เหรียญสุริคราสหลวงพ่อคงพระสมเด็จปรกโพธิ์พ่อท่านเอียด บางกล่ำพระสิวลีมหาลาภ ว่านเถาวัลย์หลง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    ล็อกเก็ตกระดาษ หลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง นครปฐม
    งานยุคเก่า ครับ ศิลป์การสร้าง วัตถุมงคล สมัยก่อน พัฒนาการ มาจากรูปถ่าย มา เป็นลักษณะนี้ และ ล๊อกเก็ตเคลือบ

    ให้บูชา 900 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20250403_110637.jpg IMG_20250403_110704.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2025 at 15:05
  2. pei

    pei เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    784
    ค่าพลัง:
    +2,858
    รับครับ
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    รับทราบการจองทุกท่านครับขอบคุณครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    FB_IMG_1743870271922.jpg FB_IMG_1743870274844.jpg FB_IMG_1743870713817.jpg

    พระสมเด็จ หลวงพ่อพวง ผสมอัฐิ ปี พ.ศ. ๒๕๒๙
    ลป.เปลื้องลาดยาว ลพ.แพ พิกุลทองเจ้าพิธีพุทธาภิเษก เสก
    ประวัติการจัดสร้างหลวงพ่อพวงวัดลาดยาวสมเด็จผสมอัฐิ
    คำสัมภาษณ์หลวงพ่อสำรวย เจ้าอาวาส วัดลาดยาว เกี่ยวกับประวัติการจัดสร้างเหรียญปี ๒๕๒๙
    สมัยนั้นหลวงพ่อเปลื้อง จัตตสโรเป็นเจ้าอาวาสหลวงพ่อสำรวยเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    ( นิมิตฝัน หลวงพ่อพวง มาหาหลวงพ่อสำรวย )
    ช่วงปี ๒๕๒๗ เดือนกุมภาพันธ์ พระสำรวยได้คิดจะสึกออกจากวัดลาดยาวอยู่หลายครั้งหลายหน เวลาพบค่ำของคืนวันนั้น เกิดนิมิตฝันว่าตนเองนั่งอยู่หน้าวัด เห็นรถบัสสีส้ม มีคุณดิเรก สกุณาทวงค์ อดีต ส.ส. นั่งหน้ารถบัส ตนเองจึงออกไปรับ ด้วยคิดว่าจะมาทอดกฐินที่วัดลาดยาว ปรากฏว่ารถบัสสีส้มคันนั้นเข้ามาจริง เเต่ขับรถ เข้ามาในวัดลาดยาวเพื่อกลับรถเท่านั้น ตนเองรู้สึกอายขายขี้หน้า จึงเข้าไปก้มกราบ รูปปั้นของหลวงพ่อพวงที่ศาลาเก่า และได้พูดกับหุ่นปูนปั้นนั้นว่า หลวงพ่อครับผมอาย ผมเดินไปรับผ้าป่า เขาก็ไม่มาทอดวัดเรา ทันทีทันใดหุ่นปูนปั้นนั้นก็ได้กลายเป็นหลวงพ่อพวงเสมือนกับมีชีวิตจริง เดินลงจากแท่นเข้ามานั่งยอง แล้วเอามือทั้งสองจับเขาหลวงพ่อสำรวย บอกว่าให้อยู่ช่วยพัฒนาวัดลาดยาวก่อน พระสำรวยจึงตอบไปว่า ทำไม่ได้หลอกครับหลวงพ่อ ผมไม่มีความรู้วิชาช่างเลย จบเพียงแค่ ป.๔ เท่านั้น ทำไม่ได้หรอกครับหลวงพ่อ หลวงพ่อพวงท่านก็บอกกับพ่อสำรวยว่าทำได้สิท่านอยู่ต่อเถอะ โต้เถียงกันเรื่องทำได้กับทำไม่ได้จน "ตื่นจากความฝัน"
    รุ่งเช้าหลวงพ่อสำรวยได้นัดพระในวัดจำนวน ๑๐ รูปปรึกษาหารือที่จะสร้างวัตถุมงคล เพื่อหาทุนทรัพย์มาบูรณะ วัดลาดยาว หารือกันแล้วเสร็จจึงได้หยิบยืมเงิน พระดิลก ๒หมื่น พระอุดมศักดิ์ ๓ หมื่นและส่วนตัวของพระสำรวยมี
    ๓ หมื่น รวมทั้งหมด ๘ หมื่นบาท จึงจะเอายอดเงินทั้งหมดนี้สร้างวัตถุมงคล รุ้งเช้าตี ๔ ได้ว่าจ้าง คุณปรีชา พูลเขตนคร
    ขับรถไปหาหลวงพ่อแพที่วัดพิกุลทองจังหวัดสิงห์บุรี ถึงวัดประมาณ ๖ โมงเช้าโดยประมาณ เหมือนหลวงพ่อแพท่านจะรู้ว่าหลวงพ่อมาหา จึงบอกกล่าวให้ผู้เฝ้าหน้าศาลาตามหลวงพ่อมาฉันข้าว ก่อนที่จะเอ่ยปากคุยเรื่องปัญหา เมื่อฉันข้าวเสร็จแล้ว หลวงพ่อแพจึงเอ่ยถาม ท่านมาทำธุระเรื่องอะไร ตนจึงได้เล่าให้ฟังว่าเกิดปัญหาในการจัดสร้างเมื่อปี ๒๕๒๘ เมื่อหลวงพ่อแพรู้จึงรับคำมานิมนต์ มาเป็นประธานในงานพุทธาภิเษก
    ปี ๒๕๒๙ โดยที่หลวงพ่อกำหนดฤกษ์ยามและวันเอง
    วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ ทั้งนี้พระสำรวยไม่ได้ทำฎีกาเพื่อยื่นให้หลวงพ่อแต่อย่างไร
    มีเกจิคณาจารย์ร่วมพุทธาภิเษกในพระอุโบสถจำนวน 9 รูป
    ๑,หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    ๒,หลวงพ่อเปลื้อง วัดลาดยาว
    ๓,หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู
    ๔,หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมณ์
    ๕,หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดวังม้า
    ๖,หลวงพ่อสำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    ๗,หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
    ๘,หลวงพ่อเป้า วัดถ้ำพรสวรรค์
    เพื่อทำพิธีให้สมบูรณ์จะต้องมีบทสวดสำคัญ"คาถาพุทธาภิเษก"
    พิธีกรรมวันนั้น ได้เชิญพระภิกษุ อาวุโสมาจากวัดเขาแก้วจำนวน ๔ รูป เพื่อเทศมหานาค ภิกษุ ๑ ใน ๔ ได้นำเหรียญ
    มาจากวัดเขาแก้วจำนวน ๒ ถุงปุ๋ยเพื่อจะเข้าร่วมพิธีแต่กรรมการ
    วัดไม่ให้นำเข้า จึงสร้างความไม่พึงพอใจให้กับชุดสวดมหานาคอย่างมาก ๑ ใน ๔ ภิกษุอาวุโสจากวัดเขาแก้ว ถึงอธิษฐานท้าทายหลวงพ่อพวง "หากแม้นหลวงพ่อพวงวัดลาดยาวศักดิ์สิทธิ์จริง ขอให้ไฟในพิธีกรรมนี้จงดับด้วยเทอญ" เมื่อสิ้นเสียงคำพูดนั้น ไฟในพระอุโบสถก็ดับทันที ภิกษุทั้ง ๔ ก็คิดว่ามันน่าจะเป็นเหตุบังเอิญ ครั้งที่ ๒ ห่างกันประมาณครึ่งชั่วโมง จึงได้ทักทายกับหลวงพ่อพวงอีกครั้ง ใช้คำท้าทายเดิม คือขอให้ไฟดับ ถ้าคราวนี้ถ้าเกิดปาฏิหาริย์อีกภิกษุทั้ง ๔ จะเชื่ออย่างสนิทใจ ว่าหลวงพ่อพวงศักดิ์สิทธิ์จริง เมื่อสิ้นเสียงคำพูดของพระภิกษุ ไฟดับทั้งวัดและทั้งอำเภอ
    เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมแล้วหลวงพ่อแพได้เรียกพระสำรวยเข้าไปพบในพระอุโบสถ เจตนาจะสร้างการลองของเพื่อให้ประชาชนได้ประจักษ์เชื่อว่าพุทธคุณของวัตถุมงคลในการปลุกเสกครั้งนี้ไม่ได้ย่อหย่อนไปมากกว่ารุ่นใดเลย ช่วยจัดหาคนที่สามารถปลุกเสกพระมาที ให้ประชาชน ข้าราชการ พ่อค้าได้ลองของกัน คุณบุญศรีเป็นศึกษาอำเภอในขณะนั้นได้ให้ ทายกแอบ ทวัตติง มาเป็นผู้ปลุกของ ปรากฏว่าของขึ้นต่อหน้าหลวงพ่อแพในพระอุโบสถ คุณบุญศรีกำเหรียญ ๒๙ ตบหลังของจึงออก พิธีหน้าพระอุโบสถ หลวงพ่อแพได้กำเหรียญเพื่อให้พ่อค้า ประชาชนได้ ลองของโดย กล่าวว่าใครจะยิง แทงมาได้เลย
    ระหว่างปี ๒๕๒๘ และปี ๒๕๒๙ เหรียญที่ถูกสร้างไม่สำเร็จในปี ๒๕๒๘ ได้ถูกนำมาปลุกเสกซ้ำในปี ๒๕๒๙ ทั้งหมด จัดไปว่ามีการปลุกเสก ๒ ครั้งนั้นเอง ส่วนวัตถุมงคลที่สร้างใหม่ในปี ๒๕๒๙ คือพระบูชา ที่มีการจัดสร้าง 999 องค์
    สมเด็จผสมอัฐิหลวงพ่อพวง และรูปหล่อโบราณเท่านั้น
    ความพิเศษของวัตถุมงคลรุ่นนี้ดีอย่างไร สิ่งที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็นสมเด็จเพียงอย่างเดียวที่ถูกฝังไว้ใต้ฐานพระบูชาหลวงพ่อพวง สมเด็จที่จำหน่ายแยกเป็นองค์ละในขณะนั้น มีส่วนผสมของอัฐิหลวงพ่อพวง คำยืนยันของพระสำรวยผู้ ผสมมวลสาร อัฐิหลวงพ่อพวงลงไปในสมเด็จ
    ย้อนไปเมื่อสมัยที่หลวงพ่อพวงได้มรณภาพที่วัดหนองกระโดน หลวงพ่อเปลื้องเป็นประธานในการฌาปนกิจ ร่วมกับขุนราษฎร์บริบาล ได้นำเถ้าอัฐิกองฟอนหลวงพ่อพวงห่อใส่ผ้าขาวบางมา ๒ ห่อ ก่อนที่จะสร้างวัตถุมงคลในปี ๒๕๒๙
    หลวงพ่อแพได้ถาม หลวงพ่อสำรวยว่า ท่านพอจะมี อัฐิของหลวงพ่อเหลือบ้างไหม ถ้ามีเหลือก็เอามาเป็นส่วนผสมในการสร้าง ก็เสมือนทันตัวท่านแล้ว จะมีคนเช่าหาเยอะ หลวงพ่อสำรวยฉุดคิด ได้จึงได้ตอบว่ามี แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าอาวาสหลวงพ่อเปลื้องก่อน หลวงพ่อเปลื้องอนุญาตให้นำมาเป็นส่วนผสมได้จึงเป็นสมเด็จปี ๒๕๒๙ ที่มีส่วนผสมของอัฐิ หลวงพ่อพวงนั่นเอง
    ยอดเงินที่จำหน่ายวัตถุมงคลหักแล้วเหลือ ๗-๘ แสนบาท ได้หัก ออกให้ภิกษุทั้ง ๓ องค์ที่หยิบยืมมาสร้างวัตถุมงคล คือพระดิลก ๒ หมื่นบาท พระอุดมศักดิ์ ๓ หมื่นบาท ส่วนยอดเงินของ หลวงพ่อสำรวย ๓ หมื่นบาทได้ให้กรรมการวัด ชื่อโยมปรีดาเป็นผู้ถือครองไว้ เพื่อจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อพวงปี ๒๕๓๗ ต่อไป วัตถุมงคลรุ่นนี้ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้ ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยพัฒนาวัดลาดยาวให้เจริญมากยิ่งขึ้น จวบจนปัจจุบัน
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20250405_231952.jpg IMG_20250405_232025.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2025 at 00:08
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    FB_IMG_1743873484806.jpg

    ประวัติท่านพระครูวิมุตยาภรณ์ ( หลวงพ่อเกิด ) วัดโพธิ์แทน จ.นครนายก
    พระครูวิมุตยาภรณ์ ท่านมีนามเดิมว่า เกิด ถือกำเนิดเมื่อปี 2463 ที่บ้านราษฎร์สะเด็ด ตำบลบางปลากด ปัจจุบันมาขึ้นกับตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ นครนายก เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก เป็นลูกชายคนที่ 6 ของครอบครัวผู้ใหญ่ปั้น-นางพันธ์ นามสกุล อินทร์ศิริ ในจำนวนพี่น้อง 11 คน ผู้หญิง 6 คน ผู้ชาย 5 คน เนื่องจากในยุคนั้นการศึกษายังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน ในวัยเด็กท่านจึงไม่ได้เรียนหนังสือ แม้จะเป็นถึงลูกชายผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านหรือผู้ชุมชนในขณะนั้น จนกระทั่งอายุ 17 ปี จึงได้ไปเป็นศิษย์วัดเพื่อเรียนหนังสือ โดยได้เรียนหนังสือเป็นหนังสือขอมเป็นหลัก ซึ่งท่านนั้นได้มุ่งมั่นเรียนอักษรสมัยและการริเริ่มอ่าน กะ ขะ คะงะ ฯลฯ และการเขียนเป็นหนังสือขอมนั้นได้แม่น เป็นที่ชื่นชอบของครูบาอาจารย์ผู้สอนยิ่งนัก
    เนื่องจากว่าท่านนั้นเป็นผู้ใฝ่ใจการเรียนรู้ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งในยุคนั้นหาคนที่เรียนรู้แตกฉานในด้านศิลปะภาษานั้นค่อนข้างยาก? ตลอดจนตำราในด้านวิชาการนั้นก็หายากพอๆกับเดินหาเข็มบนผืนทรายใต้ทะเลทีเดียว แม้บ้านโพธิ์แทนจะอยู่ห่างจากเมืองกรุงแค่มือเอื้อม แต่การไปมาในยุค 70-80 ปีก่อน คมนาคมที่ยังต้องพึ่งเรือและช้างม้าวัวควายเป็นหลักนั้นถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ไกลปืนเที่ยงเอาการอยู่เหมือนกัน
    การศึกษาในสายพระเวทย์หรือวิชาอาคมต่างๆ นั้น ท่านบอกว่า ท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมต่างๆ จาก พระอาจารย์หม่น ที่วัดโพธิ์แทน นั่นเอง ต่อมาท่านพระอาจารย์หม่นได้ลาสิกขาบทออกไป จึงมอบตำราวิชาอาคมต่างให้ท่านไว้ ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเอาจากตำราและลองทำตะกรุดตั้งแต่พรรษาที่ 5-6 เรื่อยมาจนปัจจุบัน
    การสร้างวัตถุมงคลประเภทเครื่องรางของขลังอย่างตะกรุดนั้น หลวงพ่อเกิด ว่าท่านได้สร้างมานานแล้วตั้งแต่พรรษาไม่มากนัก แจกจ่ายใช้กันในแวดวงผู้ใกล้ชิดนานปีเข้าการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ ม้วนเป็นตะกรุดออกไปเป็นจำนวนมากเข้า ผู้คนนำไปใช้เกิดมีประสบการณ์ในทางคงกระพันชาตรีทนมีดอยู่ปืนขึ้นมา เสียงลือเล่าอ้างจากปากสู่หูเล่าต่อๆ กันไปจนเป็นที่ต้องการของญาติโยม แม้สังขารจะเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา เนื่องจากขันธ์สังขารเข้าสู่วัยชราญาติโยมมาหาอยู่ไม่ขาดระยะ การพักผ่อนน้อย ดูแล้วเหมือน หลวงพ่อเกิด จะอ่อนเพลียไม่ใช่น้อยในแต่ละวัน โดยเฉพาะการมาขอเช่าตะกรุดโทน ซึ่งมีประสบการณ์สูงในทางแคล้วคลาด คงกระพัน !
