รับมือกับ..ความโกรธ ที่รุนแรง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ธันวาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,535
    ?temp_hash=37955306a915846553e26fecb3aad672.jpg

    ?temp_hash=37955306a915846553e26fecb3aad672.jpg




    ทำยังไงดีครับ? ผมเป็นคนที่มีความโกรธรุนแรง

    ---------


    ก็รู้เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นนะ
    เวลามีความโกรธผุดขึ้นมาก็ดี
    หรือจิตมันแว๊บออกไปก็ดี
    ก็รู้เท่าทันกลับมาสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ
    อย่างที่บอกตราบใดที่ยังมีวิบากกรรมอยู่น่ะ ก็จะมีสิ่งที่ผุดขึ้นอยู่เสมอแหละ
    ก็คือสิ่งที่เราต้องเสวยนั่นเองนะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดีก็ตาม
    หลักสำคัญ ก็คือ #รู้ในปัจจุบันธรรม
    รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความเป็นกลาง ด้วยความตั้งมั่น
    สิ่งที่ดีเกิดขึ้น เกิดความพอใจก็รู้เท่าทัน ละความพอใจ
    เวลาสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น เกิดความไม่พอใจ ก็รู้เท่าทัน ละความไม่พอใจ
    #กลับสู่ความเป็นกลาง สู่ความตั้งมั่นอยู่เสมอ
    ตราบใดที่ยังมีวิบากกรรมอยู่เนี่ย
    ยังไงกิเลสมันก็เกิดขึ้นอย่างแน่นอนนะ
    นอกจาก...ผู้ที่อยู่ในเรื่องของสมาธิแล้วยังไม่เห็นตามความเป็นจริง ก็อาจจะนึกว่าตัวเองจิตสงบ จิตว่างอยู่..แต่ในความเป็นจริงแล้วมันมีความปรุงแต่งอยู่ แต่ว่ายังไม่เห็นเท่านั้น
    อวิชชามันบังนะ
    เพราะฉะนั้นก็ให้เข้าใจว่า ...
    การเห็นตามความเป็นจริง
    มันก็เห็นการปรุงแต่งของกายของใจนี่แหละ
    แต่ว่ามัน#ไม่ยึดมั่นถือมั่น
    แล้วก็จะสามารถหลุดจากฝั่งของสังขาร
    เข้าสู่เนื้อธรรมที่บริสุทธิ์ได้
    แต่ก็เข้าถึงได้ชั่วคราว จนกว่าจะชำระล้างวิบากกรรม บาปอกุศลธรรมจนหมดสิ้นไปโน่นแหละ
    จึงจะสามารถคืนสู่ความบริสุทธิ์ได้ เป็นสมุจเฉทปหาน

    โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,535
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,535
    โกรธเกิดขึ้น
    ดูโกรธ กับรู้ นี้มันต่างกัน
    ถ้าดูโกรธมันจะเป็นอย่างไร
    ก็ยิ่งโกรธ
    มีความคิด ยิ่งไปดูความคิด
    ก็ยิ่งปรุงไปเรื่อย
    #แต่ถ้าโกรธ แล้วรู้
    #มันจะหลุดจากความโกรธ
    จะเห็นความโกรธจางคลายไป
    ไม่เข้าไปเป็นความโกรธ
    #มีคิด รู้ #มันจะหลุดจากความคิด
    เห็นความคิดจางคลายไป
    เพราะฉะนั้นสภาวะอาการที่เรียกว่า
    ดู กับ รู้ นี้มันจะต่างกัน
    ................................
    พระมหาวรพรต กิตติวโร (ป.ธ๖)
    sJk0UsY77q1YIpxwKgP3M8CFNjEy_PhQkLbPVxdGsn7F&_nc_ohc=R-Vmaeja9h4AX8hUCtH&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,772
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,139
    ค่าพลัง:
    +70,535






    การชนะความโกรธ
    เหตุการณ์
    พระศาสดาทรงปรารภอุตตราอุบาสิกา เรื่องการชนะความโกรธ
    Uttayarndham
    การชนะความโกรธ (อุตตราอุบาสิกา)


    นายปุณณะ ชาวกรุงราชคฤห์ ยากจน รับจ้างสุมนเศรษฐีเลี้ยงชีพ เขามีภรรยาและธิดาคนหนึ่งชื่อนางอุตตรา วันหนึ่ง พวกราชบุรุษทำการโฆษณาว่าให้ชาวพระนครเล่นนักษัตรกันตลอด ๗ วัน แต่นายปุณณะเป็นคนจนจึงไม่เล่น เขารับโคจากเศรษฐีแล้วไปไถนา และให้ภรรยาต้มผัก ๒ เท่า แล้วนำไปให้เขา

