอยู่ในโลก ยังต้องอาศัยโลก (โลกทั้งโลกมีแต่สมมุติทั้งสิ้น) ก็จงอย่าขวางโลก” ต้องไม่ลืมพุทธพจน์ข้อนี้ เรื่องของตัวไม่ยึดมั่นถือมั่น หรืออุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ถึงแล้วรู้เอง เพราะ“พระธรรมเปรียบประดุจหนึ่งแพ พยุงเราไว้ไม่ให้จมน้ำตาย พาเราไปให้ถึงฝั่ง เมื่อถึงฝั่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วย”ถึงแล้วจึงจะรู้ได้ด้วยตนเองทุกคน

    ๓๘. วิธีตัดขันธ์ ๕ (ข้อนี้ได้จากการสนทนาธรรมในวันนี้) เพื่อนสนทนาธรรมท่านหนึ่งเล่าว่า ท่านไม่เข้าใจวิธีตัดขันธ์ ๕ แต่พอเหลือบไปเห็นชายคนหนึ่งโยนขยะทิ้งลงไปในถัง ท่านก็เข้าใจทันที คือ ต้องมีกำลังใจพอ บวกด้วยปัญญา มองให้เห็นโทษ เป็นทุกข์ เห็นความสกปรก เห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย ซึ่งเราอาศัยมันอยู่ชั่วคราวนี้ แล้วก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่า นับแต่นี้ไปเราจะไม่ขอคบกับมันอีกแล้ว ก็ตัดขาดจากมัน ด้วยกำลังใจในขณะนั้น เหมือนกับโยนขยะนี้ที่ไม่ต้องการทิ้งถังขยะ โดยไม่อาลัยไยดีกับขณะนั้นอีกต่อไป พอตัดใจได้ก็ตัดขันธ์ ๕ ได้ทันที ผลก็คือมีสภาพคล้ายหมดความรับรู้ทุกอย่าง ไม่ได้ยินเสียงเทปที่สอนอีก ทำให้สงสัยว่าตนเองหลับไปในช่วงนั้น แต่พอเทปหมดม้วนก็รู้สึกตัวทันที จบพอดี เป็นเช่นนี้ทุกครั้ง เราจึงเข้าใจว่าไม่ได้หลับ แต่จิตเข้าสู่ฌาน ๔ ลึก โดยฉับพลัน จึงไม่ได้ยินเสียงเทป จิตแยกจากกาย ๑๐๐% ในช่วงขณะนั้น จึงมีสภาพเหมือนไม่มีกาย คล้าย ๆ คนหลับแต่ไม่หลับ เพียงแต่ไม่รับรู้เรื่องของกายเท่านั้น จิตทรงอยู่ในฌาน ๔ ละเอียดตลอดเวลาที่เทปทำงาน พอเทปหมด จิตก็รู้เองโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับ ร.๙ ที่ท่านทรงใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงแนะนำให้เขาทรงความดีนี้เอาไว้ เพราะหาบุคคลที่จะทำได้ยาก หากฝึกต่อไปจะฝึกจิตให้ก้าวหน้าไปได้อีกอย่างอัศจรรย์

    ๓๙. ผู้ภาวนาโดยมุ่งเอาแต่สมาธิอย่างเดียว ย่อมเกิดมีนิมิตต่าง ๆ หลอกอยู่เรื่อย ๆ จากอุปจารสมาธิ มีอุคหนิมิต ทำให้เป็นบ้าได้ แต่หากเอาวิปัสสนาควบไว้เสมอ ย่อมไม่เกิดนิมิต เพราะมีไตรลักษณ์ล้างอยู่เสมอ เลยรู้เท่าทันนิมิต

    ๔๐.ทรมานกายด้วยปฏิภาคนิมิต และอุคหนิมิต นั้นต้องทำให้ชำนาญและแจ่มแจ้ง จึงจะถอนอุปาทานขันธ์ ๕ (เกิดนิพพิทาญาณในขันธ์ ๕)

    ๔๑. ทรมานธรรม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ให้ละด้วยไตรลักษณ์อย่างเดียว เพราะเป็นขั้นละเอียด

    ๔๒. วิปัสสนู สัญญาวิปลาส เกิดนิมิตจากสมาธิ เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จึงทิ้งไตรลักษณ์ไม่ได้ เพราะนิมิตมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันก็หายไปเอง จงอย่าถือว่านิมิตเป็นของดี นิมิตมันเกิดแล้วก็ดับ มันไม่จริงเหมือนอริยสัจ ซึ่งไม่เกิดไม่ดับ เพราะเป็นสัทธรรม ใครที่เป็นบ้าเพราะนิมิตแล้วแก้ได้ ผู้นั้นฉลาดและกล้าหาญมาก และมีปาฏิหาริย์ได้หลายอย่าง แปลกกว่าผู้ที่ไม่เคยเป็นบ้า (ผู้ไม่เคยบ้าเพราะนิมิต จึงสู้พวกเคยบ้ามาก่อนไม่ได้)

    ๔๓. ต้องรู้เท่าทันกิเลส (เห็นกิเลสได้) จึงจะละกิเลสได้ ข้อนี้ก็หมายถึงเราจะละความชั่ว (กิเลส) ได้ เราจะต้องรู้ ต้องเห็นความชั่ว (กิเลส) ที่ใจของเราก่อน ตามที่เขียนไว้ในเรื่องนางมาติกมาตา ในศิษย์บันทึกเล่มที่หนึ่ง

    ๔๔. ติดธาตุต้องแก้ธาตุ เป็นธรรมที่ไม่ตาย เท่ากับหนามปักต้องเอาหนามบ่ง เท่ากับเอาตัณหามาดับตัณหา เท่ากับเอากิเลสมาแก้กิเลส เท่ากับไฟเกิดที่ไหนต้องดับที่นั่น เท่ากับคันที่ตรงไหน ต้องเกาที่ตรงนั้น (ปักแปลว่าตำ)

    ๔๕. ไตรลักษณ์แก้ได้ครอบจักรวาล เจริญไตรลักษณ์ไว้ลบล้างมานะได้ทุกอย่าง (มานะทิฐิ) ทั้งภายนอก ภายใน ทั้งภพน้อยใหญ่ ทั้งไตรภพและวัฏฏสงสาร (จิตพ้นนั้น ไม่มีไตรลักษณ์เข้าไปเกี่ยวข้องของจิต)

    ๔๖. นอนไม่หลับ เท่ากับเป็นบ้าในสังขาร แต่งสังขาร หรือจิตมันปรุงแต่ง ซึ่งความจริงก็คือไตรลักษณ์ (ขอวิจารณ์ว่าให้ใช้ข้อ ๔๔ แก้ ให้มันปรุงดีหรือฟุ้งดีเสียก็หมดเรื่อง) บุญ - บาป, สุข - ทุกข์ อยู่ที่ความคิดตามข้อ ๓๒ ให้กลับมาคิดดีเสียตามมหาสติปัฎฐาน ๔ หรือ กรรมฐาน ๔๐ ก็จบเรื่อง

    ๔๗. จิตวิบัติก่อน จึงรู้ธรรมเห็นธรรมต่าง ๆ ได้ เท่ากับต้องพบทุกข์ เห็นทุกข์ด้วยใจตนเองก่อน จึงจะเห็นธรรมได้ ดังนั้นมารหรือกิเลสจึงเหมือนเป็นครูของเรา หากไม่มีกิเลสก็ไม่มีครูผู้ทดสอบอารมณ์ของเรา เหมือนพระพุทธเจ้า หากไม่มีท่านเทวทัตทดสอบอารมณ์ ก็คงเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้

    ๔๘. พิจารณามรณานุสติบ่อย ๆ เป็นของดี เท่ากับเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในความตาย เท่ากับผู้ไม่มีความประมาท มีชีวิตแค่ราตรีเดียว ยังดีกว่าผู้ที่ประมาทที่มีอายุอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี (ข้อ ๓๘) การฝึกจิตให้เข้าสู่อารมณ์แห่งความตายนี้สำคัญมาก ทำอยู่บ่อย ๆ ทุกวัน จิตจะชินเป็นฌานในมรณานุสติ ผู้ฉลาดให้บวกอุปสมานุสติไปด้วย คือ หากตายไม่ขอเกิดอีก ขอไปนิพพานจุดเดียว (เป็นการฝึกจิตให้สู่อารมณ์พระนิพพานโดยตรง) หากตัดอวิชชาไปด้วย คือ ฉันทะกับราคะในเทวโลกและพรหมโลกด้วย ก็สามารถจบกิจได้ในเวลานั้น (ในชั่วขณะจิตนั้น) (ข้อนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า)

    ๔๙.อำนาจของไตรลักษณ์ที่เต็มกำลัง ทำให้เห็นธรรมแสดงโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างไม่ขาดระยะ จิตไม่เที่ยง ไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบตามกิริยาของกิเลสอีก จิตอยากเข้าสู่อมตะธรรม โดยวางโลกโลกีย์ ด้วยกำลังของไตรลักษณ์

    ๕๐.อย่าสับสน โรคทั้งหลายเกิดในกาย กิเลสทั้งหลายเกิดในจิต จงอย่าสับสน จนให้โรคเข้าไปกินใจได้ และให้กิเลสล้นจากใจออกมาวุ่นวาย สั่งให้กายทำตามกิเลส จึงต้องอาศัยปัญญา พิจารณาธาตุ ให้รู้แจ้งธาตุ อย่าหลงธาตุ จนจิตหลุดพ้นจากธาตุ คือ อวิชชาตัณหา

    ๕๑.แสงธรรม - แสงแห่งปัญญา เดิมกายเปรียบเหมือนภูเขาทึบทั้งลูก เมื่อภาวนาไตรลักษณ์ไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดแสงสว่างแทงทะลุปรุโปร่งไปหมด กายเหมือนไม่มี มีก็เป็นเงา ๆ เท่านั้น อำนาจของแสงธรรมหรือแสงแห่งปัญญา เป็นความสว่างอยู่กับใจตลอด มองอะไรก็สว่างไปหมด สว่างอยู่ที่จิตดวงเดียว เป็นอัศจรรย์เด่นอยู่ในร่างกาย

    ๕๒.มรรคผลนิพพานมีจริง หากเดินตามมรรค ๘ ซึ่งเป็นทางเดินของพระอริยเจ้า แต่ต้องมีตบะ - ความเพียรอย่างยิ่ง เกียจคร้านไม่ได้ หากปฏิบัติธรรมให้ถูกกับมรรคแล้ว จะเกิดผลอัศจรรย์ปรากฏกับจิต ๑๐๘ โดยจิตไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน

    ๕๓.ติดดีก็เป็นทุกข์ เมื่อภาวนาถึงหลักอริยสัจ นิมิตแสดงออกมาเป็นร่างมนุษย์ที่บริสุทธิ์ ต้องน้อมนิมิตนั้นเข้าสู่ไตรลักษณ์ เพราะนิมิตนั้นจะเปลี่ยนแปร หลอกให้จิตพอใจ หลง และติดดี ต้องน้อมตัวติดดีเข้าสู่อริยสัจ คือ ติดดีก็เป็นทุกข์ เพราะความดีคือบุญก็ไม่เที่ยง ข้อนี้ก็สำคัญไม่น้อย, ตัวยินดีติดดีเท่ากับราคะ เป็นกามฉันทะ (ฉันทะกับราคะในอวิชชา คือ ยังโง่กว่ากิเลสอยู่นั่นเอง)

    ๕๔.กิเลสสิ้นไปเพราะ

    ก) กุศลธรรมทั้งหลาย ตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่มีเสื่อม

    ข) กุศลธรรมทั้งหลาย มีสมาธิเป็นหัวหน้า

    ค) กุศลธรรมทั้งหลาย มีสติมีลักษณะเลือกเฟ้นธรรม

    ง) กุศลธรรมทั้งหลาย มีศรัทธาหยั่งลงสู่ไตรลักษณ์แล้วไม่มีเสื่อม

    จ) กุศลธรรมทั้งหลาย มีปัญญาพิจารณาตามไตรลักษณ์ ตัดกระแสของกิเลสอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไปได้

    ๕๕. (พุทธพจน์) ธรรมทาน จัดเป็นเลิศในทาน เพราะชนะอามิสทั้งปวง

    - รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง

    - ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

    - ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง

    ๕๖. ม้างกาย ให้ฉลาดด้วยการพิจารณากายด้วยไตรลักษณ์ ม้างอนุสัย ให้ฉลาดทางจิตทางเจตสิก แก้การเกิดกายด้วยไตรลักษณ์ (คือ การพิจารณาร่างกายและจิตใจด้วยอุบายอันฉลาด ด้วยไตรลักษณ์)



    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม



    ธรรมะจันทสาโรบูชา

    จาก : หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    ๑. ปุถุชนมีอารมณ์วนเวียนอยู่กับอารมณ์เท่านั้น ยังวางความรักและความชังไม่ได้ เหมือนกับพระอริยเจ้าทั้งหลายเพราะเหตุไม่รู้เท่าสังขาร (แห่งกายและจิต)

    ก) สังขารท่านคงหมายถึงร่างกายหรือขันธ์ ๕ อันประกอบด้วยกายกับจิต หรือรูปกับนาม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือ

    ข) อารมณ์ปรุงแต่งของจิต (นาม) ซึ่งยังหวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ เพราะยังมองไม่เห็นทุกข์ตามความเป็นจริง หรือยังไม่เห็นอริยสัจ เท่ากับยังไม่เห็นธรรม

    ๒. ม้างกาย คือ การพิจารณาร่างกาย (กายคตานุสติ) โดยให้แยกกายออกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นความเกิด ความเสื่อม ความดับไปของกาย เพ่งพิจารณากายจนเกิดอุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต แล้วจึงดำเนินจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ ให้ใช้จิตหรือใช้ปัญญาผ่าอกตัวเอง เหมือนกับผ่าอกไก่ แยกเป็น ๒ ซีก ฉีกออกเป็นชิ้น ๆ สับมันเป็นท่อน ๆ เหมือนสับไก่ แล้วน้อมสิ่งที่เห็นเข้ามาที่ตัวเรา ต้องถีบ ต้องตบมันอยู่เป็นประจำบ่อย ๆ จนที่สุดก็จะเห็นมันเป็นกระดูก แหลกเป็นฝุ่นปลิวไปทั่ว เหลือแต่ผู้รู้อยู่อย่างเดียว

    ๓. จิตติดที่ไหนย่อมเกิดที่นั่น หากจิตติดบ้านเรือน อาจเป็นจิ้งจก ตุ๊กแกได้ แม้ภิกษุติดจีวร ยังไปเกิดเป็นเล็น กิเลสมันมี ๑๐๘ ประตู แต่พุทโธมีประตูเดียว หากสามารถรักษาประตูเดียวนี้ได้จนชำนาญ ก็สามารถเปลี่ยนภพ - ชาติได้ (ผู้ตายในอารมณ์หลงจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน)

    ๔. ความผ่องใสเกิดจากธรรมะ (หมายความว่า เราดูคนดูกันที่หน้าและตา ใครมีธรรมะมีสุข - ทุกข์ มันจะแสดงออกมาที่หน้าตาชัดเจน)

    ๕. ความโศกเศร้า - เศร้าหมอง เกิดมาจากกิเลสของตน (มันก็แสดงออกมาได้ทางหน้าตาเช่นกัน และกิริยาของกิเลส มันทนอยู่ในใจไม่ได้นาน มันจะต้องแสดงออกมาให้เราเห็น ให้เรารู้จนได้ ทางวาจาหรือทางกาย ดังนั้นคนมีบุญ ไม่มีบุญ มีสุขมีทุกข์ มีวาสนาหรือไม่มี ผู้รู้ธรรมย่อมสังเกตได้ด้วยตาปัญญา) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นของข้าพเจ้าผู้บันทึก

    ๖. พระเถระ ไปเยี่ยมกัน ท่านใช้ญาณของจิต ไม่ต้องพูดกันอย่างคนธรรมดา ก็รู้สุข - ทุกข์คนธรรมดาต้องถามสุข - ทุกข์ จึงจะรู้ได้

    ๗. ใช้อานาปานุสติ (ธาตุลม) อันเดียว ขลังดี อย่าเอาธาตุอื่นเห็นอันเดียวก็เห็นหมด จิตมันขลังดี

    ๘. ให้นั่งคนเดียว ตัดสินใจว่าเราจะตายคนเดียว เกิดคนเดียวแก่คนเดียว ป่วยคนเดียว ไม่มีใครช่วยเราได้ ต้องช่วยตนเองตัดสินใจแบบนี้จึงจะเป็นกายวิเวกให้อาศัยธรรมะของพระองค์อย่างเดียว วจีวิเวก คือ ตอนพระเทศน์ห้ามคุยกันมโนวิเวก คือ หัวใจเปลี่ยว ว้าเหว่ (แต่ไม่ทุกข์) สงบอยู่ในปัจจุบัน ละอดีตและละอนาคต ซึ่งเป็นอารมณ์อันตราย จะชนะกิเลสต้องอยู่ในธรรมะปัจจุบัน

    ๙. พระอริยเจ้าทุกองค์ชนะกิเลสด้วยวิธี ๒ วิธี คือ สมถะ และวิปัสสนา

    ๑๐. ใครเห็นธรรม คนนั้นเห็นตถาคต ดังนั้น ถ้าเราเห็นกระดูกเท่ากับเราเห็นธรรม เท่ากับเราเห็นพระพุทธเจ้า

    ๑๑. วิปัสสนา ก็พิจารณาเข้าหาไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างในโลกนี้มันไม่เที่ยง แต่คำสอนของพระองค์ หรือพระธรรมนั้นเที่ยง เช่น รักษาศีล ถ้าทำได้แล้วก็เที่ยง เป็นอริยทรัพย์

    ๑๒. พุทโธ ๆ เป็นสมถะก็เที่ยง วิปัสสนาก็เที่ยงทำให้ฉลาดเห็นธรรมเห็นอวัยวะของกายมันเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งอยู่ในโลก (พระธรรมนั้นไม่เกิดไม่ตาย)