    พระครูวิมุตยาภรณ์ (เกิด ปริมุตฺโต) อายุ 94 พรรษา 75 เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แทนและที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอองครักษ์ ตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก หรือนามที่ชาวบ้าน ลูกศิษย์ลูกหา ที่เคารพรักนับถือในตัวท่าน รู้จักกันดีคือ หลวงพ่อเกิด วัดโพธิ์แทน เกจิดังแห่งจังหวัดนครนายก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคปอดติดเชื้อเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม 2557 เวลา 19.00 น. ณ โรงพยาบาลพญาไท 2 กรุงเทพฯมหานคร ด้วยอาการอันสงบ ท่ามกลางความโศกสลด ของศรัทธาประชาชนและลูกศิษย์ลูกหาใกล้ไกล
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสิวลีมหาลาภว่านเถาวัลย์หลงอธิษฐานจิตปลุกเสกโดยหลวงพ่อเกิดวัดโพธิ์แทน กลยุทธ์และอาจารย์พันเสือออกวัดคลองไทรสระบุรี รูปถ่ายรุ่นที่ระลึกบูรณะศาลาการเปรียญวัดโพธิ์แทนนครนายก
    ให้บูชา 230 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250406_003046.jpg IMG_20250406_002942.jpg IMG_20250406_003026.jpg IMG_20250406_002901.jpg IMG_20250406_003104.jpg IMG_20250406_003150.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    FB_IMG_1743876413481.jpg

    ประวัติวัดชลธาราวาส(บางกล่ำ)
    วัดชลธาราวาส ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่เศษ ซึ่งอดีตนั้นเป็นตำบลบางกล่ำ ขึ้นกับอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดิมมีชื่อเรียกกันว่า วัดโคกขี้เหล็ก สันนิษฐานว่าในหมู่บ้านแห่งนี้มีต้นขี้เหล็กอยู่จำนวนมาก จึงได้ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ในสมัยนั้น ต่อมาภายหลังทางคณะสงฆ์ได้ลงมติเห็นสมควรที่จะตั้งชื่อให้ใหม่ตามความ เหมาะสม และเห็นสภาพที่ตั้งของวัดอยู่ติดกับริมคลอง จึงได้ให้ชื่อวัดนี้เสียใหม่ว่า "วัดชลธาราวาส" จนมากระทั่งถึงปัจจุบันนี้
    วัดนี้ได้เริ่มตั้งขึ้นมาในสมัยของ ท่านพระอธิการขวัญ เกสโร แห่งวัดสุวรรณคีรี ท่าแหลมสนอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งในสมัยนั้นเกิดเป็นโรคฝีดาดหรือไข้ทรพิษ เป็นโรคระบาดชนิดหนึ่งที่ขึ้นตามตัวเป็นเม็ดๆ ในสมัยนั้นหยูกยาแผนปัจจุบันยังไม่เจริญแผ่ขยายเข้ามาในเขตหมู่บ้านตามชนบทเหมือนอย่างปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องเสาะหาว่านยาสมุนไพรนำมาเพื่อใช้รักษาโรค ท่านพระอธิการขวัญ เกสโร จึงได้ออกหาว่านยาสมุนไพรนำมาช่วยเหลือชาวบ้านในระแวกนั้น จึงได้ออกเดินทางเพื่อเสาะแสวงหาว่านยาโดยอาศัยเรือใบลอยลำเป็นพาหนะในการเดินทางในครั้งนั้นโดยมีผู้ติดตามในครั้งนั้นคือ พระอ่อนแก้ว พระสีจันทร์ พนะสิงห์ และนายนุ่น ผู้ซึ่งเป็นศิษย์ติดตามมาด้วย
    พอเรือใบได้เข้าเขตคลองบางกล่ำท่านจึงได้แวะพัก ซึ่งประชาชนชาวบางกล่ำส่วนใหญ่แล้วก็รู้จักกับท่านอยู่ก่อนแล้ว จึงได้ให้การต้อนรับท่านและคณะเป็นอย่างดี และได้ลงความเห็นกันว่าจะนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำ ณ ที่บางกล่ำ โดยมีนายยิ้มเซ่ง นางห้อง และนายทองคำ มอบที่ดินของตนถวายเพื่อใช้สำหรับทำกิจของสงฆ์ต่อไป และยังมีชาวบ้านอีกหลาบท่านที่ศรัทธาได้รวบรวมกันซื้อที่ดินถวายเพิ่มเติมอีกเพื่อความเหมาะสมของวัดวาอาราม ในครั้งนั้นส่วนใหญ่ก็มีหลายต้นตระกูลด้วยกันที่ได้ช่วยกันก่อสร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัด เช่น ต้นตระกูล ทิพน์มณี ต้นตระกูล ร่วมสุข และต้นตระกูล วิไลรัตน์
    รวมทั้งกำนันหิ้น ผู้ใหญ่บ้านเปาะเส่ง นายกิมเส่ง ฯลฯ ซึ่งในครั้งนี้เกิดจากความศรัทธาของชาวบางกล่ำโดยแท้จริง จึงบังเกิดวัดนี้ขึ้นมา ณ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๔ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู โดยมีพระอธการ ขวัญ เกสโร เป็นผู้ปกครองวัดนี้
    ประวัติพ่อท่านเอียด(ต้ม) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 3 วัดบางกล่ำ
    นามเดิมของท่านชื่อเอียด เป็นบุตรคนที่ ๔ ของครอบครัว โดยมีพี่น้องรวม ๗ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๔ คน มีพี่ชายเป็นคนโตและน้องชายเป็นคนที่ ๕ ส่วนที่เหลือเป็นพี่สาว ๒ คน น้องสาวอีก ๒ คน เป็นบุตรของนายตุ้ม นางแป้น ร่วมสุข อาศัยอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ของตำบลบางกล่ำ อำเภอหาดใหญ่ (ในสมัยนั้น) ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ตรงกับวันอังคาร แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ (ไทย) ปีมะเมีย เมื่อยังเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ตามประสาบ้านในระแวกชนบท แล้วออกมาช่วยเหลือทางบ้านในการประกอบอาชีพทำสวนไร่นา
    จนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้เข้าอุปสมบท ณ วัดชลธาราวาส (บางกล่ำ) แห่งนี้เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๐ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ โดยมีพระครูรัตนโมลี วัดดอนแย้ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการขวัญ เกสสโร วัดชลธาราวาส (บางกล่ำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระคลิ้ง วัดชลธาราวาส (บางกล่ำ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทเป็นพระเอียด สุวรรณโณ ก็เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจในบทพระธรรม และยังเล่าเรียนในด้านไสยศาสตร์ควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน
    วินัยบทสวดพระพุทธมนต์ต่างๆ ที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำตลอดจนบทสวดพระภิกขุปาฏิโมกข์ท่านก็สามารถท่องบ่นได้จนจบตั้งแต่ย่างเข้าพรรษาที่ ๔ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านก็ได้เข้าสอบนักธรรมในสนามหลวงและสอบได้นักธรรมชั้นตรีในครั้งนั้น ปีต่อมาท่านจึงได้เข้าเป็นครูฝึกสอนนักธรรมเพื่อช่วย ท่านอธิการขวัญ เกสสโร อีกแรงหนึ่ง
    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ท่านก็ได้เข้าร่วมสอบนักธรรมชั้นโทอีกและท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้อีกในปีนั้น จึงได้รับตำแหน่งเป็นครูสอนนักธรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อท่านพระอธิการจันทร์ กุสุโม (อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๒) ได้ลาสิกขา ตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่างลง คณะกรรมการวัดจึงเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะให้พระเอียด สุวรรณโณ รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาสที่ว่างลงอยู่ ขณะนั้น ท่านจึงได้ทำหน้าที่รักษาการณ์เจ้าอาวาสองค์เดิม