    ในกาลนั้น พระสารีบุตรเถระเข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน ในวันออกจากนิโรธสมาบัติ ท่านตรวจดูด้วยญาณและเห็นนายปุณณะ พระเถระทราบความที่เขามีศรัทธา และสามารถจะสงเคราะห์ท่านได้ และเขาจะได้รับสมบัติใหญ่เพราะบุญนั้นเป็นปัจจัย ท่านจึงถือบาตรและจีวรไปยังที่ไถนาของเขา ได้ยืนดูพุ่มไม้ที่ริมบ่อ นายปุณณะเห็นพระเถระ จึงวางไถ กราบพระเถระ คิดว่า พระเถระคงต้องการไม้สีฟัน เขาจึงได้ทำไม้สีฟันให้เป็นกัปปิยะถวาย พระเถระได้นำเอาบาตรและผ้ากรองน้ำออกมาให้เขา เขาคิดว่า พระเถระต้องการน้ำดื่ม เขาจึงรับเอาบาตรและผ้ากรองน้ำนั้น แล้วได้กรองน้ำดื่มถวาย

    พระเถระได้คอยเล็กน้อยเพื่อจะได้พบภรรยาของนายปุณณะ นางพบพระเถระในระหว่างทาง นางคิดว่า บางคราว เมื่อมีไทยธรรม นางก็ไม่พบพระเถระ บางคราวเมื่อพบพระเถระ ก็ไม่มีไทยธรรม ก็วันนี้ นางได้พบพระเถระแล้ว ทั้งไทยธรรมก็มีอยู่ นางจะขอให้พระเถระทำความอนุเคราะห์แก่นาง นางจึงนิมนต์พระเถระ เมื่อนางถวายภัตไปได้ครึ่งหนึ่ง พระเถระได้เอามือปิดบาตร แล้วพูดว่า พอแล้ว แต่นางขอถวายอาหารทั้งหมด เพื่อผลในปรโลก นางได้ใส่อาหารทั้งหมดลงในบาตรของพระเถระ แล้วทำความปรารถนาให้เป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่พระเถระเห็นแล้ว เมื่อพระเถระอนุโมทนาแล้ว ได้นั่งทำภัตกิจอยู่ในที่สะดวกด้วยน้ำแห่งหนึ่ง

    ฝ่ายนางกลับไปหุงข้าวใหม่ นายปุณณะไถที่ได้ประมาณครึ่งกรีส เขาไม่อาจทนความหิวได้ จึงปล่อยโคเข้าไปยังร่มไม้ นั่งคอยมองทางที่ภรรยาจะมา ภรรยาของเขาถืออาหารเดินไป เห็นนายปุณณะนั่งคอยด้วยความหิว เกรงว่าจะถูกตำหนิ กรรมที่นางทำแล้วจะเป็นของไร้ประโยชน์ นางจึงชิงบอกถึงเหตุที่มาสายแก่เขาก่อน นายปุณณะจึงบอกว่านางทำความดีแล้วและตัวเขาเองก็ได้ถวายไม้สีฟัน และน้ำบ้วนปากแก่พระเถระเช่นกัน เขามีใจเลื่อมใสเพลิดเพลินด้วยถ้อยคำนั้นแล้ว ได้พาดศีรษะบนตักของภรรยา แล้วก็หลับไป

    ทานของสองสามีภรรยาอำนวยผลในวันนั้น ที่ที่เขาไถไว้แต่เช้าตรู่ ได้กลายเป็นทองคำเนื้อสุกทั้งหมด แม้กระทั่งฝุ่นละอองดิน ก็งดงามดุจดอกกรรณิกา เมื่อเขาตื่นขึ้นและเห็นว่าเป็นทองคำ เขารู้ว่าทานที่ถวายแก่พระเถระแสดงผลในวันนี้ เขาไม่อาจจะซ่อนทรัพย์นี้ไว้ใช้สอยได้ พวกเขาจึงเอาทองคำใส่เต็มถาดอาหารที่ภรรยานำมา แล้วไปถวายแก่พระราชา

    เขาได้ให้พระราชาส่งเกวียนหลาย ๆ พันเล่ม เพื่อไปนำทองคำมา พระราชาทรงส่งเกวียนไปแล้ว เมื่อพวกราชบุรุษพูดว่า “ทองนี้เป็นของพระราชา” แล้วหยิบทองขึ้นมา ทองคำได้กลายเป็นดินอย่างเดิม พวกเขากลับไปทูลพระราชา พระองค์จึงบอกว่าให้พูดว่า “เป็นทรัพย์ของนายปุณณะ” แล้วขนมา เมื่อพวกเขาทำอย่างนั้น ทองคำที่พวกเขาหยิบขึ้นมาได้เป็นทองคำแท้ พวกเขาจึงขนทองคำนั้นทั้งหมดมากองไว้ที่ท้องพระลานหลวง ทองคำทั้งหมดนั้นได้กองสูงประมาณ ๘๐ ศอก