    ๑๓. อวัยวะหรือกายนี้ เรายืมเขามาใช้ชั่วคราว ไม่ทราบว่าเขาจะมาทวงคืนไปวันไหน ดังนั้น ต้องเอาธรรมของพระองค์สอนใจตนให้มากอย่าไปสนใจหรือยึดทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งเอาไปไม่ได้มันสอนใจไม่ได้ ต้องเอาพระธรรมสอนใจ เดินมรรคให้ถูกด้วยปัญญาเห็นชอบ ดำริชอบ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ย่อจากมรรค ๘

    ๑๔. วัฏฏะ วังวนหาต้นปลายไม่ได้ เรื่องผัว ๆ เมีย ๆ พบกันหลายชาติ ใครตายก่อนก็ร้องไห้ ร้องกันจนน้ำตามากกว่ามหาสมุทรทั้ง ๔ มีความทุกข์ร้อยแปด แต่มองไม่เห็น (น้ำตาของบรรดาพวกมนุษย์ทั้งหลาย หากเอามารวมกันจะมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔)

    ๑๕. การเกิดของคนและสัตว์ ต้องประกอบด้วย ๓ อย่าง คือ มีพ่อ - แม่ มีการผสมกันระหว่างน้ำอสุจิกับไข่ และมีวิญญาณธาตุเข้ามาสู่ด้วยอีกหนึ่ง ต้องทรมานอยู่ในมดลูก ๑๐ เดือน แบบนี้เป็นแสน ๆ ชาติ แต่ก็จำไม่ได้ ตอนเป็นเด็กแรกเกิด - เด็กเล็ก - เด็กโต - จนตายล้วนเป็นทุกข์ แต่ก็จำไม่เคยได้ จนกระทั่งพบพระธรรม (โมกขธรรม) ของพระองค์

    ๑๖. ชีวิตคนสั้นนิดเดียว จงอย่าประมาทในธรรม ให้รีบทำเสียระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตมันไม่เที่ยง แต่ความตายมันเที่ยง ใช้ปัญญาพิจารณากายให้เห็นอสุภะมันไหลออกมาเห็นกายแล้วเบื่อหน่าย เกิดนิพพิทาญาณ ราคะก็ไม่มี กำหนัดก็ไม่มี เอโกธัมโม ทำใจให้เป็นหนึ่ง จนเห็นกายเป็นอสุภะวิราโค แปลว่า ราคะมันสำรอก (ออกหมดเอง) ไม่ยินดีในเพศปุถุชน เท่ากับหินเพศ เท่ากับเพศต่ำ ซึ่งยังบริโภคกามอยู่ มีจิตต่ำยังชอบกาม เห็นกามเป็นของดี จึงต้องอยู่ในวัฏฏะตามข้อ ๑๔ มาอย่างหาที่สุดไม่ได้ ส่วนพระอริยท่านเห็นโทษ - เห็นทุกข์ชัดเจนแล้วจากกาม เห็นละเอียดจนถึงโทษของกามฉันทะในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ ที่ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจ (ธรรมารมณ์) เห็นความไม่เที่ยง - ความทุกข์ของกามได้ชัดเจน จึงรังเกียจกามและหาทางออกจากกามได้ด้วยปัญญาอันชอบ

    ๑๗. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสันโดษ ความมักน้อย เป็นทรัพย์ของบรรพชิต พวกคฤหัสถ์ก็เหมือนกัน ยินดีแต่เฉพาะในทรัพย์ของตน, สามีตน, เมียตน, ลูกตน, ครอบครัวตน ก็เป็นพลเมืองดี

    ๑๘. ข้อนี้ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่าควรจะเป็นเช่นนี้ คือ คำสอนหรือพระธรรม หรืออริยมรรค เป็นเพียงแค่แผนที่, เป็นปริยัติ เป็นตำรา หรือเป็นอาหารของใจ ใช้ธรรมข่มจิต - ใจ เวลาโลภ โกรธ หลง ไม่ให้กระทำไปในทางที่ผิด แต่หากใครไม่อบรมจิตด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ข่มจิตใจไม่ลง จิตไม่อ่อนก็ไม่มีหิริ - โอตตัปปะ พวกจิตไม่อ่อนตัวก็ยังฝืนธรรม ฝืนศีล ๕ ก็ยังทำผิดศีลได้ทั้ง ๕ ข้อ ต้องตกนรก หากมีอาฆาตจองเวร ก็ต้องมาทำร้ายกันและกันอีก ๕๐๐ ชาติ ก่อนจะเป็นอโหสิกรรม พระองค์จึงสอนให้ระงับเวรด้วยการไม่จองเวร โดยการให้อภัยซึ่งกันและกันเสีย ในปัจจุบันชาตินี้ เพราะหากไม่ให้อภัยทานกันไว้ก่อนตาย แล้วมันยุ่ง มันใช้เวลานานแสนนาน หากยังดื้อรั้น ไม่เชื่อพระองค์

    ๑๙. การปฏิบัติในหนึ่งวัน (๒๔ ช.ม.) เราเพียงน้อมใจให้อยู่ในหัวใจพระศาสนา เพียงแค่วันละหนึ่ง - สองชั่วโมงก็พอ คือละชั่ว - ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ทำจิตให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ละอดีตอนาคตเสีย ในช่วงนั้นทุกข์ก็เกิดกับใจเราไม่ได้ (ฟังธรรมแล้วก็ต้องจำให้ได้โดย โอปนยิโก น้อมธรรมภายนอกที่เรารู้ - เราเห็นแล้วนั้น เข้ามาในใจตน ใคร่ครวญ - พิจารณาให้เกิดปัญญา คือ เกิดความรู้ขึ้นใจ รู้อะไร ก็รู้ธรรม - เห็นธรรมที่น้อมเข้ามานั้นด้วยใจตนเอง เพราะการรู้ธรรม โดยผู้อื่นมาแนะนำ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ก็สู้เรารู้เองเพียงครั้งเดียวไม่ได้

    ๒๐. การภาวนาหรือทำจิต อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว ขอให้เร่งทำความเพียร ทุก ๆ คนที่ร่วมกันสามัคคีกัน กลมเกลียวกัน

    ๒๑. จิตมันพยศ มันชอบทุกข์ มันถือสังขาร มันเอาไฟจุดตัวมันเองอยู่เช่นนั้น (หมายความว่า พอมีอะไรมากระทบ จิตชอบคิดชั่ว คิดเบียดเบียนตนเอง - ทำร้ายใจตนเองอยู่เสมอ)

    ๒๒. พระธรรมอยู่กับคนบางคน กลายเป็นของปลอม เช่น อยู่กับอลัชชี คนที่ไม่รู้จักธรรม ก็ตัดสินใจไม่ได้เป็นธรรมดา

    ๒๓. ธรรมที่เกิดจากการภาวนา (บุญที่เกิดจากการภาวนา) ไม่เอาอดีต - อนาคตมายุ่งด้วย แต่เป็นธรรมที่เกิดจากปัจจุบันมีราคาสูงเป็นของแท้ และอัศจรรย์ยิ่ง

    ๒๔.ธรรมชาติเทศนา ทั้งกลางวัน กลางคืน ทั้งภายนอกและภายในประกาศอยู่ตลอดเวลา แต่ทำไมจิตจึงไม่เห็น เหตุเพราะอวิชชา นักฟังเทศน์ที่ดี มองเห็นความแปรปรวนของสังขาร (เห็นกาย - เวทนา - จิต - ธรรม) เพราะจิตเขาไม่มัวเมา มีสติ ไม่ประมาท

    ๒๕. จะชนะกิเลสได้ด้วยปัจจุบันธรรม อย่ายุ่งกับผู้ตายไปแล้ว (อดีต) อย่ายุ่งกับผู้ยังไม่เกิด (อนาคต) ให้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น

    ๒๖. ธรรมเป็นอาหารของจิต โรคจิตมีหลายอย่าง ธรรมโอสถก็มีหลายขนาน ต้องเลือกเอาให้ถูกกับโรค ตามจริตและนิสัย โรคจิต คือ กิเลสทุกประเภทที่เกิดจากจิต จิตเกิดการปรุงคือธาตุ ให้เอาจิตแก้ธาตุ ให้เอาธาตุแก้จิต ประสานกัน (พระอริยเจ้าใช้อย่างนั้น)

    ๒๗. ธรรมภายใน ภายนอก สว่างอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ปิดบังเหมือนกิเลส อริยสัจจึงแสดงธรรมอยู่ตลอดเวลา ไม่ขาดสาย (แต่คนจะเห็นหรือไม่เท่านั้น)

    ๒๘. ธรรมะมีอยู่ในจิตผู้ใด ผู้นั้นจะร่าเริงอยู่เสมอ ไม่โศกเศร้าเหมือนผู้ไม่มีธรรมะ ซึ่งจะเร่าร้อนอยู่เป็นนิจ นำมาซึ่งความทุกข์อันใหญ่ (เพราะการเผาของไฟภายใน ๓ กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ)

    ๒๙. พระองค์สอนปัญจวัคคีย์ให้ละอุปาทานขันธ์ ๕ ความว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ใกล้ก็ดี อยู่ไกลก็ดี รูปทั้งหมดนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น เป็นนี่ ทุกอย่างล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ข้อนี้ขอท่านทั้งหลายพึงพิจารณาตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบแล้ว จิตก็จะไม่หวั่นไหว แม้เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ปัญจวัคคีย์จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย - คลายกำหนัดในขันธ์ ๕ เป็นอรหันต์(คนฉลาดมีพุทธจริต มีบารมีเต็มแล้ว พระองค์สอนให้ตัดขันธ์ ๕ อย่างเดียว ก็จบกิจในพระพุทธศาสนา)

    ๓๐. ศาสนาให้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ธรรมของพุทธศาสนาประกาศไว้ชัดแจ้ง เป็นสัจจะ เป็นอริยสัจ สว่างไสวไม่เคยปกปิด หรือมีอะไรปิดบังแม้แต่น้อย ซึ่งตรงข้ามกับกิเลส มันชอบแอบ ชอบปิดบังตนเอง และยังใจไว้เหมือนเส้นผมบังภูเขา ทำให้ไม่เกิดปัญญา จิตจึงไม่เห็นธรรมเพราะมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ครอบคลุมใจไว้ ให้ประพฤติตาม กิเลส ตัณหา อุปาทานของตน สร้างอกุศลกรรมให้ตนไปสู่ทุคติ

    ๓๑. ความสันโดษเป็นทรัพย์ของบรรพชิต (และฆราวาส) มีสันโดษแล้วเบากาย - เบาใจ เพราะไม่สะสมปัจจัย ๔ ก็ไม่ทุกข์ เพราะมันทำให้มีเวลาว่างสำหรับภาวนามากขึ้น

    ๓๒. ความเป็นพระนั้นยิ่งจนยิ่งมีความสุข เท่ากับ (พันธะ และภาระ นอกตัวยิ่งน้อยยิ่งสบาย)

    ๓๓. ผู้มีสันโดษย่อมเลี้ยงง่าย (ความจริงแล้วธรรมข้อนี้ เข้ากับหลักตัดสินว่า สิ่งใดเป็นธรรม เป็นวินัย ๘ ข้อ ที่พระพุทธองค์ให้ไว้กับพระนาง ปชาบดีโคตมี คือ ธรรมเหล่านั้นต้องเป็นไปเพื่อ (คลายกำหนัด, พ้นทุกข์, กำจัดกิเลส, ไม่โลภ (มักมาก), สันโดษ สงัดจากหมู่ ความเพียรและเลี้ยงง่าย) มีสันโดษข้อเดียวก็โยงไปหาธรรมอีก ๗ ข้อได้ หรือธรรมอีก ๗ ข้อ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง เพราะเริ่มต้นด้วยปัญญาอันเป็นสัมมาทิฎฐิ สัมมาอีก ๗ ตัว ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง)

    ๓๔. ปีติ เป็นธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้นกับอารมณ์ เพราะเป็นอาหารของจิต พระโยคาวจรท่านเดินวิปัสสนาชำระจิตของท่านให้สะอาดอยู่เสมอ แก้โรคบ้า โรคฟุ้ง ปีติจะนำส่งไปสู่การเกิดธรรมได้อย่างอัศจรรย์ (เกิดนิมิต แต่นิมิตนั้นคล้ายเด็กเล่นเงาตัวเอง จงอย่าไปยินดียินร้ายในนิมิตนั้น) ข้าพเจ้าขอวิจารณ์ต่อว่า นิมิตเป็นของดีถ้าใช้ถูก ใช้เป็น คือ ต้องมีปัญญา รู้เห็นได้ตามนิมิตนั้น ๆ ถ้าขาดปัญญาก็อาจฆ่าตัวเองได้

    ๓๕. ผู้มีธรรมะแล้วจิตละเอียดสะเทือนถึงกัน รู้วาระจิตของผู้อื่น พระเถระฝ่ายวิปัสสนาไปเยี่ยมกัน ทำความสงบถามกันโดยมากไม่ถามด้วยปากเหมือนกับปุถุชนซึ่งยังมีจิตหยาบ

    ๓๖. พระโสดาบัน ท่านเชื่อในเรื่องกรรม เชื่อผลของกรรม มีพระไตรลักษณ์สาม และมีศีล ๕ อยู่กับจิตของท่าน มีผลทำให้ล้างกรรมที่จะไปตกนรกได้

    ๓๗. มนุษย์ แปลว่า ใจสูง เป็นภูมิใหญ่ชั้นพิเศษ มนุษย์มีใจกล้า ฉลาด สามารถประดิษฐ์การงานได้ทุกอย่าง ยิ่งกว่าสัตว์ทุกประเภทในไตรภพ จึงปฏิบัติสำเร็จมรรคผลได้ ใจไม่ว่างจากความเพียร จึงเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ได้ สัตว์อื่นทำไม่ได้ ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าสั่งสอน (รวมทั้งเทวดาและพรหม) เพราะมนุษย์เห็นอริยสัจได้จริง จนสำเร็จมรรคผล แต่มนุษย์ทำได้ทั้งบุญ - บาป ผู้ใดเกิดเป็นมนุษย์ หากได้พบพระพุทธเจ้าหรือพระธรรมของท่าน จึงจัดเป็นลาภที่ใหญ่ยิ่ง เพราะสามารถปฏิบัติมรรคผลนิพพานได้ ส่วนพวกไม่ยอมทำดี ทำแต่บาป ก็ย่อมรับผลของกรรมที่ตนทำไปเป็น มนุสสนิรยิโก (สัตว์นรก) มนุสสเปโต (เปรต) มนุสสติรัจฉาโน (สัตว์เดียรัจฉาน) พวกทำความดีก็เป็น มนุสเทโว (มนุษย์จึงเป็นภูมิที่มีฐานะอันเลิศในหมู่สัตว์ สามารถทำได้ทั้งดีและชั่ว, มีอายุสั้นมาก เมื่อเทียบกับอายุของสัตว์ในภูมิอื่น (ยกเว้นสัตว์เดียรัจฉาน) และสั้นมากเทียบกับเทวดาและพรหม จึงเป็นภูมิที่เทวดาและพรหม ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ ลงมาบำเพ็ญตนเพื่อต่อบารมีให้สูงขึ้น หรือให้ถึงที่สุดของความดีได้ในเวลาอันสั้น) ในวงเล็บเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า

    ๓๘. ผู้เพ่งอยู่กับความแปรปรวนของจิต (ผู้มีสติ เพ่งดูจิตของตนเองอยู่เสมอ) ย่อมรู้ธรรม เห็นธรรม จิตอยู่ที่ไหน ย่อมรู้แจ้ง ณ ที่นั้น ผู้ใดปฏิบัติตามนี้ ย่อมเห็นธรรมแสดงอยู่อย่างนั้น ย่อมแก้ความสงสัยในธรรม รู้ธรรม เห็นธรรม อย่างสุขุมลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้น โดยระวังไม่ยอมให้จิตออกจากกาย และเห็นความแปรปรวนอยู่เรื่อย ๆ (อยู่ในปัจจุบันธรรมตลอด ด้วยอัตนาโจทยัตตานัง)

    ๓๙.ผู้มีธรรมอยู่กับใจ ใจก็สบายเป็นสุข (ใจไม่เป็นโรค เพราะมีธรรมโอสถอยู่) ส่วนผู้ไม่มีธรรมอยู่ในใจ ย่อมเป็นทุกข์เพราะแบก - หามขันธ์ ๕ อยู่เป็นนิจ เลยไม่มีเวลาปลงขันธ์ ไม่เห็นอริยสัจ ไม่เห็นความเกิด - ดับ เลยไม่รู้ขันธ์เป็นของหนัก เพราะติดสังโยชน์ คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดใจอยู่ ให้เวียนว่ายตายเกิด อยู่ในภพทั้งสาม

    ๔๐. กรรมชั่วเหมือนสุนัขไล่เนื้อไล่ตามอยู่เสมอ ทันที่ไหนย่อมกัดที่นั่น (พระองค์จึงสอนหัวใจพุทธศาสนาไว้ความว่า ให้หยุดทำกรรมชั่วตั้งแต่บัดนี้ แล้วให้ทำแต่กรรมดี เพื่อหนีกรรมชั่วไม่ให้ตามทัน ขณะเดียวกันก็ให้ทำจิตให้ผ่องใสไว้เสมอ เพื่อให้พ้นนรก หรือพ้นอำนาจของกิเลส เพราะความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย อาจเกิดกับเราได้ทุก ๆ เวลา จึงไม่ให้เราประมาทในความตาย ให้เราคิดเสมอว่า เราอาจตายในวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในการประกอบความดี โดยละความชั่วที่ใจเราตลอดเวลา) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า

    ๔๑. ผู้ไม่ประมาท แม้มีชีวิตเพียงราตรีเดียว ดีกว่าผู้ประมาทที่มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เพราะความไม่ประมาท ส่งผลไปสู่สุคติผู้ประมาทย่อมไปสู่ทุคติ กว่าจะพ้นนรกก็นานแสนนาน