    ต่อมาจนกระทั่งทางคณะสงฆ์ได้ส่งหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาสมาแต่งตั้ง ให้พระเอียด สุวรรณโณ รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อจาก พระอธิการจันทร์ กุสุโม ต่อไปตราตั้งเจ้าอาวาสลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๙๕ พร้อมกันนั้นท่านก็ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าคณะตำบลบางกล่ำ และตราตั้งให้เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง ในครั้งนี้อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
    ต่อมาภายหลังได้รับตราตั้งให้เป็น พระอุปปัชฌาย์ ในเขตตำบลบางกล่ำอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๙๘ ท่านก็ได้ทำหน้าที่ตามตำแหน่งที่ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งมาอย่างเต็มความสามารถตลอดมา และต่อมาภายหลังทางคณะสงฆ์ได้มีตราตั้งให้เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๔ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ตามลำดับ
    ภารกิจที่ท่านมีต่อวัดชลธาราวาส (บางกล่ำ)
    ๑. หลังจากที่ท่านได้รับหน้าที่ดูแลรักษาการแทนจนกระทั่งได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาสต่อจากองค์ก่อน ท่านก็ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ของวัดไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถ ที่ท่านได้ตระเตรียมการสร้างไว้กับเจ้าอาวาสรูปก่อนเป็นแผนผังแบบถาวร ท่านได้ทำหน้าที่ในการก่อสร้างจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่งในสมัยนั้ยค่าวัสดุในการก่อสร้างยังไม่แพงเหมือนปัจจุบัน การก่อสร้างในครั้งนั้นใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาทเศษ (สามหมื่นห้าพันบาท)
    ๒. หลังจากการก่อสร้างองค์พระอุโบสถเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ท่านก็ได้สร้างโรงธรรม (ศาลาการเปรียญ) เพื่อใช้ในกิจต่างๆ ขึ้นหนึ่งหลัง สิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างครั้งนี้ ๑๑๓,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นสามพันบาท) ในการก่อสร้างครั้งนี้ได้รับเงินช่วยเหลือจากกรมการศาสนามาช่วยเหลือเป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาท)
    ๓. สะพานลวดเหล็กข้ามคลองบางกล่ำ ใช้ข้ามไปมาสองฝั่งคลองให้ได้รับความสะดวกในการเดินไปมาหาสู่ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน ๕,๒๐๐ บาท (ห้าพันสองร้อยบาท)
    ๔. กุฏิสงฆ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังมีไม่พอต่อความต้องการ ในการพักอาศัยของหมู่คณะสงฆ์ที่อุปสมบทเข้ามาในบวรพุทธศาสนาของวัดแห่งนี้ นับวันก็มีผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาอุปสมบทเพิ่มขึ้นจนไม่พอต่อความต้องการในการอยู่อาศัยทั้งในพรรษาและนอกพรรษา ท่านจึงได้สร้าง "กุฏิสงฆ์" เพิ่มขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น ๒ ครั้ง
    ๕. การสร้างสะพานคอนกรีตถาวร นับได้ว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งที่ชาวบ้านได้พึ่งพาอาศัยในการสัญจรไปมาอย่างสะดวกสบายจนตราบเท่าทุกวันนี้ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างในครั้งนี้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๕๘๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนแปดหมื่นบาท) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รื้อและสร้างใหม่โดยกรมโยธา
    ๖. สร้างถนน ระหว่างหน้าวัดไปยังถนนของทางหลวงซึ่งอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ติดต่อเส้นทางหลวงหมู่ที่ ๖ สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๒๓,๐๐๐ บาท ในปี พ.ศ.๒๕๒๕
    ๗. กำแพงถาวรรอบวัด/ซุ้มประตู ซึ่งทำให้วัดมีรั้วรอบขอบชิดและสวยงาม สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๖๕๐,๐๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาท) สร้างในปี พ.ศ.๒๔๒๔
    ๘. กำแพงแก้วรอบอุโบสถ สิ้นเงินในการก่อสร้างจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)
    ๙. เมรุเผาศพและศาลาเก็บศพ สร้างในปี พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นเงิน ๙๕๐,๐๐๐ (เก้าแสนห้าหมื่นบาท)
    ๑๐.มณฑปที่ประดิษฐานรูปเหมือนของท่านอาจารย์ขวัญ เกสสโรเจ้าอาวาสรูปแรก และรูปเหมือนของท่านอาจารย์ต้ม (เอียด) เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ เพื่อให้ลูกศิษย์และผู้ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้ในโอกาสต่อไป สิ้นเงินในการก่อสร้าง จำนวน ๘๕๐,๐๐๐ บาท (แปดแสนห้าหมื่นบาท)
    ๑๑.หอระฆัง สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท)
    ๑๒.หอสมุด ซึ่งท่านอาจารย์ได้ดำเนินการสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๗ เพื่อใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของผู้คนโดยทั่วไป สิ้นเงินในการก่อสร้าง ๔๕๒,๕๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นสองพันห้าร้อย)
    ซึ่งนอกจากถาวรวัตถุที่กล่าวแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีกหลายประการที่ท่านอาจารย์คิดริเริ่มและชักนำให้สร้างขึ้นอีกนานับประการ และที่สำคัญท่านอาจารย์ให้ความสำคัญคือการสร้างคน ซึ่งจะนำเห็นได้จากการที่ท่านได้สนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนประชาบาลในสมัยนั้น และให้การสนับสนุน ศิษย์วัดคนใดที่มีผลการเรียนดี ท่านจะช่วยเหลือให้การส่งเสริมให้ได้เล่าเรียนที่สูงขึ้น แม้ว่าศิษย์คนนั้นจะมิใช่ลูกหลานหรือญาติก็ตาม แสดงถึงความเมตตาที่เต็มเปี่ยมอยู่ในจิตใจของท่าน
    ท่านเป็นศิษย์พ่อท่านขวัญวัดบางกล่ำ ส่วนพ่อท่านขวัญนั้นท่านเป็นพระสายบ่อทรัพย์ ซึ่งสมัยก่อนมีความผูกพันกับวัดเขาอ้อมาก สมัยพ่อท่านขวัญครองวัดบางกล่ำท่านมีศิษย์เอก ๒ ท่าน คือ พ่อท่านศรีแก้ว และพ่อท่านเอียด(ต้ม) ต่อมาพ่อท่านขวัญไปสร้างวัดไทรใหญ่ ท่านจึงได้ส่งพ่อท่านศรีแก้วไปปกครองวัดไทรใหญ่ และพ่อท่านเอียดได้ปกครองวัดบางกล่ำสืบต่อมา การสร้างพระเครื่องของท่านสร้างตามตำราของพ่อท่านขวัญและสร้างจำนวนน้อยมาก
    ว่ากันว่ากริ่งสายฟ้าถือเป็นพระกริ่งเบอร์2ของสงขลาเลยทีเดียว