    นายปุณณะได้รับตำแหน่งเศรษฐี ชื่อพหุธนเศรษฐี และได้รับพระราชทานที่อยู่เพื่อสร้างเรือน เมื่อสร้างเรือนเสร็จได้ทำเคหัปปเวสนมงคล และฉัตรมงคล เป็นงานเดียวกัน ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา จึงตรัสอนุปุพพิกถา ในกาลจบธรรมกถา ชนทั้ง ๓ คือ ปุณณเศรษฐี ๑ ภรรยาของเขา ๑ นางอุตตราผู้เป็นธิดา ๑ ได้สำเร็จโสดาบัน

    ต่อมา สุมนเศรษฐีได้ขอธิดาของปุณณเศรษฐีให้บุตรของตน ในตอนแรกปุณณเศรษฐีไม่ให้เพราะบุตรของสุมนเศรษฐีนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ชนทั้งหลายวิงวอน เขาจึงได้ยกนางอุตตราให้

    ตั้งแต่ไปสู่ตระกูลสามี นางอุตตรามิได้เข้าไปหาภิกษุ หรือภิกษุณี หรือเพื่อถวายทานหรือฟังธรรมเลย เมื่อล่วงไปได้ประมาณ ๒ เดือนครึ่ง นางจึงส่งข่าวไปบอกบิดาว่าการที่ยกนางให้แก่ตระกูลมิจฉาทิฏฐินี้ ไม่ประเสริฐเลย นางไม่ได้ทำบุญอะไรสักอย่าง

    บิดาของนางรู้สึกไม่สบายใจ จึงให้นางอุตตราจ้างหญิงคณิกาชื่อสิริมา ให้มาบำเรอสามีนางอุตตราแทนเป็นเวลาครึ่งเดือน โดยให้ค่าจ้างวันละ ๑,๐๐๐ กหาปณะ

    นางอุตตราจึงได้ถวายทานและฟังธรรม นางนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยได้อุปัฏฐากพระศาสดาและฟังธรรม เป็นเวลา 15 วัน จนถึงวันมหาปวารณา

    นางเที่ยวจัดแจงกิจทุกอย่างในโรงครัวใหญ่ สามีนางเห็นนางขะมุกขะมอมไปด้วยเหงื่อ มอมแมมด้วยถ่านและเขม่า เขาจึงหัวเราะแล้วหลบไป ส่วนนางสิริมาเห็นเขาหัวเราะก็เข้าใจผิด จึงหึงนางอุตตรา ลืมตัวว่าเป็นคนนอก เกิดอาฆาตต่อนางอุตตรา นางจึงเอาทัพพีไปตักเนยใสที่เดือดพล่านจะไปสาดรดนางอุตตรา

    นางอุตตราเห็นนางสิริมาเดินมา จึงแผ่เมตตาไปถึงนางว่า นางสิริมาได้ทำอุปการะแก่นางมาก มีคุณใหญ่มาก เพราะอาศัยนางสิริมา นางจึงได้ถวายทานและฟังธรรม ถ้านางมีความโกรธเหนือนางสิริมา เนยใสนี้จงลวกนาง ถ้าไม่มี อย่าลวกเลย เนยใสซึ่งเดือดพล่านที่นางสิริมารดลงเบื้องบนนางอุตตรานั้น ได้เป็นเหมือนน้ำเย็น

    พวกทาสีของนางอุตตราได้ทำร้ายนางสิริมา นางอุตตราได้ห้ามไว้ และให้โอวาทนางสิริมา นางสิริมารู้สึกตัว ขอโทษนางอุตตรา นางอุตตราบอกว่าถ้าพระพุทธเจ้ายกโทษให้นางจึงจะยกโทษให้ นางได้พานางสิริมาไปเฝ้าพระศาสดา และได้เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง

    พระศาสดาตรัสว่า

    การชนะความโกรธอย่างนั้น สมควร ก็ธรรมดาคนมักโกรธ พึงชนะด้วยความไม่โกรธ คนด่าเขา ตัดพ้อเขา พึงชนะได้ด้วยความไม่ด่าตอบ ไม่ตัดพ้อตอบ คนตระหนี่จัด พึงชนะได้ด้วยการให้ของตน คนมักพูดเท็จ พึงชนะได้ด้วยคำจริง

    ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

    พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
    พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
    พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
    พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง

    ในกาลจบเทศนา นางสิริมาพร้อมด้วยญาติทั้ง ๕๐๐ ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล




    อ่าน อุตตราอุบาสิกา
    อ่าน คาถาธรรมบท โกธวรรค

    อ้างอิง
    อุตตราอุบาสิกา พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏ ฯ เล่มที่ ๔๒ หน้า ๔๓๕-๔๔๗
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...