    ๔๒. มนุษย์ไม่รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริง จึงติดทุกข์ ไม่ละทุกข์ เอาทุกข์มาเป็นสุข ยิ่งฝืนธรรมยิ่งทุกข์ใหญ่ ความทุกข์ยิ่งเพิ่มขึ้น จากวิตก - วิจาร บำรุงทุกข์ให้เกิดขึ้นกับใจตนเสมอ ๆ เพราะความไม่เข้าใจจริงในทุกข์ (ความโง่, อวิชชา, เซ่อ, ขาดปัญญา ขาดการพิจารณา) พระองค์สอนไว้ชัดแจ้งว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข ใครที่รู้จักทุกข์ตามความจริง จะไม่ยอมสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นอีก ไม่ติดทุกข์ ละวางทุกข์ไว้ที่เดิม เพราะรู้ชัดว่าทุกข์ทางกายนั้นเป็นเพียงแค่กำหนดรู้เท่านั้น ละมันไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์ตามปกติของกาย ใครมีกายก็มีทุกข์มากเป็นคู่บารมีจนกว่าจะตาย แต่ทุกข์ใจนั้น (สมุทัยหรือตัณหา) เราเป็นผู้สร้างขึ้นเองที่ใจเรา ก็สามารถละมันได้ที่ใจเราเช่นกัน

    ๔๓. การงานทางโลก บำรุงตัณหาทั้งสิ้น มีทุกข์มาก ได้มาก็เป็นทุกข์ในการรักษา ไม่ได้มาก็ทุกข์เพราะไม่สมตามความปรารถนา ตัวขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์ เป็นก้อนทุกข์ ต้องเลี้ยง ต้องบำรุงรักษากันทุก ๆ วันจนกว่าจะตาย (แก่ ป่วย เจ็บ ตาย)

    ๔๔. เห็นความไม่เที่ยงของกายแล้ว ให้เห็นความเที่ยงของกายบ้าง เช่น ทุกกายที่มีเกิดขึ้นต้องตายหมด, ต้องมีทุกข์มากน้อยตามกรรมของตน ส่วนอสังขา เป็นสุข ไม่รับทุกข์ด้วย ไม่ยินดี ยินร้าย อย่าให้ความรู้โลกีย์มาปนกับ โลกุตระ ให้แยกไว้เป็นส่วน ๆ รู้เท่าแล้ววางไว้ตามเรื่องของเขา เกิด - ตายเป็นเรื่องโลกีย์ อย่าไปสนใจ ส่วนโลกุตระมันเย็น เพราะไฟตัณหาหมดแล้ว (สรุป ความเที่ยงของกายคือความตาย และวิบากอันเกิดจากฎของกรรม)

    ๔๕. กามทั้งหลายเป็นจ้าวโลก (เจ้าโลก) เกลียด - โกรธ - ชัง - ฆ่ากัน และทำบาปนานาประการ ก็เพราะกามเป็นใหญ่

    ๔๖. งานของศาสนาดีกว่างานทางโลก งานทางโลก ทำไร่ ทำนา หลายร้อยปีทำแล้ว ก็ตกเป็นของคนอื่นหมด ส่วนงานทางศาสนา เช่น ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เพียงแม้เล็กน้อย ชั่วครู่ยามต่อวัน กับให้กุศลเป็นผลบุญ อยู่นานตั้งกัปทีเดียว จึงต้องยกให้งานศาสนาเป็นของเลิศ

    ๔๗. อยากเป็นพระอินทร์ ต้องบำเพ็ญความดี ๗ อย่าง คือเลี้ยงบิดา - มารดา, อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, มีวาจาอันอ่อนหวาน ไม่พูดส่อเสียด, ไม่ตระหนี่, กล่าวคำที่เป็นจริงและระงับความโกรธได้ (ใน ๗ อย่างเกี่ยวกับวาจาเสีย ๓ ข้อ)

    ๔๘. ทุกคนหนีโลกธรรมไม่พ้น จึงอย่าหนีมัน เพราะมันเป็นของธรรมดา คนส่วนใหญ่คิดว่าตนฉลาด (พระองค์ตรัสว่าเป็นคนโง่ตั้งแต่ที่เริ่มคิด เพราะเป็นอารมณ์หลง) ดังนั้น เมื่อถูกด่า - ว่า - หรือติ หรือนินทา จะมีอารมณ์ไม่พอใจ โกรธ เก็บเอามาคิดปรุงแต่ง เกิดอาฆาต - พยาบาท - จองเวร เพราะอารมณ์โง่ โมหะ หรือหลง หรือมิฉาทิฎฐิ จึงทำร้ายตนเอง เผาตนเอง เบียดเบียนตนเอง ขาดเมตตาต่อตนเอง เหมือนกินยาพิษ เพราะโมหะ (โง่) แต่ใครเชื่อพระองค์ก็เป็นสุข เพราะถือเป็นของธรรมดา ให้ตั้งไว้ในอารมณ์ช่างมัน หรือวางเฉย หรือสักแต่ว่าหรืออุเบกขา จนถึงสังขารุเบกขาญาณในที่สุด

    ๔๙. ภัย ๔ - ๕ อย่างในโลก เช่น คนมีทรัพย์ (โลกียทรัพย์) มีภัย คือ ราชภัย, โจรภัย, อัคคีภัย, อุทกภัย และวาตะภัย ทั้ง ๕ ข้อ ล้วนแต่เป็นกฎของกรรมที่ตนทำไว้ทั้งสิ้น หรือคนเกิดมาในโลกมีภัย คือ ชาติภัย, ชราภัย, พยาธิภัย, มรณภัย แต่ภัยใหญ่ยิ่งก็คือภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายตัวเราเอง (ขอเพิ่มเติมอีก ๑ ภัย คือ ทุกขภัย หรือ ภัยจากกฎแห่งกรรม (วิบากกรรม) ต้องเปลี่ยนเป็นภัย ๕ อย่างแทน ให้ตรงตามสัจธรรมหรือสัทธรรม ๕ แต่จริง ๆแล้ว ภัยทุกชนิด ล้วนมีต้นเหตุมาจากกฎของกรรม ซึ่งเราเป็นผู้ทำไว้เองทั้งสิ้น

    ๕๐. สุขในโลกกับสุขในธรรม ต่างกันฟ้ากับดิน สุขในโลกจริง ๆ ไม่มี (มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย) เช่น สุขในกาม - กิน - นอน ล้วนไม่ถาวร สุขจากโลกธรรม เป็นมายาหลอกคนโง่ สุขทางโลกจึงมีสภาพ ยิ่งสุขก็ยิ่งทุกข์ (เพราะถูกกิเลสมันหลอกต้มเอาจนสุก) ตายแล้วสูญ เอาอะไรไปไม่ได้เลย ส่วนสุขในธรรมนั้นประเสริฐนัก เพราะเป็นของจริง ติดใจเราไปได้ (กรรมดี) ทั้งขณะยังไม่ตาย และเมื่อตายแล้ว (ดูข้อ ๔๖ ประกอบ)

    ๕๑. โลกีย์มีเกิด - ดับ และสังขารแปรปรวนอยู่เป็นนิจ (จิตไม่เสมอเหมือนโลกุตระ) โลกีย์จึงมีขึ้น ๆ ลง ๆ มีทั้งกุศลและอกุศลอยู่เสมอ

    ๕๒. ผู้เห็นทุกข์จริง ย่อมอยู่เหนือทุกข์ เพราะชำนาญในการใช้สมถะและวิปัสสนาภาวนา ในสัทธรรม ๕ (เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความปรารถนาไม่สมหวัง) จึงยกจิตออกจากกายและเวทนาได้ ว่ากายคือกาย เวทนาคือเวทนา จิตคือจิต ไม่เกี่ยวกันด้วยปัญญา จึงมองเห็นทุกข์ได้ชัดเจนว่า ทุกข์เป็นของปกติของกาย เวทนา (สุข - ทุกข์) ต่างก็ทำหน้าที่ของตนไปตามปกติของกาย จิตมองเห็นทุกข์ของกายด้วยปัญญา จิตไม่ยอมหลงยึดว่ากายนี้เป็นเราเป็นของเรา จิตในขณะนั้นจึงพ้นทุกข์ได้ เลยมีความสุข เพราะอยู่เหนือทุกข์ มองเห็นทุกข์กายดุจมองเห็นบ้านที่กำลังไฟไหม้ แต่เจ้าของบ้านไม่ร้อน ไม่ทุกข์ เพราะยืนอยู่นอกบ้านที่กำลังไฟไหม้ นี่คือพุทธพจน์

    ๕๓. จะชนะมารต้องอาศัยภาวนา เพื่อระงับนิวรณ์เพราะมารอาศัยอยู่กับใจ เป็นมากภายใน มันสิงใจอยู่จึงแก้ยาก ส่วนมารภายนอกแก้ง่ายมากกว่า เพราะเพียงเราไม่สนใจในมันเสียก็พ้นแล้ว (สำรวมอินทรีย์หรืออายตนะ) พระองค์แนะให้ใช้อริยมรรค ๘ เริ่มด้วยปัญญา คือ สัมมาทิฎฐิ มรรค ๘ ย่อเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เดินตามพระองค์ ไม่มีทางพลาดจากความเป็นพระอริยะ

    ๕๔. วัฎฎโก โลโก เท่ากับโลกหมุนวน หาที่สุดมิได้ (ไม่เที่ยง) เดี๋ยวรัก เดี๋ยวชัง (ยามรักน้ำต้มผักว่าหวาน ยามชังด่าทั้งวัน) เดี๋ยวสุข - เดี๋ยวทุกข์ ไม่แน่นอน เดี๋ยวยิ้มหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ โลกจึงเป็นละคร เมาอยู่เป็นนิจ เพราะคนในโลกประมาท ไม่ชอบสร้างความดี ชอบทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว ใจจึงชินต่อความชั่ว ซึ่งร้อนด้วยไฟเผาใจ (ราคะ โทสะ โมหะ) ตรงข้ามกับธรรมะ ซึ่งเป็นของเย็น ใช้ดับไฟที่เผาใจได้อย่างดี แต่คนส่วนใหญ่ประมาทไม่ค่อยเชื่อพระองค์ โลกจึงร้อน เป็นทุกข์ วนเวียนอยู่อย่างที่เห็นทุกวันนี้ เพราะโลกมีอวิชชาเป็นใหญ่

    ๕๕. โมกขธรรม หรือธรรมที่ทำให้พ้นโลก พ้นทุกข์ พ้นวัฎฎะ พ้นจากความตาย คือ เต สัง วู ปะสะโม สุโข (การระงับความเกิดเสียได้อย่างแท้จริง เป็นสุดยอดของความสุข เท่ากับนิพพาน) พระองค์ให้หัวใจพระพุทธศาสนาไว้ ๓ ข้อ (โอวาทปาติโมกข์) คือ ให้ละชั่ว ให้ทำแต่ดี ให้ทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอและแนะวิธีปฏิบัติไว้ชัดแจ้ง คือ อริยมรรค ๘ (ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา)

    ๕๖. เมื่อไร้ความจริงแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์มี ณ ที่ไหน ท่านหมายถึงพูดไม่จริงหรือโกหก ข้อนี้ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดก็ตามที่มีเจตนาโกหกผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้นั้นไม่มีความชั่วใด ๆ ที่เขาจะทำไม่ได้”

    ขอวิจารณ์ว่า

    ดี - ชั่ว - สุข - ทุกข์ บุญ - บาป นรก - สวรรค์ - นิพพาน ล้วนมาจากความคิดทั้งสิ้น หรืออยู่ที่มโนกรรม เพราะ “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ (ประเสริฐสุด) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ” ทุกอย่างเริ่มต้นที่ใจ มาจากใจ ใจเป็นนาย วาจาและกายเป็นบ่าว โลกมนุษย์จึงเป็นที่ชุมนุม หรือที่ประชุมใหญ่เป็นแดนกลางระหว่างทางไปแห่งความดีและความชั่ว (ดูข้อ ๓๗)

    ๕๗. ใจที่ไม่มีธรรมอยู่ย่อมเป็นทุกข์ เพราะจะตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม สร้างแต่ความทุกข์ให้ตนเอง (เป็นภัย, เป็นยาพิษ, เป็นของเหม็น, เป็นขี้, เป็นความชั่ว, เป็นบาป - อกุศล, เป็นไฟนรกเผาใจตนเอง ส่วนธรรมเป็นมรรค เป็นเครื่องประพฤติ - ปฏิบัติ ข่มมานะทิฐิที่กั้นขวางความดีไว้ให้หมดไป (ข่มมิจฉาทิฎฐิให้เป็นสัมมาทิฎฐิ) หักวงล้อของวัฎแห่งความชั่ว ด้วยอริยมรรค (คล้าย ๆ ข้อ ๒๘)

    ๕๘. ผลไม้ย่อมออกผลตามฤดูกาล เมื่อยังไม่ถึงเวลา (ฤดูกาล) ก็ยังไม่ให้ผล สิ่งนี้เป็นธรรมที่ลึก ต้องคิดพิจารณา จึงจะเกิดปัญญา เหมือนผลไม้ไปเร่งมัน นอกเวลาที่มันจะให้ผล ย่อมเป็นทุกข์หรือสูญเปล่า หรือได้ไม่คุ้มเสีย เพราะฝืนธรรมชาติ ฝืนกฎธรรมดาของมัน ธรรมะก็เช่นกัน บางคนหลงมากที่ไปแบกอารมณ์พระอรหันต์ พระอนาคามีไว้ แล้วทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ก็เกิดท้อแท้ใจ หมดกำลังใจ เป็นต้น หรือจะคิดว่า การเกิดมาเป็นคน เป็นมนุษย์ เหมือนเขาให้มาค้าขาย หากประมาทอวดดี ไม่เชื่อผู้รู้ คือ (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ก็ขาดทุน หากโชคร้ายเพราะประมาทเป็นเหตุ ก็ต้องล้มละลายกลับไปอยู่นรกใหม่ ต้องใช้เวลาอีกนานแสนนาน กว่าจะได้กลับมาทำการค้าใหม่ ข้อนี้มีธรรมย่อ ๆ ในข้อ ๔๑

    ๕๙. ดับภพทั้ง ๓ ได้ที่ใจแห่งเดียว เพราะธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด (เป็นใหญ่) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ กิเลสทุกตัวอยู่ที่ใจ เกิดที่ใจ จึงต้องดับที่ใจ มารก็คือกิเลส มันตัวเดียวกัน ใช้อริยสัจหาเหตุให้พบ แล้วก็ดับเหตุนั้นเสีย

    พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ธรรมะวาทะ

    จาก : หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    เกี่ยวกับเรื่อง ทาน ศีล ภาวนา และปัญญา (หรือปฏิบัติบูชา)

    line1.jpg


    หมายเหตุ ภาวนา หมายถึง สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งทำให้เกิดปัญญา และในการปฏิบัติจะต้องปฏิบัติไปด้วยกัน เพราะเป็นธรรมที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน คือ พัก (สมถะ) กับ เพียร (พิจารณาหรือวิปัสสนา)

    ๑. ศีลเป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งปวง ธรรมใดตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่เสื่อม (ศีล คือแม่ของพระธรรม เท่ากับศีลเป็นมารดาของพระพุทธศาสนา)

    ๒. ศีล ระงับความคะนองทาง กาย วาจา สมาธิ ระงับความคะนองทางใจ ปัญญา ทำอาสวะให้สิ้นได้

    ๓. ศีลมีอยู่แล้วในตน ไม่ต้องไปขอ คน ที่ไปขอศีล คือ คนจนเพราะศีลอยู่ที่เจตนางดเว้นจากการทำชั่ว มีศีลตัวเดียว จิตยกเว้นทั้ง ๕-๘-๑๐-๒๒๗

    ๔. อาทิตตปริยายสูตร พระองค์ตรัสไว้ความว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นของร้อน ร้อนเพราะความกำหนัด ความโกรธ ความหลง ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบ ความโศกรำพัน เสียใจ คับแค้นใจ คิดไม่สมหวัง ขอสรุปว่า ร้อนที่ใจคิด (ชั่ว) ร้อนเพราะไฟภายใน ๓ กอง (ราคะ โทสะ โมหะ) หากใช้ธรรมซึ่งเป็นของเย็น ดับไฟภายใน ๓ กองได้ ใจก็พ้นทุกข์

    ๕. อย่าจับปลานอกสุ่ม ข้าพเจ้าให้ข้อคิดว่าหมายถึง

    ก) อย่าหาบุญนอกพุทธศาสนา (ไม่ยึดสิ่งอื่นนอกจากพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง)

    ข) อย่าทำตนเป็นคนที่ถือมงคลตื่นข่าว ใครว่าที่ไหนดีก็เฮไปที่นั่น โดยขาดปัญญา

    ค) อย่าส่งจิตออกนอกกายกับใจตน เพราะพระองค์สอน ๘๔,๐๐๐ อุบาย ก็ใช้แค่กายกับจิต ไม่พ้นไปจากนี้ ทุกคนต่างก็มีกายและจิต จึงมีพระธรรมหรือตู้พระไตรปิฎกอยู่แล้วไม่ต้องไปหาที่ไหนมาเพิ่มอีกอย่าไปยุ่งกับตู้พระธรรมของคนอื่น (อย่ายุ่งเรื่องของชาวบ้านหรือผู้อื่น) ทั้ง ๓ พวกนี้ ต้นเหตุเพราะจิตเป็นมิจฉาทิฎฐิ จึงเหมือนคนที่ไล่ตะครุบเงาตัวเอง

    ๖. การทำสมาธิ คือ การหยุดใจ หรือระงับใจจาก รัก โกรธ หลง เหมือนคนที่กำลังวิ่ง ย่อมเห็นอะไรไม่ถนัด ต้องหยุดวิ่ง และเพ่งสิ่งที่ต้องการจะเห็น จึงจะเห็นถนัดชัดเจน