    ทั้งนี้ที่มาของคำว่า " กริ่งสายฟ้า " เนื่องจาก ในขณะเกิดขั้นตอนหล่อหลอมสร้างพระกริ่งรุ่นนี้ ช่วงใกล้เที่ยง ได้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าแลบลงข้างเบ้าพระตอนเทโลหะลงเบ้าหลอม ถึง 3 ครั้งทั้งที่ท้องฟ้าเปิดแจ้ง จึงทำให้ประชาชนที่มาร่วมงานทึ่งในปรากฏการณ์ดังกล่าว จนที่มาของชื่อ"พระกริ่งสายฟ้า"มาทุกวันนี้
    สำหรับวัตถุมงคลของท่านมีทั้งท่านสร้างเองและศิษย์สร้างจัดถวายให้ปลุกเสก ซึ่งท่านจะตั้งใจจัดสร้างด้วยจิตบริสุทธิ์ ท่านห้ามเด็ดขาดที่จะตั้งราคาเพื่อให้เช่าใครมาขอท่านก็ให้ใครทำบุญมากน้อยเท่าไรก็ให้ ท่านไม่เคยปฏิเสธการขอจากญาติโยมผู้ใดเลย
    วัตถุของท่านล้วนมีประสบการณ์มากมายท่านปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.2485
    จนกระทั่งมรณภาพวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2538 สิริอายุ 90 ปี
    Cr. *** หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพของพระครูพืพัฒน์ชลธาร
    *** ข้อมูลจากการรวบรวมโดยลูกศิษย์
    กลุ่ม ชมรมศิษย์พ่อท่านต้ม
    รวบรวมเรียบเรียงรื้อฟื้น
    By ลุงเด้ย์ สงขลา
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูง
    พระสมเด็จปรกโพธิ์พ่อท่านเอียด
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250406_010155.jpg IMG_20250406_010227.jpg
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    ภาพถ่ายหลวงพ่อศักดิ์ วัดไทร สมุทรสงคราม.jpg

    ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อศักดิ์ วัดไทร พระเกจิผู้เป็นเสือเก่ายิงฟันไม่เข้าของสมุทรสงคราม
    หลวงพ่อศักดิ์ วัดไทร หรือ พระครูพิชิตสมุทรการ อดีตเจ้าอาวาสวัดไทร สมุทรสงคราม ท่านมีนามเดิมว่า ศักดิ์ แดงสายศิริ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีเถาะ พื้นเพท่านเป็นคนคลองสิบเอ็ด (เดิมเรียกว่าคลองแช่ไห) จังหวัดปทุมธานี โยมบิดาชื่อนายแดง เสือสง่า โยมมารดาชื่อนางสาย เสือสง่า มีพี่น้องบิดา-มารดาเดียวกัน ๔ คน
    เมื่อวัยเด็ก บิดาซึ่งมีภูมิลำเนาเดิมที่จังหวัดอุบลฯ แล้วย้ายถิ่นฐานมาทำนาอยู่ที่คลองแช่ไห ติดต่อกับคลองสิบเอ็ด จังหวัดปทุมธานี ส่วนมารดามีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในคลองขนมจีนใต้ จังหวัดสมุทรสงครามมีที่นาทำนาเป็นของตนเอง
    ต่อมาได้ถูกโกงที่นาไปจนหมด ทำให้ชีวิตในวัยเด็กของหลวงพ่อศักดิ์ท่านลำบาก ด้วยการที่ถูกรังแกมาตลอดท่านจึงฮึดสู้และเป็นนักเลงหัวไม้ ชอบเทียวเตร่สมาคมกับเพื่อนที่เป็นโจรปล้น ตีรันฟันแทงฆ่ากันเป็นประจำ ในสมัยที่เป็นฆราวาสผู้คนมักเรียกท่านว่า เสือศักดิ์
    ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่าย จึงได้หลบหนีจากเจ้าหน้าที่ มาอยู่กับญาติทางแม่ที่คลองขนมจีนใต้ จังหวัดสมุทรสงคราม (ท่านเคยเล่าว่า เมื่อบวชแล้วมีเจ้าหน้าที่มาล้อมกุฏิ)
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ คุณโยมเงิน นามสกุล มีเงิน บ้านอยู่ในคลองขนมจีนใต้ เป็นผู้อุปการะนำมาอุปสมบทกับหลวงพ่อเพชร วัดสามจีน ได้อุปสมบทวันอังคารที่ ๑๗ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ตรงกับวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน ณ พัทธสีมาวัดสามจีน (วัดตรีจินดาวัฒนาราม) ได้รับฉายาว่า "ฐิตธมฺโม" โดยมี
    พระอธิการเพชร วัดสามจีน(วัดตรีจินดาวัฒนาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูสกลวิสุทธิ วัดกลางเหนือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอธิการนวล (ธมฺมโชโต) วัดไทร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดไทร ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที่ จังหวัดสมุทรสงคราม ก่อนอุปสมบทท่านไม่มีความรู้หนังสือเลย มาศึกษาเอาเมื่ออุปสมบทแล้ว
    ในพรรษาแรกที่บวช ท่านได้ศึกษาหนังสือจากหลวงพ่อนวล ศึกษาได้เดือนเศษๆ ท่านก็อ่านออกเขียนได้ และที่น่าประหลาดอย่างที่สุดคือ จากคนที่ไม่เคยรู้หนังสือมาก่อน
    ในพรรษานั้นหลังจากเริ่มเรียนแล้ว พอถึงวันจะออกพรรษาสิ้นเดือนปีนั้น ท่านก็สามารถเป็นพระสวดพระปาติโมกข์นำพระทั้งวัดได้อย่างน่าอัศจรรย์ เป็นที่ปลายปลื้มของหลวงพ่อนวลมาก
    พอออกพรรษา ก็โดนตำรวจและกรมการเมืองมาที่วัดเพื่อจะจับสึก แต่ท่านไม่ยอม เพราะตั้งใจแล้วว่าจะบวชตลอดชีวิตไม่สึกจากการเป็นพระ ต่อรองกันอยู่นานทางตำรวจก็ไม่แน่ใจว่า พระศักดิ์คืออ้ายเสือศักดิ์ใช่หรือไม่
    เพราะไม่มีใครยอมมาเป็นพยานชี้ตัวให้แม้เจ้าทุกข์ที่เคยถูกปล้นเมื่อมาพบตัวก็ไม่ยอมชี้ปรักปรำ ซึ่งหลวงพ่อเล่าว่า ท่านรอดมาได้เพราะสีผึ้งของหลวงปู่อ่วม ที่รับมาจากหลวงพ่อนวลอย่างแน่นอน เมื่อทางการเอาผิดไม่ได้แล้ว ท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรม และเคร่งครัดในพระธรรมวินัย
    ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พรรษาที่ ๒ ท่านถูกส่งตัวไปเรียนนักธรรมที่วัดปากคลอง ภาษีเจริญกับหลวงพ่อสด ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ และสอบได้นักธรรมตรี
    และด้วยความวิริยอุตสาหะมานะท่องสาธยายสวดมนต์จนจบทั้ง เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ภาณต้น ภาณปลาย อิสิคิสิสูตรมหาสมัย พระปาฏิโมกข์ ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษาอังกฤษ จนเชี่ยวชาญ จนท่านสามารถสอบได้นักธรรมโท และสอบนักธรรมเอกได้จนเป็นผลสำเร็จ
    หลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามพระอาจารย์ที่สอนหนังสือแก่ท่าน ซึ่งไปจำพรรษาที่วัดอนงค์ ท่านจึงได้ย้ายตามไปอยู่ด้วยนานหลายปี ระหว่างนั้นท่านได้เ้ดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างวัดไทรกับวัดอนงค์
    จนกระทั้งได้ข่าวว่าหลวงปู่นวลอาพาธ จึงให้ญาติโยมมาตามท่านกลับไป และหลวงปู่นวลได้อ้อนวอนขอให้พระศักดิ์รับเป็นสมภารต่อจากท่าน
    แรกๆ ท่านก็ไม่ยอมรับ แต่เมื่ออาการอาพาธของหลวงปู่นวลทรุดหนักลง และขอให้ท่านรับปากจน หลวงพ่อศักดิ์ไม่สามารถปฏิเสธได้ ท่านจึงย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดไทรอย่างถาวร
    เล่ากันว่าระหว่างที่ย้ายกลับมาอยู่ที่วัดไทรนี้ ท่านได้เรียนวิชาอาคมเวทย์มนต์คาถาต่างๆ จากตำราอันสืบเนื่องจากหลวงปู่อ่วม อดีตเจ้าอาวาสวัดไทร
    นอกจากนี้ท่านยังมีความชำนาญการช่างไม้ นวกรรมกิจ การก่อสร้าง เขียนแบบแปลนแผนผัง ลวดลายไทยต่างๆ จนช่วยหลวงปู่นวลสร้างและพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกด้วย
    หลวงพ่อศักดิ์ ท่านเคยไปช่วยบูรณะวัดดอนยอ ตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อไปช่วยพระครูปลัดผ่อง จนฺทผาโส อดีตเจ้าอาวาสวัดปากง่าม ตำบลกระดังงา ซึ่งอาวุโสกว่าท่าน ๕ ปี บวชก่อนท่าน ๓ ปี ก่อนมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยอ
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดไทร
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านได้สร้างและเป็นเจ้าของโรงเรียนประชาบาลชื่อโรงเรียนศักดิ์ประสิทธิ์วิทยา และก่อตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์วัดไทร
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงพ่อนวล ได้ถึงแก่มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อศักดิ์ให้รักษาการเจ้าอาวาส
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลังสิ้นเสร็จงานศพของพระอธิการนวล (ธมฺมโชโต) เจ้าอาวาสวัดไทรแล้ว ชาวบ้านและทางศิษยานุศิษย์จึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดไทร สืบแทน
    วัดไทร เป็นวัดราษฏร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อ "วัดไซ" วัดตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลกระดังงา อำเภอบางคณที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา แต่กลายเป็นวัดร้างมานานหลายปี
    จนถึงปี พ.ศ. ๒๐๒๓ ขุนวิเศษฯ ซึ่งเป็นนายด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ แต่นั้นมาก็เริ่มมีพระสงฆ์มาจำพรรษา แต่วัดก็ไม่ได้มีการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรือง เพียงแต่เป็นที่พำนักของพระสงฆ์ และเป็นที่ประกอบการบุญทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    ในอดีตวัดไทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางสวน ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ต่างๆและสงบเงียบ การเดินทางไปวัดสมัยก่อนโดยสารทางเรือ หรือไม่ก็เดินลัดเลาะไปตามร่องสวนค่อนข้างลำบาก จึงเป็นสถานที่มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา
    และเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม แม้การเดินทางไปวัดไทร ในสมัยก่อนจะลำบากแต่ก็เป็นวัดที่พระสงฆ์ผู้ใฝ่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมเดินทางไปเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาอยู่เสมอ วัดได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ วัดมีรายนามเจ้าอาวาสปกครองวัดดังนี้
    ๑. พระอุปัชฌาย์ปาน
    ๒. พระอธิการช่วง
    ๓. พระอธิการอิน
    ๔. พระอุปัชฌาย์พุ่ม ปญฺญาโชโต
    ๕. พระอุปัชฌาย์จั่น
    ๖. พระอุปัชฌาย์รอด ขนฺธสีโล
    ๗. พระอุปัชฌาย์ตัด (คงทอง)
    ๘. พระอุปัชฌาอ่วม ติสฺสรสฺส
    ๙. พระอธิการนวล ธมฺมโชโต พ.ศ. ๒๔๕๙ - พ.ศ. ๒๔๙๕
    ๑๐. พระครูพิชิตสมุทรการ (ศักดิ์ ฐิตธมฺโม) พ.ศ. ๒๔๙๕ - พ.ศ. ๒๕๒๔
    ๑๑. พระครูวิมลสมุทรวัฒน์ (เผือด) พ.ศ. ๒๕๒๔ - พ.ศ. ๒๕๓๑
    ๑๒. พระครูสมุทรสิทธิวัฒน์ (จรินทร์ ฐิตนนฺโท) พ.ศ. ๒๕๓๔ - พ.ศ. ๒๕๖๓
    ๑๓. พระสมุห์ธนพงษ์ (หน่อง กิตฺติวํโส) พ.ศ. ๒๕๖๕ - ปัจจุบัน
    หลังจากที่หลวงพ่อศักดิ์ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ และด้วยบุคลิกที่พูดน้อย และเคยเป็นเสือเก่า ท่านจึงค่อนข้างดุ ซึ่งข้อนี้เองจัดเป็นข้อดี เพราะศิษย์ของท่านทุกคนจะเป็นคนที่มีระเบียบ รักความยุติธรรม จนได้ดิบได้ดีกันไปเป็นจำนวนมาก
    ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ หลวงพ่อศักดิ์ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
    ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นผู้อุปการะโรงเรียนศูนย์การศึกษาประชาบาล โรงเรียนวัดไทร ศักดิ์ประสาทวิทยา
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ด้วยคุณงามความดีของหลวงพ่อศักดิ์ ที่พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูพิชิตสมุทรการ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
    ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นผู้อุปการะโรงเรียนกระดังงา (พิชิตสมุทรการ)
    ในสมัยที่ท่านปกครองวัดหลวงพ่อศักดิ์ ท่านขึ้นชื่อว่าเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ชาวบ้านต่างรู้กันดีว่าท่านเป็นพระที่ดุ แต่ใจดี การที่ท่านดุนั้นเพราะเนื่องจากท่านต้องการให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้ดี ฉนั้นลูกศิษย์ลูกหาของท่านจึงได้ดีรับราชการ ค้าขายก็ประสบความสำเร็จแทบทุกคน
    และด้วยการที่ท่านขึ้นชื่อว่าหนังเหนียวและเคยเป็นเสือมาก่อน ทำให้ลูกศิษย์ส่วนใหญ่จะเป็นทหาร ตำรวจเสียเป็นส่วนมาก และท่านมักจะให้ของดีกับลุกศิษย์ที่เป็นทหารตำรวจเป็นพิเศษ
    ด้วยวัตถุมงคลของท่านเน้นหนักไปทางด้านคงกระพันชาตรี คลาดแคล้วเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ลูกศิษย์ที่ได้รับของวิเศษไปต่างมีประสบการณ์เล่าลือกัน ทำให้ผู้คนเดินทางมาขอของดีจากท่านเป็นจำนวนการ
    จากบันทึกของคุณสะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ นักแสดง นักพากษ์ ผู้เขียนบทโทรทัศน์ ผู้กำกับการแสดงชื่อดังที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อศักดิ์ตามคำแนะนำของคุณจำรูญ หนวดจิ๋ม นักแสดงอาวุโส เล่าถึงความหนังเหนียวของหลวงพ่อว่า
    หลวงพ่อศักดิ์เป็นพระที่คนทั่วไปจะรู้ว่าท่านขึ้นชื่อว่าดุ แต่เป็นพระที่ใจดี สูงใหญ่แบบคนไทยโบราณ สูงประมาณ ๑๘๐ เซนติเมตร ที่แขนทั้ง ๒ ข้างของท่านสักรูปมังกรเลื้อยพันรอบแขน
    หลังจากฝากตัวเป็นศิษย์วันหนึ่งหลังจากเสร็จงานทางโทรทัศน์แล้ว ก็ออกจากทีวีช่องสี่ บางขุนพรหมไปที่วัดไทร กว่าจะถึงวัดก็ตกเวลาตี ๒ เข้าไปแล้ว
    สมัยนั้นช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ต้องขับรถไปทางถนนเพชรเกษม (ยังไม่มีถนนพระราม ๒) เข้าแยกบางแพเพื่อจะไปดำเนินสะดวก เพื่อต่อเรือไปที่วัดอีกที สมัยนั้นถนนเส้นดำเนิน-สมุทรสงครามยังไม่มี ต้องต่อเรือไปค่าเรือ ๑๕๐ บาทเพราะวัดอยู่ไกลต้องเหมาเรือโดยคิดราคาเหมาวัน
    พอเรือจอดเทียบท่าก็พบหลวงพ่อยืนถือตะเกียงเจ้าพายุลงมาต้อนรับอยู่แล้ว คณะที่ไปด้วย ๒- ๓ คนแปลกใจกันใหญ่ว่าท่านทราบได้อย่างไรว่าพวกเราจะมากราบท่านดึกดื่นเช่นนี้
    คุณสะอาดเล่าว่าจำได้แม่นว่านั่งคุยกับท่านจนเกือบรุ่งเช้า เกิดสงสัยเรื่องเลขยันต์จึงถามหลวงพ่อว่ามีจริงไหมของแบบนี้
    ท่านจึงเล่าว่ามีจริงแต่ของจะขลังหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนเสก ว่าแล้วท่านก็ให้ไปตัดใบกล้วยที่ขึ้นอยู่ริมคลองมา ๒- ๓ ยอด (ที่มันยังม้วนอยู่) ท่านให้เอามาคลี่ปูนั่งแล้วก็เอาเหล็กจารมาเสกคาถาไม่กี่คำก็เป่าพรวดมาที่หัวคุณสะอาด พลางหัวเราะว่า "นี่เป็นเรื่องเล่นๆ ทำให้ดูเท่านั้น อย่าไปเชื่อจนงมงายล่ะ เอ๊าลุกขึ้น!"