    ๗. สมถะ รักษาอารมณ์ใจให้หยุดวิ่งและรวมเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นใจอันเดียวแล้ว ใจจะมีกำลังสูงมาก ทำสิ่งใดก็จะสำเร็จ วิปัสสนา คือ ตัวปัญญา ถอนกิเลส ค้นหากิเลสได้ แล้วทำลายด้วยไตรลักษณ์ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดถือ

    ๘. ไตรลักษณ์ เป็นตัวกรรมฐานใหญ่ แก้กิเลสได้ทั้งปวง ชนะกิเลสทุกชนิดในสงครามภายในใจ สามารถฟอกจิตใจ, บำรุงสติให้แก่กล้า พระโยคาวจรต้องไม่ทิ้งไตรลักษณ์

    ๙. จิตดื้อ ให้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอเริ่มปฏิบัติก็ให้พิจารณาเลย พวกจิตสะดวก ใช้สมาธิ อบรมปัญญา (จิตดื้อเพราะฟุ้งซ่าน)

    ๑๐. คนที่เป็นบ้านั้น เพราะถือนิมิตเป็นของจริงจัง ไม่เห็นว่านิมิตนั้นเป็นไตรลักษณ์ สมาธิใดที่ไม่มีปัญญากำกับ ทำให้เป็นบ้า และติดสุขในฌาน

    ๑๑. นิรามิสสุข เป็นสุขที่ละเอียดอ่อน เกิดจากความสงัดกาย วาจา และ ใจ โดยปราศจากเครื่องล่อเพื่อให้หลง จึงเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ปุถุชนพบแต่อามิสสุข ซึ่งเป็นสุขในโลก ไม่เที่ยงต้องใช้เครื่องล่อเช่นโลกธรรม ๘, กามสุข (กามฉันทะ) และมีผลเป็นทุกข์ในที่สุด คนธรรมดาไม่มี บางคนอาจพบนิรามิสสุขก็รู้แต่เหตุและผลนั้น คือ รู้แค่สัญญา

    ๑๒. ยังติดนิมิตดี - ชั่วอยู่ เพราะเดินมรรคยังไม่พอ, วิปัสสนาอ่อนกิเลสจึงไม่หมด

    ๑๓. ถ้ายังยินดี ยินร้ายในร่างกายอยู่ เห็นกายยังเป็นกายอยู่ แสดงว่าเดินมรรคผิดทาง ทางที่ถูกต้องเห็นร่างกายเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นสันตติ เป็นไตรลักษณ์ เข้าหาอริยสัจ อันเป็นของจริง (คือ เห็นกายเป็นกองทุกข์)

    ๑๔. ให้พิจารณาในปัจจุบัน ทบต้น ทบปลาย ละอดีต ละอนาคต พิจารณาปัจจุบันธรรมจึงจะแจ่มแจ้ง

    ๑๕. ให้พิจารณากาย อย่าติดหนัง ให้ลงถึงฐาน จึงจะถอนมิจฉาทิฎฐิของจิตได้ ถ้าจิตยังยินดีในรูป หนัง สัณฐานแล้ว ผิดอริยสัจ ๔ ผิดมรรค

    ๑๖. อย่าติดรสอาหาร ให้มักน้อยจริง ๆ ในอาหาร จิตจึงจะเป็นไปได้ดี ถ้ายังยินดีในโลกธรรม ในวาระจิตใด วาระจิตนั้นต้องเสียเพราะติดอามิส

    ๑๗. จิตต้องให้พักในสมาธิ พอออกจากสมาธิ ต้องให้คิดพิจารณาจึงจะรู้ คือ เกิดปัญญา โดยเพ่งอยู่แค่กายกับจิตของตน อย่าส่งออก

    ๑๘.พระอนาคามีถึงพระอรหันต์ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ แต่อนาคามียังมีปัญญาน้อย จึงตัดสังโยชน์เบื้องบนไม่ขาด ต้องไปบำเพ็ญต่อข้างบนชั้นสุทธาวาส

    ๑๙.สัทธรรม ๕ มีมรรคอยู่ในตนแล้วทุกคน เมื่อเรารู้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีอยู่ในตัวของเขาแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมรรค หากเราเดินมรรคจนเกิดผล ก็เป็นนิโรธ เมื่อตัณหาดับจึงเกิดความรู้จริง เป็นปัญญาเรียกไตรลักษณ์ สิ่งนี้ข้อนี้เป็นของลึกลับในคัมภีร์ ต้องพิจารณาให้บ่อย ๆ จะมีผลดี ให้ดูตั้งแต่ในครรภ์จนกระทั่งถึงตาย

    ๒๐.ไตรลักษณ์ห้ามสังขารได้ ทำให้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวงทำให้สิ้นกิเลสได้ จึงต้องภาวนาไตรลักษณ์ให้มาก แก้ได้ทั้งรูปธรรม นามธรรม แต่ให้เข้าหาอัพยากฤตธรรมจึงจะเป็นมรรคที่ถูก

    ๒๑. ภาวนาต้องไม่หนีจากกาย ใช้กายเป็นหลัก เพราะกายคตานุสติ คือ มหาสมุทรแห่งธรรม โดยใช้ไตรลักษณ์ให้จิตบังคับกิเลสถอยจากใจ และทรงอยู่ในไตรลักษณ์จนถึงนิพพาน

    ๒๒. บ้านิมิต พอภาวนาจนถึงอัปนาสมาธิแล้วเกิดนิมิตละเอียดกับญาณทัศนะ ซึ่งเป็นธรรมขั้นละเอียด หากจะให้นิมิตหายไป ก็ทำได้โดย

    ก) ไม่สนใจในนิมิตนั้นเสีย (ไม่ต้อนรับ)

    ข) เพ่งไตรลักษณ์ ล้างนิมิตก็หาย

    ค) วางเจตนาก็หายวิตก วิจาร นิมิตทั้งหลายหายไป เหลือแต่อำนาจของสมาธิอย่างเดียว

    ง) อาจารย์มั่น ใช้วิธีทวนกลับเข้าจิตเดิม (ข้าพเจ้าเข้าใจว่า คือ เลิกสนใจนิมิต ให้กลับมาสนใจผู้รู้อย่างเดียว คือ ผู้ที่ไปรู้ว่าเกิดนิมิต หรือสนใจแต่ใจ อย่าสนใจสิ่งอื่นที่อยู่นอกใจ หรืออารมณ์ต่าง ๆ ที่ออกจากใจ)

    จ) อย่าไปอธิษฐานนิมิตนั้น ๆ ว่าเป็นของดี ให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง มันก็หายไปเอง ให้เห็นว่าเป็นธาตุ ๔ มันก็หายไปเอง ไม่เช่นนั้นอาจเป็นบ้าไม่หาย เช่น (พวกบ้าหวยเห็นนิมิตทุกคืน)

    ๒๓. ภาวนาไตรลักษณ์ทุกขณะจิต ทุกอิริยาบถ ด้วยความไม่ประมาท อะไรเกิดขึ้นก็ดับมันเสียตรงนั้น ความไม่เที่ยงจึงเป็นธรรมเทศนาสำคัญมาก เพราะเป็นสัจธรรมที่แสดงอยู่ตลอดเวลาในโลก ในขันธโลก ไม่หยุดยั้ง แสดงธรรมอยู่เช่นนั้น ทุกสิ่งในโลกจึงต้องเอาไตรลักษณ์เข้าไปฟอกให้รู้แจ้งเห็นจริง

    ๒๔. พุทโธอยู่เสมอจนชำนาญ ผล

    ก) ไม่มีนิวรณ์ออกไปจากจิต

    ข) มีรังสีหรือฉัพพรรณรังสีของพระองค์อยู่รอบ ๆ จิต

    ค) ป้องกันความกลัว, ผี, คนร้าย, สัตว์ร้าย, คุณไสยได้ดี

    ง) ช่วยชำระฟอกใจให้สะอาด (จิตผ่องใสอยู่เสมอ จึงไม่ตกนรก)

    จ) ใครควบภาวนาพุทโธ+มรณานุสติ และอุปสมานุสติก็ถึงนิพพาน

    ๒๕.หวงสังขาร (ร่างกาย) เท่ากับหวงทุกข์ เท่ากับหวงขี้ ถ้าปล่อยมันเสียก็เป็นสุข

    ๒๖. ดอกบัวสวยงามย่อมเกิดจากตม ธรรมชาติสวยงามล้วนเกิดจากของไม่ดีไม่สวยก่อนทั้งสิ้น หรือ สุภะ เกิดจากอสุภะ ดังนั้น ธรรมวิเศษทั้งหลาย เราก็ต้องพิจารณาออกจากกายอันสกปรก - เน่าเปื่อยนี้เช่นกัน (หรืออุบายวิปัสสนาทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยกิเลสเป็นครูผู้ทดสอบทั้งสิ้น ไม่มีกิเลสเราก็ไม่มีทางรู้ว่า เราหมดกิเลส เหมือนพระเทวทัตเป็นผู้ทดสอบอารมณ์ให้พระพุทธเจ้าทุก ๆ ชาติ เท่ากับเอาประโยชน์จากสิ่งที่คนอื่นเขาว่าไม่มีประโยชน์ เท่ากับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ในโลกนั้นไม่มี เพราะเรายังหาประโยชน์ของมันไม่พบ เราก็เลยคิดว่ามันไม่มีประโยชน์) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้บันทึกซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น

    ๒๗. ใจไม่ห่วงกาย ทำให้รวมง่าย เบื้องต้นต้องผิดมาก่อนทุกคน แม้พระพุทธเจ้า ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุ จึงต้องเห็นและรู้เหตุก่อน, โลกธรรม ๘ แก้ด้วยมรรค ๘ มรรค ๘ พระองค์จึงสอนให้ทำให้มาก ๆ , เจริญให้มาก ๆ พิจารณาให้มาก ๆ

    ๒๘. คนพาลมีลักษณะดังนี้ ถือตัว, ทะนง (ถือ) ตน, ถือดี, ถือชั่ว, ถือตัณหา, ถือสิ่งไม่จริง, ถือความไม่เที่ยง, เศร้าโศกอยู่เป็นนิจให้ไหม้หัวใจอยู่เป็นนิจ, จุดไฟเผาตัวเองอยู่เป็นนิจ, ร้อนอยู่เป็นนิจ, แบกหามขันธ์ ๕ อยู่เป็นนิจ สรุปสั้น ๆ ว่า คิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่ว

    ๒๙. จิตรวมใหญ่ การคิดพิจารณากายด้วยไตรลักษณ์ จนชำนาญถึงที่สุด จิตจะทำงานเองและรวมใหญ่ เห็นทุกอย่างในโลกรวมกันเป็นหนึ่ง (แบบจิตมันรวมเป็นหนึ่ง) โลกจึงเป็นแต่ธาตุทั้งสิ้นและเกิดนิมิตว่า โลกมันราบเป็นหน้ากลอง เพราะมันกลายเป็นสภาพอันเดียว

    ๓๐. เจริญกายคตานุสติจนชำนาญ ด้วยไตรลักษณ์ จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อทุก ๆ อวัยวะของกาย จนเกิด วิราโค เท่ากับสำรอกออก ไม่ยินดีในกามและกามสัญญาอีก จิตจึงจะถึงความเกษม

    ๓๑. อรหันต์ แปลว่า ไม่เป็นของลี้ลับ ท่านเป็นผู้เปิดเผยเพราะความลับในโลกไม่มี มนุษย์ไม่เห็น แต่เทวดาเห็น ปิดความชั่วไม่ได้ ธรรมไม่ปิดบังเหมือนกิเลส แสดงธรรม แสดงตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ใครตบแต่งสังขารหรือกาย จึงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง สมหวังก็ทุกข์ ไม่สมหวังก็ทุกข์ เพราะสังขารไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (หากวิจารณ์แบบอสุภะ ก็คือ ผู้ใดแต่งตัวมาก คนนั้นสกปรกมาก จึงพยายามปกปิดความสกปรกของตน เพราะท่านเปรียบกายเหมือนกับส้วมเคลื่อนที่ จะแต่งกันขนาดไหน มันก็ยังเป็นส้วมอยู่ดี)

    ๓๒. สุข - ทุกข์ บุญ - บาปอยู่ที่คิด พระอริยะท่านจึงไม่ยินดีในการอยู่และไม่ยินดีในการตาย ไม่เจ็บท่านก็ว่าดี เจ็บท่านก็ว่าดี ทำให้เห็นทุกข์ จะได้ไม่ประมาทในความตาย เพราะท่านคิดแต่แง่ดี อันเป็นบุญเป็นกุศลฝ่ายเดียว ส่วนพวกปุถุชนมักคิดตรงข้ามกับท่าน จึงวิ่งเข้าหาทุกข์, เข้าหาบาป - อกุศล จิตเศร้าหมอง (เป็นกิเลส) จุดไฟเผาตนเอง ทำร้ายตนเองอยู่เป็นปกติ เพราะความโง่ไม่เห็นอริยสัจตามความเป็นจริง เท่ากับยังเป็นคนพาลตาม ข้อ ๒๘

    ๓๓. ฝ่ายโลกถือสุขกายเป็นใหญ่ ฝ่ายธรรมสุขใจเป็นใหญ่ เพราะรู้อริยสัจตามความจริงว่า ร่างกายนี้มันเป็นเพียงแค่ ธาตุ ๔ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจริง ๆ คือจิต หรือ อทิสมานกายที่อาศัยขันธ์ ๕ อยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ฝ่ายโลกเข้าใจผิดจึงยึดเอาตัวปลอม (เงา) ว่าเป็นตัวจริง บำรุงบำเรอมัน แล้วทรมานตัวจริง(จิต) ขาดเมตตาตัวเอง ทำร้ายตนเอง เผาตนเองตลอด พอกายแตกดับไป ตัวจริงต้องไปรับผลกรรมที่ทำไว้ ตัวปลอมไม่ต้องไปรับ คงเป็นแค่ธาตุ ๔ อยู่กับโลกต่อไป

    ๓๔.จิตวิปัสสนาก็เพื่อให้รู้เท่าทันสังขาร ไม่ติด ไม่หลงในสังขารจนเกิดเบื่อหน่าย ไม่ติดในธาตุ ในขันธ์ทั้งหลาย บริสุทธิ์ด้วยไตรลักษณ์

    ๓๕. จะแก้จิต ฝึกจิต ต้องเห็นจิตก่อน อริยสัจจึงเป็นอาการของจิตที่ไปเห็นอสุภะของตนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง จิตจะไม่หลง ไม่พลิก เพราะเห็นจริงด้วยปัญญาอันยิ่ง (เห็นธรรมเท่ากับเห็นอริยสัจ) ปัญญาของพระองค์จึงมุ่งให้เราเห็นจริงเฉพาะเรื่องของกาย (ขันธ์ ๕) กับจิต ไม่ไปยุ่งเรื่องนอกกาย ให้รู้แค่นี้พอ รู้แค่นี้ก็พ้นทุกข์ได้ (พ้นวัฏฏะ) ให้รู้เรื่องของสมาธิว่า ลักษณะของสมาธิ เป็นที่พักของจิตชั่วคราว พักให้จิตมีกำลัง แล้วออกไปทำปัญญาวิปัสสนา ตัดกิเลสซึ่งสิงอยู่ในใจต่อ จนกว่าจะสิ้นกิเลส ให้รู้ธาตุของเก่า อย่าหลงของเก่า ให้รู้จักสมมุติ รู้จักอาการ ๓๒ ว่าเป็นของเก่า

    ๓๖. เรื่องความเพียร พระองค์ตรัสว่า “ธรรมทั้งหลายสำเร็จได้ด้วยความเพียร (ถ้าจะเพียรให้ตรง ควรเพียรตามมหาสติปัฎฐาน ๔, อิทธิบาท ๔, สัมมัปปทาน ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรค ๘) เมื่อเพียรตามนี้ จิตจะเปลี่ยนสภาพไปเรื่อย ๆ ด้วยสมถะ และวิปัสสนา จนเกิดผล ผลเกิดเมื่อใดจิตจะรู้เองและรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) แต่จงอย่าลืมไตรลักษณ์ เพียรตามโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดนี้ จัดเป็นสัมมามรรค ถึงแล้วจะรู้เอง

    ๓๗.สัมปยุตด้วยญาณ รู้กลาง ๆ คือ รู้อยู่ระหว่างสมมุติกับวิมุติ สมมุติก็รู้เท่า วิมุติก็รู้ทัน (ไม่หลงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในระหว่างที่ยังทรงขันธ์ ๕ อยู่) สมมุติเป็นฝ่ายโลก วิมุติเป็นฝ่ายธรรม พระองค์ตรัสว่า "เมื่อเรายังอยู่ในโลก ยังต้องอาศัยโลก (โลกทั้งโลกมีแต่สมมุติทั้งสิ้น) ก็จงอย่าขวางโลก” ต้องไม่ลืมพุทธพจน์ข้อนี้ เรื่องของตัวไม่ยึดมั่นถือมั่น หรืออุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ถึงแล้วรู้เอง เพราะ“พระธรรมเปรียบประดุจหนึ่งแพ พยุงเราไว้ไม่ให้จมน้ำตาย พาเราไปให้ถึงฝั่ง เมื่อถึงฝั่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วย”ถึงแล้วจึงจะรู้ได้ด้วยตนเองทุกคน

    ๓๘. วิธีตัดขันธ์ ๕ (ข้อนี้ได้จากการสนทนาธรรมในวันนี้) เพื่อนสนทนาธรรมท่านหนึ่งเล่าว่า ท่านไม่เข้าใจวิธีตัดขันธ์ ๕ แต่พอเหลือบไปเห็นชายคนหนึ่งโยนขยะทิ้งลงไปในถัง ท่านก็เข้าใจทันที คือ ต้องมีกำลังใจพอ บวกด้วยปัญญา มองให้เห็นโทษ เป็นทุกข์ เห็นความสกปรก เห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย ซึ่งเราอาศัยมันอยู่ชั่วคราวนี้ แล้วก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่า นับแต่นี้ไปเราจะไม่ขอคบกับมันอีกแล้ว ก็ตัดขาดจากมัน ด้วยกำลังใจในขณะนั้น เหมือนกับโยนขยะนี้ที่ไม่ต้องการทิ้งถังขยะ โดยไม่อาลัยไยดีกับขณะนั้นอีกต่อไป พอตัดใจได้ก็ตัดขันธ์ ๕ ได้ทันที ผลก็คือมีสภาพคล้ายหมดความรับรู้ทุกอย่าง ไม่ได้ยินเสียงเทปที่สอนอีก ทำให้สงสัยว่าตนเองหลับไปในช่วงนั้น แต่พอเทปหมดม้วนก็รู้สึกตัวทันที จบพอดี เป็นเช่นนี้ทุกครั้ง เราจึงเข้าใจว่าไม่ได้หลับ แต่จิตเข้าสู่ฌาน ๔ ลึก โดยฉับพลัน จึงไม่ได้ยินเสียงเทป จิตแยกจากกาย ๑๐๐% ในช่วงขณะนั้น จึงมีสภาพเหมือนไม่มีกาย คล้าย ๆ คนหลับแต่ไม่หลับ เพียงแต่ไม่รับรู้เรื่องของกายเท่านั้น จิตทรงอยู่ในฌาน ๔ ละเอียดตลอดเวลาที่เทปทำงาน พอเทปหมด จิตก็รู้เองโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับ ร.๙ ที่ท่านทรงใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงแนะนำให้เขาทรงความดีนี้เอาไว้ เพราะหาบุคคลที่จะทำได้ยาก หากฝึกต่อไปจะฝึกจิตให้ก้าวหน้าไปได้อีกอย่างอัศจรรย์

    ๓๙. ผู้ภาวนาโดยมุ่งเอาแต่สมาธิอย่างเดียว ย่อมเกิดมีนิมิตต่าง ๆ หลอกอยู่เรื่อย ๆ จากอุปจารสมาธิ มีอุคหนิมิต ทำให้เป็นบ้าได้ แต่หากเอาวิปัสสนาควบไว้เสมอ ย่อมไม่เกิดนิมิต เพราะมีไตรลักษณ์ล้างอยู่เสมอ เลยรู้เท่าทันนิมิต

    ๔๐.ทรมานกายด้วยปฏิภาคนิมิต และอุคหนิมิต นั้นต้องทำให้ชำนาญและแจ่มแจ้ง จึงจะถอนอุปาทานขันธ์ ๕ (เกิดนิพพิทาญาณในขันธ์ ๕)

    ๔๑. ทรมานธรรม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ให้ละด้วยไตรลักษณ์อย่างเดียว เพราะเป็นขั้นละเอียด

    ๔๒. วิปัสสนู สัญญาวิปลาส เกิดนิมิตจากสมาธิ เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จึงทิ้งไตรลักษณ์ไม่ได้ เพราะนิมิตมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันก็หายไปเอง จงอย่าถือว่านิมิตเป็นของดี นิมิตมันเกิดแล้วก็ดับ มันไม่จริงเหมือนอริยสัจ ซึ่งไม่เกิดไม่ดับ เพราะเป็นสัทธรรม ใครที่เป็นบ้าเพราะนิมิตแล้วแก้ได้ ผู้นั้นฉลาดและกล้าหาญมาก และมีปาฏิหาริย์ได้หลายอย่าง แปลกกว่าผู้ที่ไม่เคยเป็นบ้า (ผู้ไม่เคยบ้าเพราะนิมิต จึงสู้พวกเคยบ้ามาก่อนไม่ได้)

    ๔๓. ต้องรู้เท่าทันกิเลส (เห็นกิเลสได้) จึงจะละกิเลสได้ ข้อนี้ก็หมายถึงเราจะละความชั่ว (กิเลส) ได้ เราจะต้องรู้ ต้องเห็นความชั่ว (กิเลส) ที่ใจของเราก่อน ตามที่เขียนไว้ในเรื่องนางมาติกมาตา ในศิษย์บันทึกเล่มที่หนึ่ง

    ๔๔. ติดธาตุต้องแก้ธาตุ เป็นธรรมที่ไม่ตาย เท่ากับหนามปักต้องเอาหนามบ่ง เท่ากับเอาตัณหามาดับตัณหา เท่ากับเอากิเลสมาแก้กิเลส เท่ากับไฟเกิดที่ไหนต้องดับที่นั่น เท่ากับคันที่ตรงไหน ต้องเกาที่ตรงนั้น (ปักแปลว่าตำ)

    ๔๕. ไตรลักษณ์แก้ได้ครอบจักรวาล เจริญไตรลักษณ์ไว้ลบล้างมานะได้ทุกอย่าง (มานะทิฐิ) ทั้งภายนอก ภายใน ทั้งภพน้อยใหญ่ ทั้งไตรภพและวัฏฏสงสาร (จิตพ้นนั้น ไม่มีไตรลักษณ์เข้าไปเกี่ยวข้องของจิต)

    ๔๖. นอนไม่หลับ เท่ากับเป็นบ้าในสังขาร แต่งสังขาร หรือจิตมันปรุงแต่ง ซึ่งความจริงก็คือไตรลักษณ์ (ขอวิจารณ์ว่าให้ใช้ข้อ ๔๔ แก้ ให้มันปรุงดีหรือฟุ้งดีเสียก็หมดเรื่อง) บุญ - บาป, สุข - ทุกข์ อยู่ที่ความคิดตามข้อ ๓๒ ให้กลับมาคิดดีเสียตามมหาสติปัฎฐาน ๔ หรือ กรรมฐาน ๔๐ ก็จบเรื่อง

    ๔๗. จิตวิบัติก่อน จึงรู้ธรรมเห็นธรรมต่าง ๆ ได้ เท่ากับต้องพบทุกข์ เห็นทุกข์ด้วยใจตนเองก่อน จึงจะเห็นธรรมได้ ดังนั้นมารหรือกิเลสจึงเหมือนเป็นครูของเรา หากไม่มีกิเลสก็ไม่มีครูผู้ทดสอบอารมณ์ของเรา เหมือนพระพุทธเจ้า หากไม่มีท่านเทวทัตทดสอบอารมณ์ ก็คงเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้

    ๔๘. พิจารณามรณานุสติบ่อย ๆ เป็นของดี เท่ากับเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในความตาย เท่ากับผู้ไม่มีความประมาท มีชีวิตแค่ราตรีเดียว ยังดีกว่าผู้ที่ประมาทที่มีอายุอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี (ข้อ ๓๘) การฝึกจิตให้เข้าสู่อารมณ์แห่งความตายนี้สำคัญมาก ทำอยู่บ่อย ๆ ทุกวัน จิตจะชินเป็นฌานในมรณานุสติ ผู้ฉลาดให้บวกอุปสมานุสติไปด้วย คือ หากตายไม่ขอเกิดอีก ขอไปนิพพานจุดเดียว (เป็นการฝึกจิตให้สู่อารมณ์พระนิพพานโดยตรง) หากตัดอวิชชาไปด้วย คือ ฉันทะกับราคะในเทวโลกและพรหมโลกด้วย ก็สามารถจบกิจได้ในเวลานั้น (ในชั่วขณะจิตนั้น) (ข้อนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า)

    ๔๙.อำนาจของไตรลักษณ์ที่เต็มกำลัง ทำให้เห็นธรรมแสดงโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่างไม่ขาดระยะ จิตไม่เที่ยง ไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบตามกิริยาของกิเลสอีก จิตอยากเข้าสู่อมตะธรรม โดยวางโลกโลกีย์ ด้วยกำลังของไตรลักษณ์

    ๕๐.อย่าสับสน โรคทั้งหลายเกิดในกาย กิเลสทั้งหลายเกิดในจิต จงอย่าสับสน จนให้โรคเข้าไปกินใจได้ และให้กิเลสล้นจากใจออกมาวุ่นวาย สั่งให้กายทำตามกิเลส จึงต้องอาศัยปัญญา พิจารณาธาตุ ให้รู้แจ้งธาตุ อย่าหลงธาตุ จนจิตหลุดพ้นจากธาตุ คือ อวิชชาตัณหา

    ๕๑.แสงธรรม - แสงแห่งปัญญา เดิมกายเปรียบเหมือนภูเขาทึบทั้งลูก เมื่อภาวนาไตรลักษณ์ไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดแสงสว่างแทงทะลุปรุโปร่งไปหมด กายเหมือนไม่มี มีก็เป็นเงา ๆ เท่านั้น อำนาจของแสงธรรมหรือแสงแห่งปัญญา เป็นความสว่างอยู่กับใจตลอด มองอะไรก็สว่างไปหมด สว่างอยู่ที่จิตดวงเดียว เป็นอัศจรรย์เด่นอยู่ในร่างกาย

    ๕๒.มรรคผลนิพพานมีจริง หากเดินตามมรรค ๘ ซึ่งเป็นทางเดินของพระอริยเจ้า แต่ต้องมีตบะ - ความเพียรอย่างยิ่ง เกียจคร้านไม่ได้ หากปฏิบัติธรรมให้ถูกกับมรรคแล้ว จะเกิดผลอัศจรรย์ปรากฏกับจิต ๑๐๘ โดยจิตไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน

    ๕๓.ติดดีก็เป็นทุกข์ เมื่อภาวนาถึงหลักอริยสัจ นิมิตแสดงออกมาเป็นร่างมนุษย์ที่บริสุทธิ์ ต้องน้อมนิมิตนั้นเข้าสู่ไตรลักษณ์ เพราะนิมิตนั้นจะเปลี่ยนแปร หลอกให้จิตพอใจ หลง และติดดี ต้องน้อมตัวติดดีเข้าสู่อริยสัจ คือ ติดดีก็เป็นทุกข์ เพราะความดีคือบุญก็ไม่เที่ยง ข้อนี้ก็สำคัญไม่น้อย, ตัวยินดีติดดีเท่ากับราคะ เป็นกามฉันทะ (ฉันทะกับราคะในอวิชชา คือ ยังโง่กว่ากิเลสอยู่นั่นเอง)

    ๕๔.กิเลสสิ้นไปเพราะ

    ก) กุศลธรรมทั้งหลาย ตั้งอยู่ในศีลแล้วไม่มีเสื่อม

    ข) กุศลธรรมทั้งหลาย มีสมาธิเป็นหัวหน้า

    ค) กุศลธรรมทั้งหลาย มีสติมีลักษณะเลือกเฟ้นธรรม

    ง) กุศลธรรมทั้งหลาย มีศรัทธาหยั่งลงสู่ไตรลักษณ์แล้วไม่มีเสื่อม

    จ) กุศลธรรมทั้งหลาย มีปัญญาพิจารณาตามไตรลักษณ์ ตัดกระแสของกิเลสอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไปได้

    ๕๕. (พุทธพจน์) ธรรมทาน จัดเป็นเลิศในทาน เพราะชนะอามิสทั้งปวง

    - รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง

    - ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

    - ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง

    ๕๖. ม้างกาย ให้ฉลาดด้วยการพิจารณากายด้วยไตรลักษณ์ ม้างอนุสัย ให้ฉลาดทางจิตทางเจตสิก แก้การเกิดกายด้วยไตรลักษณ์ (คือ การพิจารณาร่างกายและจิตใจด้วยอุบายอันฉลาด ด้วยไตรลักษณ์)



    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม



    ธรรมะจันทสาโรบูชา

    จาก : หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    ๑. ปุถุชนมีอารมณ์วนเวียนอยู่กับอารมณ์เท่านั้น ยังวางความรักและความชังไม่ได้ เหมือนกับพระอริยเจ้าทั้งหลายเพราะเหตุไม่รู้เท่าสังขาร (แห่งกายและจิต)

    ก) สังขารท่านคงหมายถึงร่างกายหรือขันธ์ ๕ อันประกอบด้วยกายกับจิต หรือรูปกับนาม (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือ

    ข) อารมณ์ปรุงแต่งของจิต (นาม) ซึ่งยังหวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ เพราะยังมองไม่เห็นทุกข์ตามความเป็นจริง หรือยังไม่เห็นอริยสัจ เท่ากับยังไม่เห็นธรรม

    ๒. ม้างกาย คือ การพิจารณาร่างกาย (กายคตานุสติ) โดยให้แยกกายออกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นความเกิด ความเสื่อม ความดับไปของกาย เพ่งพิจารณากายจนเกิดอุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต แล้วจึงดำเนินจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ ให้ใช้จิตหรือใช้ปัญญาผ่าอกตัวเอง เหมือนกับผ่าอกไก่ แยกเป็น ๒ ซีก ฉีกออกเป็นชิ้น ๆ สับมันเป็นท่อน ๆ เหมือนสับไก่ แล้วน้อมสิ่งที่เห็นเข้ามาที่ตัวเรา ต้องถีบ ต้องตบมันอยู่เป็นประจำบ่อย ๆ จนที่สุดก็จะเห็นมันเป็นกระดูก แหลกเป็นฝุ่นปลิวไปทั่ว เหลือแต่ผู้รู้อยู่อย่างเดียว

    ๓. จิตติดที่ไหนย่อมเกิดที่นั่น หากจิตติดบ้านเรือน อาจเป็นจิ้งจก ตุ๊กแกได้ แม้ภิกษุติดจีวร ยังไปเกิดเป็นเล็น กิเลสมันมี ๑๐๘ ประตู แต่พุทโธมีประตูเดียว หากสามารถรักษาประตูเดียวนี้ได้จนชำนาญ ก็สามารถเปลี่ยนภพ - ชาติได้ (ผู้ตายในอารมณ์หลงจะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน)

    ๔. ความผ่องใสเกิดจากธรรมะ (หมายความว่า เราดูคนดูกันที่หน้าและตา ใครมีธรรมะมีสุข - ทุกข์ มันจะแสดงออกมาที่หน้าตาชัดเจน)

    ๕. ความโศกเศร้า - เศร้าหมอง เกิดมาจากกิเลสของตน (มันก็แสดงออกมาได้ทางหน้าตาเช่นกัน และกิริยาของกิเลส มันทนอยู่ในใจไม่ได้นาน มันจะต้องแสดงออกมาให้เราเห็น ให้เรารู้จนได้ ทางวาจาหรือทางกาย ดังนั้นคนมีบุญ ไม่มีบุญ มีสุขมีทุกข์ มีวาสนาหรือไม่มี ผู้รู้ธรรมย่อมสังเกตได้ด้วยตาปัญญา) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นของข้าพเจ้าผู้บันทึก

    ๖. พระเถระ ไปเยี่ยมกัน ท่านใช้ญาณของจิต ไม่ต้องพูดกันอย่างคนธรรมดา ก็รู้สุข - ทุกข์คนธรรมดาต้องถามสุข - ทุกข์ จึงจะรู้ได้

    ๗. ใช้อานาปานุสติ (ธาตุลม) อันเดียว ขลังดี อย่าเอาธาตุอื่นเห็นอันเดียวก็เห็นหมด จิตมันขลังดี

    ๘. ให้นั่งคนเดียว ตัดสินใจว่าเราจะตายคนเดียว เกิดคนเดียวแก่คนเดียว ป่วยคนเดียว ไม่มีใครช่วยเราได้ ต้องช่วยตนเองตัดสินใจแบบนี้จึงจะเป็นกายวิเวกให้อาศัยธรรมะของพระองค์อย่างเดียว วจีวิเวก คือ ตอนพระเทศน์ห้ามคุยกันมโนวิเวก คือ หัวใจเปลี่ยว ว้าเหว่ (แต่ไม่ทุกข์) สงบอยู่ในปัจจุบัน ละอดีตและละอนาคต ซึ่งเป็นอารมณ์อันตราย จะชนะกิเลสต้องอยู่ในธรรมะปัจจุบัน

    ๙. พระอริยเจ้าทุกองค์ชนะกิเลสด้วยวิธี ๒ วิธี คือ สมถะ และวิปัสสนา

    ๑๐. ใครเห็นธรรม คนนั้นเห็นตถาคต ดังนั้น ถ้าเราเห็นกระดูกเท่ากับเราเห็นธรรม เท่ากับเราเห็นพระพุทธเจ้า

    ๑๑. วิปัสสนา ก็พิจารณาเข้าหาไตรลักษณ์ ว่าทุกอย่างในโลกนี้มันไม่เที่ยง แต่คำสอนของพระองค์ หรือพระธรรมนั้นเที่ยง เช่น รักษาศีล ถ้าทำได้แล้วก็เที่ยง เป็นอริยทรัพย์

    ๑๒. พุทโธ ๆ เป็นสมถะก็เที่ยง วิปัสสนาก็เที่ยงทำให้ฉลาดเห็นธรรมเห็นอวัยวะของกายมันเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งอยู่ในโลก (พระธรรมนั้นไม่เกิดไม่ตาย)

    ๑๓. อวัยวะหรือกายนี้ เรายืมเขามาใช้ชั่วคราว ไม่ทราบว่าเขาจะมาทวงคืนไปวันไหน ดังนั้น ต้องเอาธรรมของพระองค์สอนใจตนให้มากอย่าไปสนใจหรือยึดทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งเอาไปไม่ได้มันสอนใจไม่ได้ ต้องเอาพระธรรมสอนใจ เดินมรรคให้ถูกด้วยปัญญาเห็นชอบ ดำริชอบ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ย่อจากมรรค ๘

    ๑๔. วัฏฏะ วังวนหาต้นปลายไม่ได้ เรื่องผัว ๆ เมีย ๆ พบกันหลายชาติ ใครตายก่อนก็ร้องไห้ ร้องกันจนน้ำตามากกว่ามหาสมุทรทั้ง ๔ มีความทุกข์ร้อยแปด แต่มองไม่เห็น (น้ำตาของบรรดาพวกมนุษย์ทั้งหลาย หากเอามารวมกันจะมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔)

    ๑๕. การเกิดของคนและสัตว์ ต้องประกอบด้วย ๓ อย่าง คือ มีพ่อ - แม่ มีการผสมกันระหว่างน้ำอสุจิกับไข่ และมีวิญญาณธาตุเข้ามาสู่ด้วยอีกหนึ่ง ต้องทรมานอยู่ในมดลูก ๑๐ เดือน แบบนี้เป็นแสน ๆ ชาติ แต่ก็จำไม่ได้ ตอนเป็นเด็กแรกเกิด - เด็กเล็ก - เด็กโต - จนตายล้วนเป็นทุกข์ แต่ก็จำไม่เคยได้ จนกระทั่งพบพระธรรม (โมกขธรรม) ของพระองค์