    เมื่อลุกขึ้นแล้ว ใบกล้วยยอดอ่อนๆ ที่ยังม้วนอยู่กลมๆ ซึ่งคุณสะอาดเอามือไปคลี่ปูนั่งให้หลวงพ่อเสกคาถาที่ท่านว่าทำเล่นๆ ให้ดู แต่...ปรากฏเป็นตัวอักษรขอมอยู่บนใบกล้วยจนเต็มไปหมดอย่างน่าอัศจรรย์
    อีกเรื่องหนึ่งคือ ที่ตัวหลวงพ่อศักดิ์มีรอยที่ถูกลูกปืนของพระกล้าฯ ที่ยิงท่านก่อนที่จะบวชติดตัวท่านมาตลอด รอยนั้นเป็นก้อนฝีขนาดเท่าหัวแม่มือตรงกระดูกสันหลังกลางบั้นเอวพอดี คุณสะอาดเคยเอามือคลำดูมันเป็นไตๆ ท่านไม่มีความเจ็บปวด ถือเป็นของที่ระลึกที่ได้มาก่อนบวช
    วันหนึ่งเจ้าก้อนรอยลูกปืนก็เกิดอาการอักเสบ เพราะฝังอยู่ในร่างกายของหลวงพ่อมาเป็นระยะเวลาถึง ๔๘ ปี ลูกศิษย์ที่เป็นนายแพทย์หลายรายต่างอาสาขอทำการรักษาท่านก็ปฏิเสธไปทุกราย เพราะว่าการรักษาท่านด้วยการผ่าตัดนั้นคงไม่ได้ผล แต่ละรายก็พากันถอยไปทุกราย
    ปีนั้นเป็นปี พ.ศ. ๒๕๑๔ อยู่มาวันหนึ่ง มีนายทหารอากาศที่เป็นนายแพทย์ มียศเป็นนายพลอากาศไปกราบท่าน เมื่อทราบเรื่องก็ขออาสารักษาให้ด้วยการผ่าจะเอาหนองออกให้
    หลวงพ่อศักดิ์ ท่านบอกให้นายพลอากาศผู้นั้นทราบว่า ท่านไม่เหมือนกับคนไข้ทั่วๆไป คือหนังท่านไม่สามารถที่จะใช้ศาสตรวุธใดๆ ผ่านได้
    ทำเอานายพลหมออากาศผู้นั้นหัวเราะลั่นพลางว่า ผมผ่ามาเยอะแล้วครับ ไม่มีรายไหนหรอกครับที่จะต้านมีดหมอของผมไปได้ แถมสำทับให้ทราบด้วยว่า วันนี้ได้เตรียมเครื่องมือมาด้วยแล้วเพราะได้รับทราบจากลูกศิษย์ลูกหาที่ส่งข่าวไปบอก
    ท่านเลยตามใจ โดยเหตุการณ์คุณสะอาดได้นั่งอยู่ด้วยตั้งแต่เริ่มแรก ในที่สุดคุณหมอก็ลงมือจัดการตามวิธีการของแพทย์แผนปัจจุบันกับหลวงพ่อด้วยความมั่นใจ เริ่มด้วยการทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณที่จะทำการผ่าจะเอาซีสต์ก้อนนี้ออก
    ซึ่งตอนนั้น ตรงจุดบริเวณก้อนแข็งนั้น มันมีเลือดซึมๆ ออกมาใสๆ (เข้าใจว่าคงเป็นหนอง) เอาสำลีมาซับก็มองเห็นได้ เป็นน้ำสีเลือดจางๆใสๆ
    หมอเปิดกล่องเครื่องมือที่มีเข็มฉีดยาออกมาบรรจุยาชาเตรียมฉีดบริเวณที่จะทำการรักษา แต่ปล้ำเท่าไหร่ ก็ทำการฉีดให้ไม่สำเร็จ เข็มครูดไปครูดมาบนหนังของท่าน
    ตอนนี้คุณหมอ เริ่มมีเหงื่อซึมออกมาเต็มใบหน้า จนต้องหยุดนิ่งพักใหญ่ โดยที่หลวงพ่อศักดิ์ท่านก็นั่งเฉย ปล่อยให้คุณหมอปฏิบัติกับท่านต่อไป
    สักครู่คุณหมอจึงเอามีดผ่าตัดจากกล่องมาแล้วพยายามกรีดหนังตรงก้อนซีสต์นั้น แต่ก็กรีดไม่เข้า หมอถึงกับต้องเปลี่ยนมีดไม่ต่ำกว่า ๓ เล่มก็ไม่เข้า คุณหมอถึงกับหน้าซีด ทำอยู่นานจนเห็นว่าจะไม่สำเร็จแล้วหลวงพ่อจึงพูดขึ้นว่า
    "เอาเถอะคุณหมอคงจะเห็นและเชื่อแล้วว่ามันทำไม่ได้" ท่านหันมาทางคุณสะอาด พลางว่า "คุณสะอาด ช่วงหลวงพ่อหน่อย เอาไม้ ๒ ท่อนนั้นมาช่วยรีดน้ำหนองออกให้หลวงพ่อที"
    ไม้ ๒ ท่อนนั้นมีลักษณะคล้ายๆ กับ กรับของนักขับเสภาใช้ ทั้งขนาด สีสัน เช่นเดียวกันเลย โดยหลวงพ่อให้ใช้ไม้ขัดที่รอบแผล แล้วให้ใช้แก้วน้ำขนาดกลางๆ จุดไฟด้วยสำลีชุปแอลกอฮอลล์ไล่อากาศออก แล้วปิดทับที่บริเวณแผล
    มองเห็นก้อนเนื้อนูนไปตามขอบปากแก้ว น้ำหนองจากรูที่ซึมอยู่ก่อนค่อยๆปริออก และไหลทะลักออกมาใส่แก้วจนหมด คล้ายการบีบสิว รีดจนเลือดออกแล้วจึงใช้ยาทาแทน หมอทหารได้แต่ยืนมองด้วยความงุนงง และช่วยได้แค่ทายา ทาแผลให้เท่านั้น
    อีกเรื่องหนึ่ง คุณสะอาด เล่าว่าคราวหนึ่งวัดได้จัดงานบวชให้กับสามเณรภายในวัด แต่จะกี่รูปนั้นจำไม่ได้ พระที่ทำหน้าที่โกนผมให้เณรที่จะบวชเสร็จแล้ว ท่านก็นำมีดโกนของหลวงพ่อชนิดที่เป็นแบบพับเก็บได้ในตัว มาคืนหลวงพ่อศักดิ์ ต่อหน้าลูกศิษย์ที่นั่งกันอยู่หลายคน มีใครไม่รู้ที่เป็นศิษย์ใหม่ คงเป็นญาติสามเณรที่จะบวช เป็นคนไปจากกรุงเทพฯ เกิดอุตริตั้งคำถามขึ้นมาว่า
    "หลวงพ่อครับ เขาเล่ากันว่าหลวงพ่อหนังเหนียว จริงไหมครับ?"
    หลวงพ่อหยุดคุยไปชั่วครู่ ก่อนจะตอบว่า "ไม่รู้ซิ...คุณ..."
    ท่านหยุดพูด แล้วหันไปหยิบเอามีดโกนที่พระเพิ่งจะนำมาคืนให้มาวางไว้เมื่อสักครู่ขึ้นมา เอามือลูบตรงคมมีดอยู่ไปมา
    "อาตมาไม่รู้ว่ามันคมหรือเปล่า...เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน..."
    ท่านหยุดลูบตรงคมมีด แล้วเอาคมมีดเชือดและเฉือนแรงๆ หลายทีที่แขนข้างซ้ายของท่าน
    คุณสะอาด เล่าว่าแกเหลือบตามองหน้าคนถาม เห็นหน้าซีดจนขาวออกเขียว พวกผู้หญิงหลบหน้าหันไปมองทางอื่นกันหมด ไม่กล้าดู
    หลวงพ่อย้ายมีดในมือที่กำลังเชือดอยู่ เลื่อนมือขึ้นไปจับที่หนังคอที่ลูกกระเดือก แล้วเอามีดโกนเชือดอีกหลายๆ ครั้ง
    คุณสะอาดได้ยินเสียงดังตึง หันไปดู เจ้าคนถามเป็นลมล้มหงายหลัง ลงไปกองกับพื้น
    หลวงพ่อหันมายิ้มๆ "อ้าว..คุณ..มีดมันทื่อน่ะ..ใครช่วยชงยาหอมให้ทีซิ..."