    ๑๖. ชีวิตคนสั้นนิดเดียว จงอย่าประมาทในธรรม ให้รีบทำเสียระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตมันไม่เที่ยง แต่ความตายมันเที่ยง ใช้ปัญญาพิจารณากายให้เห็นอสุภะมันไหลออกมาเห็นกายแล้วเบื่อหน่าย เกิดนิพพิทาญาณ ราคะก็ไม่มี กำหนัดก็ไม่มี เอโกธัมโม ทำใจให้เป็นหนึ่ง จนเห็นกายเป็นอสุภะวิราโค แปลว่า ราคะมันสำรอก (ออกหมดเอง) ไม่ยินดีในเพศปุถุชน เท่ากับหินเพศ เท่ากับเพศต่ำ ซึ่งยังบริโภคกามอยู่ มีจิตต่ำยังชอบกาม เห็นกามเป็นของดี จึงต้องอยู่ในวัฏฏะตามข้อ ๑๔ มาอย่างหาที่สุดไม่ได้ ส่วนพระอริยท่านเห็นโทษ - เห็นทุกข์ชัดเจนแล้วจากกาม เห็นละเอียดจนถึงโทษของกามฉันทะในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ ที่ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจ (ธรรมารมณ์) เห็นความไม่เที่ยง - ความทุกข์ของกามได้ชัดเจน จึงรังเกียจกามและหาทางออกจากกามได้ด้วยปัญญาอันชอบ

    ๑๗. พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสันโดษ ความมักน้อย เป็นทรัพย์ของบรรพชิต พวกคฤหัสถ์ก็เหมือนกัน ยินดีแต่เฉพาะในทรัพย์ของตน, สามีตน, เมียตน, ลูกตน, ครอบครัวตน ก็เป็นพลเมืองดี

    ๑๘. ข้อนี้ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่าควรจะเป็นเช่นนี้ คือ คำสอนหรือพระธรรม หรืออริยมรรค เป็นเพียงแค่แผนที่, เป็นปริยัติ เป็นตำรา หรือเป็นอาหารของใจ ใช้ธรรมข่มจิต - ใจ เวลาโลภ โกรธ หลง ไม่ให้กระทำไปในทางที่ผิด แต่หากใครไม่อบรมจิตด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ข่มจิตใจไม่ลง จิตไม่อ่อนก็ไม่มีหิริ - โอตตัปปะ พวกจิตไม่อ่อนตัวก็ยังฝืนธรรม ฝืนศีล ๕ ก็ยังทำผิดศีลได้ทั้ง ๕ ข้อ ต้องตกนรก หากมีอาฆาตจองเวร ก็ต้องมาทำร้ายกันและกันอีก ๕๐๐ ชาติ ก่อนจะเป็นอโหสิกรรม พระองค์จึงสอนให้ระงับเวรด้วยการไม่จองเวร โดยการให้อภัยซึ่งกันและกันเสีย ในปัจจุบันชาตินี้ เพราะหากไม่ให้อภัยทานกันไว้ก่อนตาย แล้วมันยุ่ง มันใช้เวลานานแสนนาน หากยังดื้อรั้น ไม่เชื่อพระองค์

    ๑๙. การปฏิบัติในหนึ่งวัน (๒๔ ช.ม.) เราเพียงน้อมใจให้อยู่ในหัวใจพระศาสนา เพียงแค่วันละหนึ่ง - สองชั่วโมงก็พอ คือละชั่ว - ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ทำจิตให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ละอดีตอนาคตเสีย ในช่วงนั้นทุกข์ก็เกิดกับใจเราไม่ได้ (ฟังธรรมแล้วก็ต้องจำให้ได้โดย โอปนยิโก น้อมธรรมภายนอกที่เรารู้ - เราเห็นแล้วนั้น เข้ามาในใจตน ใคร่ครวญ - พิจารณาให้เกิดปัญญา คือ เกิดความรู้ขึ้นใจ รู้อะไร ก็รู้ธรรม - เห็นธรรมที่น้อมเข้ามานั้นด้วยใจตนเอง เพราะการรู้ธรรม โดยผู้อื่นมาแนะนำ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ก็สู้เรารู้เองเพียงครั้งเดียวไม่ได้

    ๒๐. การภาวนาหรือทำจิต อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว ขอให้เร่งทำความเพียร ทุก ๆ คนที่ร่วมกันสามัคคีกัน กลมเกลียวกัน

    ๒๑. จิตมันพยศ มันชอบทุกข์ มันถือสังขาร มันเอาไฟจุดตัวมันเองอยู่เช่นนั้น (หมายความว่า พอมีอะไรมากระทบ จิตชอบคิดชั่ว คิดเบียดเบียนตนเอง - ทำร้ายใจตนเองอยู่เสมอ)

    ๒๒. พระธรรมอยู่กับคนบางคน กลายเป็นของปลอม เช่น อยู่กับอลัชชี คนที่ไม่รู้จักธรรม ก็ตัดสินใจไม่ได้เป็นธรรมดา

    ๒๓. ธรรมที่เกิดจากการภาวนา (บุญที่เกิดจากการภาวนา) ไม่เอาอดีต - อนาคตมายุ่งด้วย แต่เป็นธรรมที่เกิดจากปัจจุบันมีราคาสูงเป็นของแท้ และอัศจรรย์ยิ่ง

    ๒๔.ธรรมชาติเทศนา ทั้งกลางวัน กลางคืน ทั้งภายนอกและภายในประกาศอยู่ตลอดเวลา แต่ทำไมจิตจึงไม่เห็น เหตุเพราะอวิชชา นักฟังเทศน์ที่ดี มองเห็นความแปรปรวนของสังขาร (เห็นกาย - เวทนา - จิต - ธรรม) เพราะจิตเขาไม่มัวเมา มีสติ ไม่ประมาท

    ๒๕. จะชนะกิเลสได้ด้วยปัจจุบันธรรม อย่ายุ่งกับผู้ตายไปแล้ว (อดีต) อย่ายุ่งกับผู้ยังไม่เกิด (อนาคต) ให้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น

    ๒๖. ธรรมเป็นอาหารของจิต โรคจิตมีหลายอย่าง ธรรมโอสถก็มีหลายขนาน ต้องเลือกเอาให้ถูกกับโรค ตามจริตและนิสัย โรคจิต คือ กิเลสทุกประเภทที่เกิดจากจิต จิตเกิดการปรุงคือธาตุ ให้เอาจิตแก้ธาตุ ให้เอาธาตุแก้จิต ประสานกัน (พระอริยเจ้าใช้อย่างนั้น)

    ๒๗. ธรรมภายใน ภายนอก สว่างอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ปิดบังเหมือนกิเลส อริยสัจจึงแสดงธรรมอยู่ตลอดเวลา ไม่ขาดสาย (แต่คนจะเห็นหรือไม่เท่านั้น)

    ๒๘. ธรรมะมีอยู่ในจิตผู้ใด ผู้นั้นจะร่าเริงอยู่เสมอ ไม่โศกเศร้าเหมือนผู้ไม่มีธรรมะ ซึ่งจะเร่าร้อนอยู่เป็นนิจ นำมาซึ่งความทุกข์อันใหญ่ (เพราะการเผาของไฟภายใน ๓ กอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ)

    ๒๙. พระองค์สอนปัญจวัคคีย์ให้ละอุปาทานขันธ์ ๕ ความว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ใกล้ก็ดี อยู่ไกลก็ดี รูปทั้งหมดนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น เป็นนี่ ทุกอย่างล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ข้อนี้ขอท่านทั้งหลายพึงพิจารณาตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบแล้ว จิตก็จะไม่หวั่นไหว แม้เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ย่อมเป็นเช่นนั้น ปัญจวัคคีย์จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย - คลายกำหนัดในขันธ์ ๕ เป็นอรหันต์(คนฉลาดมีพุทธจริต มีบารมีเต็มแล้ว พระองค์สอนให้ตัดขันธ์ ๕ อย่างเดียว ก็จบกิจในพระพุทธศาสนา)

    ๓๐. ศาสนาให้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ธรรมของพุทธศาสนาประกาศไว้ชัดแจ้ง เป็นสัจจะ เป็นอริยสัจ สว่างไสวไม่เคยปกปิด หรือมีอะไรปิดบังแม้แต่น้อย ซึ่งตรงข้ามกับกิเลส มันชอบแอบ ชอบปิดบังตนเอง และยังใจไว้เหมือนเส้นผมบังภูเขา ทำให้ไม่เกิดปัญญา จิตจึงไม่เห็นธรรมเพราะมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ครอบคลุมใจไว้ ให้ประพฤติตาม กิเลส ตัณหา อุปาทานของตน สร้างอกุศลกรรมให้ตนไปสู่ทุคติ

    ๓๑. ความสันโดษเป็นทรัพย์ของบรรพชิต (และฆราวาส) มีสันโดษแล้วเบากาย - เบาใจ เพราะไม่สะสมปัจจัย ๔ ก็ไม่ทุกข์ เพราะมันทำให้มีเวลาว่างสำหรับภาวนามากขึ้น

    ๓๒. ความเป็นพระนั้นยิ่งจนยิ่งมีความสุข เท่ากับ (พันธะ และภาระ นอกตัวยิ่งน้อยยิ่งสบาย)

    ๓๓. ผู้มีสันโดษย่อมเลี้ยงง่าย (ความจริงแล้วธรรมข้อนี้ เข้ากับหลักตัดสินว่า สิ่งใดเป็นธรรม เป็นวินัย ๘ ข้อ ที่พระพุทธองค์ให้ไว้กับพระนาง ปชาบดีโคตมี คือ ธรรมเหล่านั้นต้องเป็นไปเพื่อ (คลายกำหนัด, พ้นทุกข์, กำจัดกิเลส, ไม่โลภ (มักมาก), สันโดษ สงัดจากหมู่ ความเพียรและเลี้ยงง่าย) มีสันโดษข้อเดียวก็โยงไปหาธรรมอีก ๗ ข้อได้ หรือธรรมอีก ๗ ข้อ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง เพราะเริ่มต้นด้วยปัญญาอันเป็นสัมมาทิฎฐิ สัมมาอีก ๗ ตัว ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง)

    ๓๔. ปีติ เป็นธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้นกับอารมณ์ เพราะเป็นอาหารของจิต พระโยคาวจรท่านเดินวิปัสสนาชำระจิตของท่านให้สะอาดอยู่เสมอ แก้โรคบ้า โรคฟุ้ง ปีติจะนำส่งไปสู่การเกิดธรรมได้อย่างอัศจรรย์ (เกิดนิมิต แต่นิมิตนั้นคล้ายเด็กเล่นเงาตัวเอง จงอย่าไปยินดียินร้ายในนิมิตนั้น) ข้าพเจ้าขอวิจารณ์ต่อว่า นิมิตเป็นของดีถ้าใช้ถูก ใช้เป็น คือ ต้องมีปัญญา รู้เห็นได้ตามนิมิตนั้น ๆ ถ้าขาดปัญญาก็อาจฆ่าตัวเองได้

    ๓๕. ผู้มีธรรมะแล้วจิตละเอียดสะเทือนถึงกัน รู้วาระจิตของผู้อื่น พระเถระฝ่ายวิปัสสนาไปเยี่ยมกัน ทำความสงบถามกันโดยมากไม่ถามด้วยปากเหมือนกับปุถุชนซึ่งยังมีจิตหยาบ

    ๓๖. พระโสดาบัน ท่านเชื่อในเรื่องกรรม เชื่อผลของกรรม มีพระไตรลักษณ์สาม และมีศีล ๕ อยู่กับจิตของท่าน มีผลทำให้ล้างกรรมที่จะไปตกนรกได้

    ๓๗. มนุษย์ แปลว่า ใจสูง เป็นภูมิใหญ่ชั้นพิเศษ มนุษย์มีใจกล้า ฉลาด สามารถประดิษฐ์การงานได้ทุกอย่าง ยิ่งกว่าสัตว์ทุกประเภทในไตรภพ จึงปฏิบัติสำเร็จมรรคผลได้ ใจไม่ว่างจากความเพียร จึงเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ได้ สัตว์อื่นทำไม่ได้ ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าสั่งสอน (รวมทั้งเทวดาและพรหม) เพราะมนุษย์เห็นอริยสัจได้จริง จนสำเร็จมรรคผล แต่มนุษย์ทำได้ทั้งบุญ - บาป ผู้ใดเกิดเป็นมนุษย์ หากได้พบพระพุทธเจ้าหรือพระธรรมของท่าน จึงจัดเป็นลาภที่ใหญ่ยิ่ง เพราะสามารถปฏิบัติมรรคผลนิพพานได้ ส่วนพวกไม่ยอมทำดี ทำแต่บาป ก็ย่อมรับผลของกรรมที่ตนทำไปเป็น มนุสสนิรยิโก (สัตว์นรก) มนุสสเปโต (เปรต) มนุสสติรัจฉาโน (สัตว์เดียรัจฉาน) พวกทำความดีก็เป็น มนุสเทโว (มนุษย์จึงเป็นภูมิที่มีฐานะอันเลิศในหมู่สัตว์ สามารถทำได้ทั้งดีและชั่ว, มีอายุสั้นมาก เมื่อเทียบกับอายุของสัตว์ในภูมิอื่น (ยกเว้นสัตว์เดียรัจฉาน) และสั้นมากเทียบกับเทวดาและพรหม จึงเป็นภูมิที่เทวดาและพรหม ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ ลงมาบำเพ็ญตนเพื่อต่อบารมีให้สูงขึ้น หรือให้ถึงที่สุดของความดีได้ในเวลาอันสั้น) ในวงเล็บเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า

    ๓๘. ผู้เพ่งอยู่กับความแปรปรวนของจิต (ผู้มีสติ เพ่งดูจิตของตนเองอยู่เสมอ) ย่อมรู้ธรรม เห็นธรรม จิตอยู่ที่ไหน ย่อมรู้แจ้ง ณ ที่นั้น ผู้ใดปฏิบัติตามนี้ ย่อมเห็นธรรมแสดงอยู่อย่างนั้น ย่อมแก้ความสงสัยในธรรม รู้ธรรม เห็นธรรม อย่างสุขุมลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้น โดยระวังไม่ยอมให้จิตออกจากกาย และเห็นความแปรปรวนอยู่เรื่อย ๆ (อยู่ในปัจจุบันธรรมตลอด ด้วยอัตนาโจทยัตตานัง)

    ๓๙.ผู้มีธรรมอยู่กับใจ ใจก็สบายเป็นสุข (ใจไม่เป็นโรค เพราะมีธรรมโอสถอยู่) ส่วนผู้ไม่มีธรรมอยู่ในใจ ย่อมเป็นทุกข์เพราะแบก - หามขันธ์ ๕ อยู่เป็นนิจ เลยไม่มีเวลาปลงขันธ์ ไม่เห็นอริยสัจ ไม่เห็นความเกิด - ดับ เลยไม่รู้ขันธ์เป็นของหนัก เพราะติดสังโยชน์ คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดใจอยู่ ให้เวียนว่ายตายเกิด อยู่ในภพทั้งสาม

    ๔๐. กรรมชั่วเหมือนสุนัขไล่เนื้อไล่ตามอยู่เสมอ ทันที่ไหนย่อมกัดที่นั่น (พระองค์จึงสอนหัวใจพุทธศาสนาไว้ความว่า ให้หยุดทำกรรมชั่วตั้งแต่บัดนี้ แล้วให้ทำแต่กรรมดี เพื่อหนีกรรมชั่วไม่ให้ตามทัน ขณะเดียวกันก็ให้ทำจิตให้ผ่องใสไว้เสมอ เพื่อให้พ้นนรก หรือพ้นอำนาจของกิเลส เพราะความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย อาจเกิดกับเราได้ทุก ๆ เวลา จึงไม่ให้เราประมาทในความตาย ให้เราคิดเสมอว่า เราอาจตายในวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในการประกอบความดี โดยละความชั่วที่ใจเราตลอดเวลา) ข้อความในวงเล็บเป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า

    ๔๑. ผู้ไม่ประมาท แม้มีชีวิตเพียงราตรีเดียว ดีกว่าผู้ประมาทที่มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เพราะความไม่ประมาท ส่งผลไปสู่สุคติผู้ประมาทย่อมไปสู่ทุคติ กว่าจะพ้นนรกก็นานแสนนาน

    ๔๒. มนุษย์ไม่รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริง จึงติดทุกข์ ไม่ละทุกข์ เอาทุกข์มาเป็นสุข ยิ่งฝืนธรรมยิ่งทุกข์ใหญ่ ความทุกข์ยิ่งเพิ่มขึ้น จากวิตก - วิจาร บำรุงทุกข์ให้เกิดขึ้นกับใจตนเสมอ ๆ เพราะความไม่เข้าใจจริงในทุกข์ (ความโง่, อวิชชา, เซ่อ, ขาดปัญญา ขาดการพิจารณา) พระองค์สอนไว้ชัดแจ้งว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข ใครที่รู้จักทุกข์ตามความจริง จะไม่ยอมสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นอีก ไม่ติดทุกข์ ละวางทุกข์ไว้ที่เดิม เพราะรู้ชัดว่าทุกข์ทางกายนั้นเป็นเพียงแค่กำหนดรู้เท่านั้น ละมันไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์ตามปกติของกาย ใครมีกายก็มีทุกข์มากเป็นคู่บารมีจนกว่าจะตาย แต่ทุกข์ใจนั้น (สมุทัยหรือตัณหา) เราเป็นผู้สร้างขึ้นเองที่ใจเรา ก็สามารถละมันได้ที่ใจเราเช่นกัน

    ๔๓. การงานทางโลก บำรุงตัณหาทั้งสิ้น มีทุกข์มาก ได้มาก็เป็นทุกข์ในการรักษา ไม่ได้มาก็ทุกข์เพราะไม่สมตามความปรารถนา ตัวขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์ เป็นก้อนทุกข์ ต้องเลี้ยง ต้องบำรุงรักษากันทุก ๆ วันจนกว่าจะตาย (แก่ ป่วย เจ็บ ตาย)

    ๔๔. เห็นความไม่เที่ยงของกายแล้ว ให้เห็นความเที่ยงของกายบ้าง เช่น ทุกกายที่มีเกิดขึ้นต้องตายหมด, ต้องมีทุกข์มากน้อยตามกรรมของตน ส่วนอสังขา เป็นสุข ไม่รับทุกข์ด้วย ไม่ยินดี ยินร้าย อย่าให้ความรู้โลกีย์มาปนกับ โลกุตระ ให้แยกไว้เป็นส่วน ๆ รู้เท่าแล้ววางไว้ตามเรื่องของเขา เกิด - ตายเป็นเรื่องโลกีย์ อย่าไปสนใจ ส่วนโลกุตระมันเย็น เพราะไฟตัณหาหมดแล้ว (สรุป ความเที่ยงของกายคือความตาย และวิบากอันเกิดจากฎของกรรม)

    ๔๕. กามทั้งหลายเป็นจ้าวโลก (เจ้าโลก) เกลียด - โกรธ - ชัง - ฆ่ากัน และทำบาปนานาประการ ก็เพราะกามเป็นใหญ่

    ๔๖. งานของศาสนาดีกว่างานทางโลก งานทางโลก ทำไร่ ทำนา หลายร้อยปีทำแล้ว ก็ตกเป็นของคนอื่นหมด ส่วนงานทางศาสนา เช่น ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เพียงแม้เล็กน้อย ชั่วครู่ยามต่อวัน กับให้กุศลเป็นผลบุญ อยู่นานตั้งกัปทีเดียว จึงต้องยกให้งานศาสนาเป็นของเลิศ

    ๔๗. อยากเป็นพระอินทร์ ต้องบำเพ็ญความดี ๗ อย่าง คือเลี้ยงบิดา - มารดา, อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่, มีวาจาอันอ่อนหวาน ไม่พูดส่อเสียด, ไม่ตระหนี่, กล่าวคำที่เป็นจริงและระงับความโกรธได้ (ใน ๗ อย่างเกี่ยวกับวาจาเสีย ๓ ข้อ)

    ๔๘. ทุกคนหนีโลกธรรมไม่พ้น จึงอย่าหนีมัน เพราะมันเป็นของธรรมดา คนส่วนใหญ่คิดว่าตนฉลาด (พระองค์ตรัสว่าเป็นคนโง่ตั้งแต่ที่เริ่มคิด เพราะเป็นอารมณ์หลง) ดังนั้น เมื่อถูกด่า - ว่า - หรือติ หรือนินทา จะมีอารมณ์ไม่พอใจ โกรธ เก็บเอามาคิดปรุงแต่ง เกิดอาฆาต - พยาบาท - จองเวร เพราะอารมณ์โง่ โมหะ หรือหลง หรือมิฉาทิฎฐิ จึงทำร้ายตนเอง เผาตนเอง เบียดเบียนตนเอง ขาดเมตตาต่อตนเอง เหมือนกินยาพิษ เพราะโมหะ (โง่) แต่ใครเชื่อพระองค์ก็เป็นสุข เพราะถือเป็นของธรรมดา ให้ตั้งไว้ในอารมณ์ช่างมัน หรือวางเฉย หรือสักแต่ว่าหรืออุเบกขา จนถึงสังขารุเบกขาญาณในที่สุด

    ๔๙. ภัย ๔ - ๕ อย่างในโลก เช่น คนมีทรัพย์ (โลกียทรัพย์) มีภัย คือ ราชภัย, โจรภัย, อัคคีภัย, อุทกภัย และวาตะภัย ทั้ง ๕ ข้อ ล้วนแต่เป็นกฎของกรรมที่ตนทำไว้ทั้งสิ้น หรือคนเกิดมาในโลกมีภัย คือ ชาติภัย, ชราภัย, พยาธิภัย, มรณภัย แต่ภัยใหญ่ยิ่งก็คือภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายตัวเราเอง (ขอเพิ่มเติมอีก ๑ ภัย คือ ทุกขภัย หรือ ภัยจากกฎแห่งกรรม (วิบากกรรม) ต้องเปลี่ยนเป็นภัย ๕ อย่างแทน ให้ตรงตามสัจธรรมหรือสัทธรรม ๕ แต่จริง ๆแล้ว ภัยทุกชนิด ล้วนมีต้นเหตุมาจากกฎของกรรม ซึ่งเราเป็นผู้ทำไว้เองทั้งสิ้น

    ๕๐. สุขในโลกกับสุขในธรรม ต่างกันฟ้ากับดิน สุขในโลกจริง ๆ ไม่มี (มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย) เช่น สุขในกาม - กิน - นอน ล้วนไม่ถาวร สุขจากโลกธรรม เป็นมายาหลอกคนโง่ สุขทางโลกจึงมีสภาพ ยิ่งสุขก็ยิ่งทุกข์ (เพราะถูกกิเลสมันหลอกต้มเอาจนสุก) ตายแล้วสูญ เอาอะไรไปไม่ได้เลย ส่วนสุขในธรรมนั้นประเสริฐนัก เพราะเป็นของจริง ติดใจเราไปได้ (กรรมดี) ทั้งขณะยังไม่ตาย และเมื่อตายแล้ว (ดูข้อ ๔๖ ประกอบ)

    ๕๑. โลกีย์มีเกิด - ดับ และสังขารแปรปรวนอยู่เป็นนิจ (จิตไม่เสมอเหมือนโลกุตระ) โลกีย์จึงมีขึ้น ๆ ลง ๆ มีทั้งกุศลและอกุศลอยู่เสมอ

    ๕๒. ผู้เห็นทุกข์จริง ย่อมอยู่เหนือทุกข์ เพราะชำนาญในการใช้สมถะและวิปัสสนาภาวนา ในสัทธรรม ๕ (เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความปรารถนาไม่สมหวัง) จึงยกจิตออกจากกายและเวทนาได้ ว่ากายคือกาย เวทนาคือเวทนา จิตคือจิต ไม่เกี่ยวกันด้วยปัญญา จึงมองเห็นทุกข์ได้ชัดเจนว่า ทุกข์เป็นของปกติของกาย เวทนา (สุข - ทุกข์) ต่างก็ทำหน้าที่ของตนไปตามปกติของกาย จิตมองเห็นทุกข์ของกายด้วยปัญญา จิตไม่ยอมหลงยึดว่ากายนี้เป็นเราเป็นของเรา จิตในขณะนั้นจึงพ้นทุกข์ได้ เลยมีความสุข เพราะอยู่เหนือทุกข์ มองเห็นทุกข์กายดุจมองเห็นบ้านที่กำลังไฟไหม้ แต่เจ้าของบ้านไม่ร้อน ไม่ทุกข์ เพราะยืนอยู่นอกบ้านที่กำลังไฟไหม้ นี่คือพุทธพจน์

    ๕๓. จะชนะมารต้องอาศัยภาวนา เพื่อระงับนิวรณ์เพราะมารอาศัยอยู่กับใจ เป็นมากภายใน มันสิงใจอยู่จึงแก้ยาก ส่วนมารภายนอกแก้ง่ายมากกว่า เพราะเพียงเราไม่สนใจในมันเสียก็พ้นแล้ว (สำรวมอินทรีย์หรืออายตนะ) พระองค์แนะให้ใช้อริยมรรค ๘ เริ่มด้วยปัญญา คือ สัมมาทิฎฐิ มรรค ๘ ย่อเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เดินตามพระองค์ ไม่มีทางพลาดจากความเป็นพระอริยะ

    ๕๔. วัฎฎโก โลโก เท่ากับโลกหมุนวน หาที่สุดมิได้ (ไม่เที่ยง) เดี๋ยวรัก เดี๋ยวชัง (ยามรักน้ำต้มผักว่าหวาน ยามชังด่าทั้งวัน) เดี๋ยวสุข - เดี๋ยวทุกข์ ไม่แน่นอน เดี๋ยวยิ้มหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ โลกจึงเป็นละคร เมาอยู่เป็นนิจ เพราะคนในโลกประมาท ไม่ชอบสร้างความดี ชอบทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว ใจจึงชินต่อความชั่ว ซึ่งร้อนด้วยไฟเผาใจ (ราคะ โทสะ โมหะ) ตรงข้ามกับธรรมะ ซึ่งเป็นของเย็น ใช้ดับไฟที่เผาใจได้อย่างดี แต่คนส่วนใหญ่ประมาทไม่ค่อยเชื่อพระองค์ โลกจึงร้อน เป็นทุกข์ วนเวียนอยู่อย่างที่เห็นทุกวันนี้ เพราะโลกมีอวิชชาเป็นใหญ่

    ๕๕. โมกขธรรม หรือธรรมที่ทำให้พ้นโลก พ้นทุกข์ พ้นวัฎฎะ พ้นจากความตาย คือ เต สัง วู ปะสะโม สุโข (การระงับความเกิดเสียได้อย่างแท้จริง เป็นสุดยอดของความสุข เท่ากับนิพพาน) พระองค์ให้หัวใจพระพุทธศาสนาไว้ ๓ ข้อ (โอวาทปาติโมกข์) คือ ให้ละชั่ว ให้ทำแต่ดี ให้ทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอและแนะวิธีปฏิบัติไว้ชัดแจ้ง คือ อริยมรรค ๘ (ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ทาน ศีล ภาวนา)

    ๕๖. เมื่อไร้ความจริงแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์มี ณ ที่ไหน ท่านหมายถึงพูดไม่จริงหรือโกหก ข้อนี้ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดก็ตามที่มีเจตนาโกหกผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้นั้นไม่มีความชั่วใด ๆ ที่เขาจะทำไม่ได้”

    ขอวิจารณ์ว่า

    ดี - ชั่ว - สุข - ทุกข์ บุญ - บาป นรก - สวรรค์ - นิพพาน ล้วนมาจากความคิดทั้งสิ้น หรืออยู่ที่มโนกรรม เพราะ “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ (ประเสริฐสุด) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ” ทุกอย่างเริ่มต้นที่ใจ มาจากใจ ใจเป็นนาย วาจาและกายเป็นบ่าว โลกมนุษย์จึงเป็นที่ชุมนุม หรือที่ประชุมใหญ่เป็นแดนกลางระหว่างทางไปแห่งความดีและความชั่ว (ดูข้อ ๓๗)

    ๕๗. ใจที่ไม่มีธรรมอยู่ย่อมเป็นทุกข์ เพราะจะตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม สร้างแต่ความทุกข์ให้ตนเอง (เป็นภัย, เป็นยาพิษ, เป็นของเหม็น, เป็นขี้, เป็นความชั่ว, เป็นบาป - อกุศล, เป็นไฟนรกเผาใจตนเอง ส่วนธรรมเป็นมรรค เป็นเครื่องประพฤติ - ปฏิบัติ ข่มมานะทิฐิที่กั้นขวางความดีไว้ให้หมดไป (ข่มมิจฉาทิฎฐิให้เป็นสัมมาทิฎฐิ) หักวงล้อของวัฎแห่งความชั่ว ด้วยอริยมรรค (คล้าย ๆ ข้อ ๒๘)

    ๕๘. ผลไม้ย่อมออกผลตามฤดูกาล เมื่อยังไม่ถึงเวลา (ฤดูกาล) ก็ยังไม่ให้ผล สิ่งนี้เป็นธรรมที่ลึก ต้องคิดพิจารณา จึงจะเกิดปัญญา เหมือนผลไม้ไปเร่งมัน นอกเวลาที่มันจะให้ผล ย่อมเป็นทุกข์หรือสูญเปล่า หรือได้ไม่คุ้มเสีย เพราะฝืนธรรมชาติ ฝืนกฎธรรมดาของมัน ธรรมะก็เช่นกัน บางคนหลงมากที่ไปแบกอารมณ์พระอรหันต์ พระอนาคามีไว้ แล้วทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ก็เกิดท้อแท้ใจ หมดกำลังใจ เป็นต้น หรือจะคิดว่า การเกิดมาเป็นคน เป็นมนุษย์ เหมือนเขาให้มาค้าขาย หากประมาทอวดดี ไม่เชื่อผู้รู้ คือ (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ก็ขาดทุน หากโชคร้ายเพราะประมาทเป็นเหตุ ก็ต้องล้มละลายกลับไปอยู่นรกใหม่ ต้องใช้เวลาอีกนานแสนนาน กว่าจะได้กลับมาทำการค้าใหม่ ข้อนี้มีธรรมย่อ ๆ ในข้อ ๔๑

    ๕๙. ดับภพทั้ง ๓ ได้ที่ใจแห่งเดียว เพราะธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด (เป็นใหญ่) ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ กิเลสทุกตัวอยู่ที่ใจ เกิดที่ใจ จึงต้องดับที่ใจ มารก็คือกิเลส มันตัวเดียวกัน ใช้อริยสัจหาเหตุให้พบ แล้วก็ดับเหตุนั้นเสีย

    พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ?temp_hash=9c32166debee4974a5e8e2b866cd4db4.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นว่ากายนี้เป็นของตน
    หรือเป็นตัวตนของเรา ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิด
    จริงๆ แล้วกายของเรานี้หรือของใครก็ตาม
    เป็นกระบวนการธรรมชาติ เกิดขึ้นเพราะการรวมตัวของธาตุ ๔
    คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือ เพิ่มอากาศ (ช่องว่างต่างๆ) และวิญญาณ
    เข้าไปด้วยรวมเป็นธาตุ ๖ เมื่อธาตุเหล่านี้รวมกันก็สมมติว่าเป็นคน
    อันที่จริงคนเป็นเพียงสิ่งสมมติอย่างหนึ่ง
    จริงๆ แล้วไม่มี แต่คนทั้งหลาย (โดยสมมติ)
    มักไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตน นอกจากยึดกายของตนแล้ว
    ยังไปยึดกายของผู้อื่นว่าเป็นของตนอีกด้วย
    ผู้ละสักกายทิฏฐิได้แล้วย่อมเห็นกายเป็นเพียง
    ประมวลแห่งธาตุ ๔ หรือธาตุ ๖ ดังกล่าวแล้ว
    เมื่อเห็นชัดเจนอยู่กับใจอย่างนี้ใครทำร้ายร่างกาย
    ก็ไม่ทำร้ายตอบ พระโสดาบันจึงรักษาศีลข้อปาณาติบาตได้อย่างบริสุทธิ์

    อาจารย์วศิน อินทสระ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    หลักธรรมสองหมวดที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนคนทั่วไป

    จากคำถามที่ว่ามาเมื่อครู่ในเรื่องของการปฏิบัติ มีอยู่รายหนึ่งที่น่าสงสารมากที่สุด ก็คือ การปฏิบัติตามหลัก กาย เวทนา จิต ธรรม

    มีหลักธรรมอยู่สองหมวดที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนคนทั่วไป ก็คือ มหาสติปัฏฐานสูตร ตามหลักกาย เวทนา จิต ธรรม พระพุทธเจ้าท่านสอนมนุษย์ต่างดาว..! ส่วนพระอภิธรรม ๗ บท ท่านสอนพรหมเทวดา

    แต่ก็ยังมีคนพยายามที่จะไปศึกษาเรียนรู้ ถ้าปัญญาของเราไม่ใช่อุคฆฏิตัญญูบุคคล มีหวังได้เครียดตายห่..! วิธีการง่าย ๆ เยอะแยะดันไม่ทำ

    มหาสติปัฏฐานสูตรตั้งแต่ต้นยันปลาย เราหยิบจุดใดจุดหนึ่งขึ้นมาทำ จุดเดียวก็บรรลุมรรคผลได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปศึกษาครบทุกหมวด ไม่จำเป็นต้องไปศึกษาครบทุกหัวข้อ อย่างเช่นหมวดแรก กายในกาย แค่อานาปานสติ ถ้าทำถูกก็เป็นพระอรหันต์ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องตามไปดูอิริยาบถสัมปชัญญะ ไม่จำเป็นต้องไล่ยาวจนกระทั่งถึงนวสี เวทนา จิต หรือธรรม จึงไม่จำเป็นต้องไปดูเช่นกัน

    แต่เรามักจะเข้าใจผิดว่าจะต้องทำทั้งหมด ก็เลยเก่งกันไปใหญ่

    ให้สังเกตดูตอนท้ายของทุกบรรพ หรือทุกตอน พระพุทธเจ้าจะสรุปเอาไว้ว่า นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ เราจะไม่ยึดติดอะไรๆ ในโลกนี้ นั่นคืออารมณ์พระอรหันต์"

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๙
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ZlhsMxhRBCHlFHoI6tXxEqcb9TnkbN8JTvwCGFmaSvex&_nc_ohc=zUmvBt54LAYAX8pwtiI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    ?temp_hash=d407b2f4f8e305220e3d11f8eec1c795.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    -ojAqAwdgCs6oj9VyS6H2dHbdSBBq37EV-ojuQAtCdPu&_nc_ohc=5ofZWoDH1SkAX8dR3bM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    k6IVynj53NX7fnq5cuYg4ITNumCwssA2rek-itOalX2n&_nc_ohc=5Jl4KFmjn5sAX-v7UYY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
    วันนี้วันที่ ๒๕ ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่หลุย
    จันทสาโร “พระอริยเจ้าผู้ม้างกายจนจิตบริสุทธิ์