    เล่นเอาพวกที่มาด้วยกันโกลาหล ต้องช่วยกันทำการปฐมพยาบาลกันยกใหญ่ พอฟื้นคืนสติขึ้นมา คุณสะอาดเห็นว่า ศิษย์คนนั้นก้มกราบขอขมาหลวงพ่อท่าน จนตูดโด่งเลยทีเดียว
    คุณสะอาด ว่าหมอนั้นยังโชคดี เพราะถ้าได้เห็นหลวงพ่อวิ่งเอาอกกระแทกหอกที่ตั้งยันกับต้นเสาไว้ มันคงช็อคจนขาดใจตาย แน่นอน!
    พระอุโบสถที่วัดอีกอย่างหนึ่ง มีหลายคนยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าเคยมีตำรวจทหารที่อยากลองดี เอาปืนมาลองยิงข้ามพระอุโบสถกัน แต่ไม่เคยออกบ่อยๆ จนไม่มีใครกล้ามาทดลองอีก เพราะตอนหลัง หลวงพ่อบอกว่า "ระวังเหอะ ปืนจะแตก!"
    แล้วก็ได้ผล เคยมีขี้เมาอวดแผลงฤทธิ์เอาปืนมายิงสามสี่นัด ปืนไม่ออก แต่พอนัดที่สี่ ปรากฏว่าปืนแตก ต้องไปนอนรักษาขวัญ รักษาตัวที่โรงพยาบาลราชบุรีเอาเสียหลายวัน
    ของวิเศษต่างๆที่ท่านสร้าง ท่านจะสร้างด้วยความพิถีพิถัน ด้วยท่านมีคติที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าของท่านไม่ดีจริง คนนำไปใช้จะทำให้เสียถึงอาจารย์ของท่านได้" ดังนั้นของวิเศษของท่านทุกชิ้นถ้าไม่เสกจนเข้มขลังจริงๆ ท่านก็จะไม่แจกให้ใคร
    หลวงพ่อศักดิ์ ท่านปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคไตพิการ แม้หมอจะตรวจพบอาการ แต่ด้วยที่ท่านหนังเหนียวฉีดยาไม่เข้า จึงใช้การกินยาแทน ประจวบเหมาะกับที่หลวงพ่อท่านรู้ถึงการมรณภาพของตัวเองจึงไม่ยอมไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เวลา ๑๕.๕๕ น. นับรวมสิริอายุได้ ๗๘ ปี ๕๘ พรรษา.
    รายละเอียดวัตถุมงคลดูได้ที่ : https://www.pra-maeklong.com/2023/01/porsakwatsai.html
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับเพจสารานุกรมพระแม่กลอง
    พระนาคปรกหลวงพ่อศักดิ์วัดไทร ปี๒๕๑๗ ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250406_143915.jpg IMG_20250406_143944.jpg IMG_20250406_143840.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    วันนี้ จัดส่ง

    1743938803580.jpg

    ขอบคุณครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    13,056
    ค่าพลัง:
    +21,377
    FB_IMG_1743945534785.jpg

    พระอรหันต์ร่างทอง กรรมฐานเปิดโลก
    ประวัติ หลวงพ่อคง จตฺตมโล
    วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี
    หลวงพ่อคง จตฺตมโล ท่านมีนามเดิมว่า คง นามสกุล บุญเอก ท่านถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู ณ หมู่บ้าน โนนพุดซา ตำบลกระชอน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
    โยมบิดาของท่านมีนามว่า ดี โยมมารดามีนามว่า แจ้ง นามสกุล บุญเอก ซึ่งมีอาชีพกสิกรรมทำนาทำไร่ ท่านถือกำเนิดเกิดมาเป็นทายาทคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 9 คน จนถึงปัจจุบันนี้ ก็มีแต่พวกน้อง ๆ ที่เป็นหญิง ซึ่งมีเพียง 6 คนเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นถึงแก่กรรมไปตามกาลเวลา
    ในการการศึกษา ในปฐมวัยหลวงพ่อเคยเป็นเด็กวัดหัดเรียนเขียนอ่านอักษรธรรม อักษรขอมและอักษรไทยในระยะเวลา 2 ปี แต่จำต้องมาช่วยบิดามารดาในการประกอบอาชีพกสิกรรมทำไร่ไถนา
    ต่อมาเมื่ออายุครบกำหนด 20 ปี จึงได้มีการเข้าวัดไปเป็นนาค แล้วได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยติธรรมอยู่เป็นเวลา 3 พรรษา และได้ขออนุญาติจากโยมบิดามารดา เพื่อเดินทางลงมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ แต่ท่านก็ไม่ได้รับอนุญาติจากโยมบิดามารดา ท่านจึงไม่มีโอกาสเดินทางลงมาศึกษาเล่าเรียนดังที่ตั้งใจไว้
    ดังนั้นท่านจงลาสิขาจากเพศบรรพชิตออกไปดำรงวิถีชีวิตอยู่ในเพศฆราวาสวิสัย ซึ่งในที่สุดท่านก็ได้แต่งานมีครอบครัวไป โดยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ท่านมีบุญธิดารวมทั้งหมด 7 คน แต่ถึงแก่กรรมไปแล้วตั้งแต่เด็ก ๆ 1 คน จึงยังคงเหลือบุตรธิดาที่มีชีวิตอยู่ต่อมาเพียง 6 คนเท่านั้น ซึ่งทุกคนต่างก็ได้แต่งงานมีครอบครัวเป็นหลักปักฐานไปหมดทุกคนแล้ว
    ต่อมาในช่วงเวลาที่หลวงพ่อคง ท่านยังอยู่ในเพศฆราวาส ในปี พ.ศ. 2504 นั้น ก็ได้มีพระคุณเจ้า หลวงพ่อพระมหาธนิต ปญญาปสุโต ปธ.9 นักวิปัสสนาจารย์ชื่อดังได้เดินธุดงค์มาและ ได้เข้าจำพรรษาสอนวิปัสสนาแก่ญาติโยม อุบาสกอุบาสิกาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่อยู่วัดบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราชสีมา ซึ่งเป็นเวลาที่หลวงพ่อคงยังเป็นอุบาสก คง อยู่นั้นเอง ท่านเป็นคนหนึ่งที่ได้น้อมกายใจ เข้าไปรับการปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อมหาธนิตอย่างเคร่ง ครัดอยู่เป็นเวลา ถึง 7 ปี
    เมื่อมีศรัทธาแก่กล้า อุบาสกคง บุญเอก จึงได้ตัดสินใจสละเหย้าเรือน ออกไปมอบกายถวายตนเข้ารับการอุสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาอีกหน ณ พัทธสีมา วัดบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 12 เพื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยมีพระเดชพระคุณท่านคุณ พระปทุมญาณมุนี วัดบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัด นครราชสีมา เป็นพระอุปชฌาย์ ซึ่งเป็นผู้ทำการอุปสมบทให้
    ต่อมาหลังจากออกพรรษแล้ว ตกมาถึง ปี พ.ศ. 2516 หลวงพ่อได้ดำรงปฏิปทาเป็นพระป่าออกสัญจรธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอยู่ เรื่อยมาจนถึงลุถึงซึ่งดินแดนถิ่นป่าใหญ่ มวลหมู่พฤกษาร่มรื่นน่าอภิรมย์ ซึ่งเป็นสถานที่ถูกกกับจริยาวัตรสำหรบนักปฏิบัติธรรมในการเจริญภาวนากรรมฐาน หลวงพ่อคงท่านได้เข้าอาศัยอยู่ถ้ำพระอรหันต์ ตามนิมิต ได้ทำการเจริญจิตภาวนา แล้วก็เลยอยู่จำพรรษา ณ สถานที่วิเวกแห่งนั้น ในพรรษที่ 6
    และแล้วหลวงพ่อคงท่านก็ได้ยึดสถานวิเวกแห่งนั้นในการปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษา เรื่อยมาจนถึงกาลเวลามรณภาพไปด้วยอาการอันสงบ ในวันที่ 13 ธันวาคม 2536 ณ โรงพยาบาลศิริราช อายุรวมกัน ได้ 80 ปี 9 เดือน 3 วัน 26 พรรษา
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญสุริยคราส๒เหรียญ
    รูปหลังจีวร ๑
    ให้บูชา 220 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20250406_201657.jpg IMG_20250406_201711.jpg IMG_20250406_195033.jpg IMG_20250406_195100.jpg IMG_20250406_195135.jpg IMG_20250406_195157.jpg IMG_20250406_201730.jpg IMG_20250406_201804.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...