    รำลึก ๓๑ ปี หลวงปู่หลุย จันทสาโร แห่งวัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศิษย์ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต องค์ท่านมีหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นสหธรรมมิก องค์ท่านมักสอนเรื่องการม้างกาย ให้บรรดาศิษย์ได้พิจารณา เช่น “รู้แจ้งอวัยวะของร่างกายยิ่งกว่าเก่า ละเอียดกว่าเก่า ด้วยไตรลักษณ์ ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ขยายธรรมะรู้ทั่วไป ระงับนิวรณ์ได้ รู้เองเห็นเอง เป็นปัจจัตตัง ปฏิภาคและวิปัสสนาผสมกัน แต่วิปัสสนามากกว่าสมถะ” และให้หมั่นพิจารณาความตายให้เนืองๆ “พิจารณาการตาย เกิดสะกิดใจว่าจะต้องตายง่าย อายุไม่ยืนนาน บอกมาเรื่อยๆ เริ่มความเพียรมากก่อนตาย เพื่อให้ชำนิชำนาญ เพื่อเข้าจิตสู้การตาย ข้อนี้สำคัญมากกว่าอย่างอื่น” จึงขอน้อมนำประวัติย่อ และปฏิปทาหลวงปู่หลุย เพื่อน้อมมาเป็นสังฆานุสสติ และ มรณานุสติ ครับ
    หลวงปู่หลุย ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๔ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย เดิมทีในตอนเด็กท่านชื่อ “วอ” เมื่ออายุ ๗ ขวบ ท่านมองดูสายน้ำที่ไหลไปไม่มีวันกลับ ท่านคิดพิจารณาเทียบชีวิตคนที่ล่วงตายไป ไม่มีวันกลับคืนได้เหมือนสายน้ำ จึงภาวนาโดยอาศัยสายน้ำเป็นอารมณ์ เมื่ออายุ ๙ ขวบ จิตท่านตกภวังค์ นิมิตเห็นแสงสว่างคล้ายสีรุ้ง ท่านชอบพระกรรมฐาน และการออกบวชอย่างมาก แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ท่านต้องการประชดมารดา ที่ไม่ให้ท่านเรียนหนังสือต่อ จึงหันเหมานับถือศาสนาคริสต์อยู่ ๕ ปี จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่านให้ชื่อท่านว่า “เซนต์หลุย” หรือ “นักบุญหลุย” ท่านมีชื่อ “หลุย” มาด้วยประการ ฉะนี้ การที่ท่านอาศัยอยู่ที่ อ.เชียงคานซึ่งติดกับแม่น้ำโขง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาว และการคลุกคลีอยู่กับการจัดอาหารเลี้ยงบ่อยๆ นั้นทำให้ท่านได้เห็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมากมาย บังเกิดความสังเวชสลดใจ จึงออกจากศาสนาคริสต์ กลับมานับถือศาสนาพุทธดังเดิม และตั้งใจบวชอุทิศแผ่เมตตาให้กับชีวิตสัตว์ ท่านอุปสมบท ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ณ อ.แซงบาดาล จ.ร้อยเอ็ด
    จากนั้นได้เจอพระกัมมัฏฐาน เป็นครูบาอาจารย์รูปแรกของท่าน คือ ท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ จึงได้ศึกษาข้อวัตร และเห็นปฏิปทาแนวทางปฏิบัติที่เคร่งครัด แล้วได้ติดตามไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตตามลำดับจึงเกิดศรัทธาปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังตามครูบาอาจารย์ของท่าน หลวงปู่หลุย ท่านญัตติเป็นพระธรรมยุติ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ พร้อมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย โดยหลวงปู่หลุย เป็นนาคขวา บวชก่อน ๑๕ นาที เมื่อเวลา ๑๓.๐๘ น. ส่วนหลวงปู่ขาว เป็นนาคซ้าย โดยมี พระธรรมเจดีย์(หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธนั้นหมดสิ้นอาสวกิเลส ณ ถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ท่านรูปร่างงาม ขาว สูงใหญ่ และกิริยานิ่มนวล “เดินตามฟากไม่ดังเลย” เหมือนกิริยาของแมว ได้พาหลวงปู่เที่ยววิเวกไปตามภูเขาต่างๆ ในเขตภูพาน ซึ่งอุดมด้วยถ้ำ เงื้อมหินมากมาย รวมทั้งที่พระบาทคอแก้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคายด้วย ระหว่างที่อยู่ที่วัดป่าหนองวัวซอ ก็พากลับไปวิเวกที่วัดพระบาทบัวบก อ.บ้านผือ ซึ่งท่านได้พบท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล เป็นคำรบแรก ณ ที่นั้นการอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญนี้ ทำให้หลวงปู่หลุย สามารถเรียนรู้วิธีการปฎิบัติอุปัฎฐากครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่อย่างคล่องแคล่วว่องไว
    ได้พบและจำพรรษากับกัลยาณมิตร ณ ที่วัดป่าหนองวัวซอนี้ หลวงปู่หลุยเล่าว่า เป็นที่ซึ่งท่านได้พบและจำพรรษากับกัลยาณมิตร ๒ องค์ กล่าวคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่ชอบ ฐานสโม สำหรับหลวงปู่ขาว นับแต่ที่ได้บวชเป็นคู่นาคกันแล้ว เป็นการพบกันครั้งแรก แต่สำหรับหลวงปู่ชอบนั้น ท่านเล่าว่า เคยพบกันมาก่อนแล้วระหว่างธุดงค์อยู่ตามป่าเขาแถบจังหวัดเลย อันเป็นภูมิลำเนาบ้านเกิดของท่านทั้งสอง แต่ครั้งยังเป็นพระน้อยเพิ่งเริ่มบวช การมาอยู่จำพรรษาด้วยกันทั้ง ๓ องค์ ในพรรษาที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๗๓ ทำให้ชอบอัธยาศัยและใกล้ชิดถูกนิสัย แลกเปลี่ยนธรรมสากัจฉาเป็นกัลยาณมิตรเอื้อเฟื้อต่อกันตลอดมา
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ พรรษาที่ ๑๑ หลวงปู่หลุย ท่านได้มาพบสถานที่อันเป็นมงคลแห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น วัดภูริทัตตถิราวาส หรือวัดป่าบ้านหนองผือ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังสำหรับผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานไปทั่วประเทศ ในฐานะที่ พระคุณเจ้าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ บิดาแห่งพระกัมมัฏฐาน ได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเป็นเวลาถึง ๕ พรรษาติดต่อกันโดยท่านไม่เคยจำพรรษาอยู่ ณ ที่ใดนานเช่นนั้นมาก่อน ในระหว่างที่ท่านเริ่มมาสร้างวัดป่าบ้านหนองผือ ท่านก็ไม่ได้ทำเสนาสนะเป็นกุฏิ วิหารใหญ่โตอะไรนัก เพียงแต่ปลูกกระท่อมมุงหญ้าอยู่เท่านั้น อยู่ถึงเกือบ ๒ ปี แล้วมาอยู่ปีหลังก็มาซ่อมแซมเพื่อว่าครูบาอาจารย์เข้ามาอยู่ได้โดยสะดวก ปี ๒๔๘๗ นั้น ท่านเริ่มเตรียมจัดทำกุฏิที่หลวงปู่มั่นอยู่ โดยจะขออนุญาตหลวงปู่มั่นอยู่ปีหนึ่ง ท่านไม่ได้เป็นคนขอโดยตรง แต่อธิบายให้ชาวบ้านมาขออนุญาต กราบเรียนว่า ขอสร้างกุฏิหลังหนึ่งเป็นหลังสุดท้าย พวกชาวบ้านก็เตรียมของมาพร้อม ขอก็ขอไป แต่หลวงปู่มั่นก็ไม่อนุญาต หลวงปู่มั่นไม่อนุญาตให้สร้าง ก็มากราบเรียนหลวงปู่หลุยว่าจะทำประการใด ท่านก็บอกว่า ให้รอไปก่อน แต่ปฏิบัติตัวให้เป็นคนดี ให้หลวงปู่มั่นเพิ่นเห็นใจ ให้แอบกระซิบสอนไว้ เวลาใส่บาตรก็ให้ขอ ลงมาชงน้ำร้อนถวายก็ให้ขอ ให้อ้างเหตุผลว่า “ขอสร้างกุฏิ ด้วยถือว่าเพิ่นชราภาพแล้ว ขอให้เพิ่นพักบ้าง ที่ต้องอยู่รุกขมูลร่มไม้ ชาวบ้านแสนจะสงสาร”
    พวกชาวบ้านได้ฟังก็เชื่อฟัง ครั้นหลวงปู่มั่นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านก็คุกเข่าอ้อนวอนขอสร้างกุฏิถวาย เอาน้ำร้อนเอาของไปถวายก็อ้อนวอนขออีก บางคนขอแล้วน้ำจิตน้ำใจนั้นโน้มน้อมลงไปจริงๆ ถึงกับน้ำตาคลอ อ้างว่าสงสารพ่อแม่ครูจารย์นัก ที่ต้องอยู่รุกขมูลร่มไม้ ไม่ได้อยู่ด้วยความสะดวกสบาย ใคร่จะขออนุญาตสร้างกุฏิถวาย ถึงองค์ท่านไม่เห็นแก่องค์เอง แต่ก็โปรดให้เห็นแก่พวกขะน้อยจะได้บุญได้กุศลบ้าง ชาตินี้พวกขะน้อยมีวาสนา ท่านมาโปรดอย่างใกล้ชิดเช่นนี้ ท่านผู้ที่มีคุณธรรมวิเศษได้มาถึงปานฉะนี้แล้ว ยังไม่ให้โอกาสได้ทำบุญเลยกระนั้นหรือ ขอท่านได้โปรดกรุณาเมตตาแก่พวกขะน้อยทั้งหลายด้วย ขอไปน้ำตาก็คลอไป แถมบางคนถึงกับร่วงพรูลง สุดท้ายหลวงปู่มั่นก็คงจะทนสงสารเมตตาไม่ไหว เห็นว่าดื้อขออยู่ตลอดเวลา จึงอนุญาตให้สร้างกุฏินี่ได้มา
    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ยกย่องหลวงปู่หลุยว่า "เป็นผู้ทรงธุดงค์ธรรม ว่าด้วยความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ หาผู้ใดยุคปัจจุบันเสมอได้ยาก" หลวงปู่หลุย ท่านเป็นผู้มีความเพียรกล้า อยู่ง่ายไปเร็ว ชอบท่องเที่ยวไปตามป่าเขา ไม่ติดสถานที่ ชอบอยู่ป่าและถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นศิษย์ที่เข้าใจในอัชฌาศัยของท่านพระอาจารย์มั่น เป็นอย่างดี สามารถนิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่น เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือได้ จนกลายเป็นสำนักกรรมฐานที่เลื่องชื่อ ผลิตพระอริยะเจ้าเข้าสู่ตลาดมรรคผลนิพพาน
    หลวงปู่หลุย ท่านได้รับอุบายธรรมสำคัญจากสหธรรมิกเพชรน้ำหนึ่งคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย ด้วยอุบายธรรมแยบยลจากเพื่อนนี้เอง หลวงปู่หลุย จึงได้กล่าวว่า… "การภาวนาจะเป็นไปได้ด้วยดีนั้น นอกจากจะต้องมีครูบาอาจารย์ที่ดีแล้ว ก็ควรจะต้องมีกัลยานมิตรที่ดีด้วย" หลวงปู่หลุย จันทสาโร ท่านถึงที่สุดแห่งธรรมด้วยวิชาม้างกาย ที่ถ้ำกกกอก อ.วังสะพุง จ.เลย ในพรรษาที่ ๔๐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ ท่านเร่งภาวนามาก ใจดำริมาเป็นเวลาหลายอาทิตย์ว่า พระอริยเจ้าทำสำเร็จ เราทำไมไม่สำเร็จ ธรรมก็มีอยู่ในตัวเราแท้ พระอริยเจ้าทำสำเร็จ เราทำไมไม่สำเร็จ ให้อาหารแก่จิต ให้กำลังใจแก่จิต
    การ “ม้างกาย” ที่ดำเนินมานาน หนักไปทางสมถะ ในระยะนี้ท่านก็ได้เดินวิปัสสนาควบคู่ไป เป็นการม้างกาย ที่ท่านเรียกว่า “ม้างกายที่ฉลาด ม้างกายด้วยไตรลักษณ์” พยายามประหารกิเลสให้สิ้นไป จบไป ดังที่ท่านได้เขียนบันทึกไว้ในปีหลังๆ อธิบายความโดยสรุปว่า…
    “ม้างกายให้ฉลาด ม้างกายด้วยไตรลักษณ์ ม้างอนุสัยให้ฉลาดทางจิตและเจตสิก รวมทั้ง ๒ ประเภท แก้เกิดในไตรภพว่าเป็น ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา โดยธรรม ๒ ประเภท ชำระกิเลสออกจากดวงจิตจนเห็นไม่ถือไปเกิดอีกในภพหน้า ม้วนกลมในปัจจุบัน พระอรหันต์ไม่ก่อกิเลสในปัจจุบัน ละกิเลสทั้งอดีต อนาคต ไม่ทำกิเลสเกิดขึ้นในปัจจุบัน เสียความสุขในปัจจุบัน กว่าจะนิพพานในครั้งสุดท้าย รอรถรอเรือ จะไปนิพพาน สิ้นภพ สิ้นชาติ ทำความรู้แจ้งแทงตลอดเญยยธรรมในปัจจุบันนี้ทีเดียว”
    ปัญญาพาค้นคว้า ดำเนินไป จิตก็ตามไป หมุนเป็นเกลียวอย่างไม่หยุดยั้ง ลืมมืด ลืมแจ้ง ลืมวัน ลืมคืน บางเวลาจิตก็ม้วนกลมลงสู่จิตเดิม จิตหด แต่บางเวลาปัญญาหมุนติ้ว จิตเหินตามไป ที่สุดของจิตซึ่งท่านเคยคิดว่า อยู่แสนไกล ประดุจอยู่ปลายสุดสะพานรุ้ง ก็กลับเป็นดูใกล้ แทบจะเอื้อมมือถึงได้ บางเวลา เกิดปีติปลื้มคิดว่า นี่แหละ...นี่แหละ ถูกแล้ว...ใช่แล้ว
    จิตกลับตกลงมาใหม่ เกิดสะดุดหยุดยั้งคิด เพียรซ้ำ เพียรซ้อน ล้มแล้วลุก...ลุกแล้วล้ม ล้มลุกคลุกคลานอยู่คนเดียว จิตที่ถูกทรมาน ลงแซ่กำราบมาอย่างหนัก สุดท้ายก็เหนื่อยอ่อน จิตวางจิตสงบ จิตไม่กำเริบ จิตคงที่ ไม่แปรไปตามสังขารจิต ไม่ขึ้นไม่ลง จิตเกษม ราวกับว่า สุดสะพานรุ้งนั้นจะพุ่งไปสู่อวกาศอันเวิ้งว้าง แล้วท่านก็ได้ลาจากบ้านกกกอกมาด้วยความระลึกถึงบุญคุณของสถานที่แห่งนี้เป็นที่สุด “จิตเคยว้าเหว่ บัดนี้จิตมีที่พึ่งแล้ว”
    ปี พ.ศ.๒๕๑๐ ตรงกับพรรษาที่ ๔๓ ท่านมาสร้างวัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย และได้อยู่จำพรรษาถึง ๓๐ ปีเต็ม ณ ถ้ำผาบิ้งแห่งนี้ หลวงปู่หลุย ท่านเล่าว่า... “ระยะแรกที่หลวงปู่มาวิเวกที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านจะใช้เพิงนี้ บริเวณในถ้ำเป็นที่พัก ปากรู้ถ้ำทางขวาเป็นรูพญานาค วันดีคืนดีจะมีเสียงร้องคำรามมาจากภายในรูถ้ำนี้ และที่ถ้ำผาบิ้งเป็นที่พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล คือ ท่านพระอุบาลีเหาะมาด้วยบุญฤทธิ์มานิพพานที่นี่ และท่านพระอาจารย์มั่นก็เคยมาจำพรรษา ณ ที่นี้เหมือนกัน สำหรับท่านผู้เป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงปู่ที่มาเที่ยวธุดงค์ที่นี้นั้น ตามที่ปรากฏชื่อก็คือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่กล่าวว่า ถ้ำผาบิ้งเป็นสถานที่เป็นมงคลอย่างยิ่งนอกจากเป็นที่นิพพานของพระอรหันต์แล้ว ยังมีเทพรักษาสถานที่อย่างดี ระหว่างภาวนาจะได้กลิ่นดอกไม้หอมอยู่บ่อยๆ เป็นการนอบน้อมบูชาของรุกขเทพที่ดูแลสถานที่..”
    หลวงปู่หลุย ท่านได้เริ่มอาพาธหนัก โดยไม่อ้างกาลเวลา แม้อาพาธอย่างหนัก ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา ๒๓.๓๐ น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้ว ขอเอาจิตอย่างเดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่าน หากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย และมรณภาพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๐๐.๔๓ น. ณ โรงพยาบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ สิริอายุ ๘๘ ปี ๑๐ เดือน ๑๔ วัน พรรษา ๖๔
    “..มนุษย์เป็นภูมิใหญ่ชั้นพิเศษ ได้ชื่อว่ามนุษย์เป็นฐานะที่เลิศ เป็นที่ที่ประชุมใหญ่ ให้ร้ายให้ดีก็เป็นชาติมนุษย์ อินทร์พรหม อบายภูมิ นรก สู้มนุษย์ไม่ได้ มนุษย์มีฐานะอันเลิศ เลิศทั้งหญิง เลิศทั้งชาย มีอยู่ในชาติเป็นมนุษย์นี้ทั้งนั้น แม้ปรารถนาใดๆ สำเร็จได้ในชั้นมนุษย์ มนุษย์แปลว่า ใจสูง ใจกล้าหาญ ทำบาป ทำบุญได้ทั้งนั้น เพราะบุคคลเกิดเป็นมนุษย์เป็นลาภอย่างยิ่ง ทั้งพบพระพุทธศาสนายิ่งลาภใหญ่ ปฏิบัติมรรคผลนิพพานได้..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่หลุย จันทสาโร
    n57kT0dcMUBJmpcMDMoYBjfO262hJNu2COw6pobj9Cva&_nc_ohc=IhnfdkJyWy8AX_f2Dph&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,842
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,541
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...